เหรียญหล่อจอบใหญ่ 3 หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นสร้างมณฑป ปี 2555 เนื้อทองเหลือง
เหรียญหล่อจอบใหญ่ 3 จำนวนการสร้าง
-เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง
-เนื้อเงิน สร้าง 4,478 องค์
-เนื้อทองคำขาว ( นำฤกษ์ ) สร้าง 3,478 องค์
-เนื้อนวะ สร้าง 5,478 องค์
-เนื้อทองแดง สร้าง 11,478 องค์
-เนื้อทองเหลือง สร้าง 21,478 องค์
หมายเหตุ จอบใหญ่เนื้อฆ้องไม่มีในรายการจองตอนแรก สร้างจำนวน 6,000 องค์
มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอฐิษฐานจิต
วันหล่อนำฤกษ์มี หลวงพ่อสาย วัดท่าไม้แดง,หลวงปู่แขก,หลวงปู่นาม,หลวงพ่อเพี้ยน,หลวงพ่อรวย นั่งปรกอธิฐานจิตในพิธีเททองนำฤกษ์ เหรียญหลวงพ่อไปล่ รุ่นสร้างมณฑป
จอบใหญ่หลวงปู่ไปล่ รุ่นสร้างมณฑป ถูกสร้างออกมาจำนวนน้อยจึงหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว และเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะเนื้อทองเหลืองหมดตั้งแต่ 3วันแรกของงานที่มีทั้งหมด 7 วัน จึงทำให้มูลค่าในการเช่าหาในปัจจุบันขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พุทธคุณและประสบการณ์ที่บรรดาลูกศิษย์ใช้ติดตัวแล้วต่างพูดเป็นเสียงเดียว กันว่าพุทธคุณเชื่อถือได้ แน่นอนทั้งทางเมตตา มหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรื่อง โชคลาภ แคล้วคลาด นับได้ว่าพุทธคุณยอดเยี่ยมเป็นที่สุด ถ้าท่านใดพอจะเก็บสะสมได้อาจต้องรีบกันหน่อยครับ ช.ม.นี้เก็บก่อนได้เปรียบก่อนที่ราคาจะแรงจนเช่าหาไม่ได้รับรองไม่ผิดหวังพุทธคุณและประสบการณ์ โชคลาภเมตตาสูงไว้ใช้อาราธนนาป้องกันภัยอันตราย เมตตา ค้าขาย เงินทองเพิ่มพูน มหานิยม บารมีมหาอำนาจ โชคลาภเสริมบารมี เจริญรุ่งเรื่อง ทำการสิ่งใดสำเร็จดังปรารถนาทุกประการ
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2403 เป็นบุตรของนายเหลือ และนางทอง นามสกุล ทองเหลือ เป็นชาวบ้าน ต.บางบอนใต้ อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน เมื่ออายุ 8 ขวบ ได้ไปศึกษาหนังสือไทยและขอมกับพระอาจารย์ทัด วัดสิงห์ สมัยวัยรุ่น ท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญ ทรหดอดทน มีเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นชาวบ้านบางบอนใต้เป็นแดนนักเลงหัวไม้ เวลาวัดมีงานมักจะนัดตีกันเป็นประจำ
ตัวท่านถูกพรรคพวกยกย่องให้เป็น ลูกพี่ ทำให้บิดามารดาเกรงว่าจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีหรือคนพาล จึงขอร้องให้บวชพระสัก 1 พรรษา ท่านก็ไม่ขัดข้อง โดยได้รับการอุปสมบทที่วัดกำแพง เมื่อ พ.ศ.2426 อายุ 23 ปี พระอุปัชฌาย์ คือ พระอาจารย์ทัด วัดสิงห์, หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฉันทสโร”
หลังบวชแล้วท่านได้สนใจศึกษาทางพุทธธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ท่องบทสวดมนต์จนจบทุกบททุกคัมภีร์ จดจำได้แม่นยำ จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง เมื่อครบกำหนด 1 พรรษาแล้ว ท่านไม่ยอมสึก พอเข้าพรรษาที่ 2 ท่านได้ตั้งใจศึกษาธรรมะอย่างเต็มที่ จนสามารถท่องพระปาฏิโมกข์ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งการเรียนรู้ด้านวิปัสสนากรรมฐาน และวิปัสสนาธุระกับพระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวด ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้ นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เรียนทางคงกระพันชาตรีกับพระอาจารย์คง เรียนวิชาผูกหุ่นพยนต์กับ หลวงพ่อหรุ่น วัดบางปลา เรียนทางเมตตามหานิยมกับหลวงพ่อพ่วง วัดกก เรียนทางสักยันต์คงกระพัน กับหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง
แม้จะมีวิชาอาคมเก่งกล้าขนาดไหนก็ตาม แต่ท่านก็ไม่เคยคุยโม้โอ้อวด หรือข่มเหงใคร ชอบดำรงตนแบบสมถะ ไม่ทะเยอทะยานในลาภยศ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ กวาดกุฏิเอง ของส่วนตัวทำเองหมด ไม่เคยใช้ให้ใครทำ
นอกจากนี้ท่านยังขยันในการทำวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชอบความมีระเบียบเรียบร้อย ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตบางขุนเทียน และด้วยปฏิปทาอันน่าศรัทธาเลื่อมใสของท่านนี้เองทำให้ชาวบ้านมีความเคารพนับถือท่านมาก ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพง ตั้งแต่ พ.ศ.2431จนถึงมรณภาพ เมื่อ พ.ศ.2489 แม้จะมรณภาพไปแล้ว แต่เนื้อหนังของท่านก็ยังเหนียว พวกสัปเหร่อเอามีดตกแต่งศพก็เฉือนไม่เข้า
ต้องจุดธูปจุดเทียนบอกกล่าวขอขมาก็ยังเฉือนไม่เข้า จนสรีระของท่านแห้งไปเฉยๆ ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็นแต่ประการใด ทั้งนี้ ก็เพราะวิชาอาคมของท่านขลังจริง หรือจะคิดอีกทางหนึ่งก็ได้ว่า ตลอดชีวิตสมณเพศของท่านได้รักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ผุดผ่องทุกลมหายใจก็ได้
วัดกำแพงแต่เดิมมีชื่อว่าวัดสว่างอารมณ์มาก่อน วัดสว่างอารมณ์ที่กล่าวถึงนี้ ไม่ทราบได้ว่าผู้ใดเป็นคนสร้างและได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด จากการสันนิษฐานของผู้ที่มีความรู้ทางโบราณคดีได้กล่าวว่า จากการสังเกตดูวัตถุและอาคารสถานที่ซึ่งมีอยู่ในวัด พอจะทราบได้ว่าวัดนี้เคยรกร้างมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง
ความเป็นมาของวัดกำแพง หลวงพ่อคงเมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดต่อปฏิบัติพระธรรมวินัยมีวัตรปฏิบัติสม่ำเสมอคงเส้นคงวา จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านเป็นอันมาก ทั้งท่านได้เปิดสำนักเรียน สอนหนังสือให้แก่เด็กๆ ที่เป็นลูกหลานชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้ๆ วัดและสอนให้แก่ผู้ที่ต้องการจะบวชเป็นพระภิกษุสามเณร ทั้งนี้เพื่อผู้อุปสมบทบรรพชาจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้ง กว้างขวางจากพระไตรปิฎกด้วยตนเองได้อีกด้วย หากพระเณรรูปใดมีปัญหา ท่านจะช่วยชี้แนะเป็นอย่างดี
ด้วยเหตุที่ลวงพ่อคงประพฤติบัติตนเคร่งครัดอยู่ในธรรมวินัย เสมอต้นเสมอปลาย เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บรรดาศิษย์และชาวบ้าน นับเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประชาชน และประเทศชาติ ชาวบ้านก็ยิ่งมีความเลื่อมใสศรัทธามากขึ้นตามลำดับ ชาวบ้านมักจะเรียกหลวงพ่อคงว่า “ท่านที่มาจากวัดกำแพง” ครั้นเรียกกันต่อมาว่า “ท่านวัดกำแพง” ในที่สุดก็เลยเรียกวัดนี้ว่า “วัดกำแพง” มาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ปูชนียสถานที่สำคัญคือ “หลวงพ่ออู่ทอง” หรือที่ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อโต ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระปางสมาธิหน้าตักกว้าง 2.49 เมตร ศิลปะแบบอู่ทอง องค์พระพุทธรูปสันนิษฐานว่าเป็นหินทรายแดง นอกจากนี้มี “ พระปรางค์” อายุประมาณ 300 ปี ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมใหม่ แต่ยังรักษาสภาพเดิมไว้
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ได้สร้างเหรียญหล่อโบราณที่วงการนิยมกันอย่างกว้างขวาง โดยแบ่งออกเป็น 4 แบบ
คือ 1.เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง พิมพ์จอบใหญ่ มี 2 แบบ
คือ 1.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อฝาบาตร หรือเนื้อทองเหลือง พิมพ์มาตรฐาน
และ 2.เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ชาวบ้าน ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อไปล่ นั่งขัดสมาธิราบ บนฐานชั้นเดียว รูปทรงจอบ มีเส้นโค้งนูน โดยรอบเหรียญ 2 เส้น ปรากฏรายละเอียดบนใบหน้าพอประมาณ ครองจีวรเห็นรัดประคดชัดเจน ด้านบนเหรียญ มีหูหล่อในตัว
ด้านหลังมีอักษรไทยนูนสูง เขียนว่า “ที่ระฤก 2478” หล่อด้วยเนื้อทองเหลือง ( ฝาบาตร ) เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อขันลงหิน 2.เหรียญหล่อพิมพ์รูปไข่ มี 2 เนื้อ คือเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อทองเหลือง หรือเนื้อฝาบาตร
ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อไปล่ นั่งขัดสมาธิราบ บนฐานเขียง เห็นผ้าสังฆาฏิและรัดปะคดชัดเจน เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูหล่อในตัว ด้านหลังมีอักษรไทยเขียนว่า “ที่ระฤก 2478”
มีเรื่องเล่ากันว่า ในวันทำพิธีเททองหล่อเหรียญรุ่นนี้ ปรากฏว่า สายสิญจน์ในพิธีตกลงมาถูกเทียนชัย แต่สายสิญจน์ไม่ไหม้ เป็นที่มหัศจรรย์มาก โดยขณะนั้นท่านกำลังนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกด้วยจิตอันเป็นสมาธิแน่วแน่
3.เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง พิมพ์ห้าเหลี่ยม วงการเรียกว่า “รุ่นล้างป่าช้า” สร้างในวาระที่ท่านบูรณปฏิสังขรณ์ป่าช้าวัดกำแพง ซึ่งชำรุดเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ ประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัว 2 ชั้น อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีหูหล่อในตัว ด้านหลังมีอักษรขอม แปลเป็นภาษาไทยว่า “สุคโต” และมีตัว “อุ” ด้านบน หล่อด้วยเนื้อสัมฤทธิ์
4.เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง พิมพ์เสมา เนื้อสัมฤทธิ์ ( มีน้อยมาก ) ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อไปล่ อยู่ในกรอบรูปเสมา มีห่วงหล่อในตัว ด้านหลังมีทั้งแบบหลังเรียบ และแบบหลังมีอักษรไทย เนื้อสัมฤทธิ์ เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และ เหรียญหล่อพิมพ์รูปไข่ สร้างในปีเดียวกัน คือ พ.ศ.2478 ในวาระที่ท่านมีอายุครบ 75 ปี โดยทำพิธีหล่อหลายครั้ง ตามความต้องการของลูกศิษย์ที่มาให้ช่างหล่อให้ เล่ากันว่า ช่างหล่อพระเป็นน้องชายแท้ๆ ของหลวงพ่อ หากมีลูกศิษย์นำเนื้อโลหะอะไรมาให้หล่อ ช่างก็จะหล่อให้ตามความประสงค์ และหลวงพ่อจะปลุกเสกให้เป็นคราวๆ ไป
ส่วน เหรียญหล่อพิมพ์เสมา และ เหรียญหล่อพิมพ์ 5 เหลี่ยม ไม่แน่ชัดว่า สร้างในปีใด การแจกเหรียญนั้น บางท่านเล่าว่า เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ ท่านไว้แจกผู้ชาย เหรียญหล่อพิมพ์รูปไข่ไว้แจกสตรี ส่วนเหรียญพิมพ์เสมา เนื้อสัมฤทธิ์ สำหรับแจกเด็ก พระพุทธคุณ เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ ทุกรุ่นทุกพิมพ์ขึ้นชื่อในเรื่องมหาอุด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือทั่วไป และเป็นเหรียญหล่อโบราณที่ได้รับความนิยมสูง มีสนนราคาเช่าหาอยู่ที่หลักแสนปลายขึ้นไปจนถึงหลักล้าน โดยได้รับการจัดอันดับ เหรียญแพง ที่ 2 รองจาก พระหล่อโบราณรูปเหมือน และ เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่-พิมพ์จอบเล็ก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดกำแพง ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ย่านบางขุนเทียน ห่างจากวัดสิงห์เพียงเล็กน้อย ท่านเป็นที่เคารพและเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน วัตถุมงคลของท่านล้วนทรงคุณค่าและได้รับความนิยมอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง
|