@ พระผงท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง จ.น่าน ท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง ผสมเนื้อไม้เสาหลักเมืองน่าน สร้างโดย หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ปลุกเสกโดยหลวงพ่อวัดดอนตัน หลวงพ่อวัดศรีบุญเรือง หลวงปู่ก๋ง หลวงปู่โง่นและพระคณาจารย์เมืองน่านสมัยนั้นนับเป็นของดีเมืองน่านที่น่า บูชาวัด วัด มิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ เป็น เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน ประวัติของวัดมิ่งเมือง คือ เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัดใหม่ ตั้งชื่อ ว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง ต่อมาปี 2527ได้มีการรื้อถอนและสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยแบบใน ปัจจุบัน ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ มีความสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นฝีมือตระกูลช่าง เชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่าง ท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลัก เป็นรูป พรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เสาหลักเมืองน่าน ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “เสามิ่งเมือง” เดิมเป็น ไม้สักทองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ ฟุต สูง ประมาณ ๓ เมตร ลักษณะเป็นเสาทรงกลมส่วนหัวเสาเกลาเป็น ดอกบัวตูมฝังไว้กับพื้นที่ดินโดยตรง ไม่มีศาลหรืออาคารครอบ แต่อย่างใด สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เหตุเพราะแต่ก่อนมานั้นเมืองน่านไม่มีคติ การสร้างเสาหลักเมือง ประวัติ เสาหลักเมืองน่าน และศาลหลักเมืองน่าน
เสา หลักเมืองน่าน สร้างขึ้นโดย สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าครองนครน่าน องค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาหลักเมือง ณ วัดมิ่งเมือง แห่งนี้ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2333 เดิมมีลักษณะเป้นเสาไม้สักทองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เมตร ทรงกลม หัวเสาเกลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตัวเสาฝังลงกับดินโดยตรงไม่มีศาลครอบ
ใน ปี พ.ศ.2506 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ กระแสน้ำในแม่น้ำน่าน ได้ไหลบ่าทะลักเข้าท่วมถึงตัวเสาหลักเมือง ทำให้เสาหลักเมืองโค่นล้มลง เพราะรากเสาผุกร่อนมาก เนื่องจาก ฝังกับพื้นดินมานานกว่าร้อยปี ต่อมาทางวัดมิ่งเมือง พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวบ้านมิ่งเมือง ได้ร่วมกันก่อเสาหลักเมืองน่านจำลอง ด้วยอิฐถือปูนขึ้นในสถานที่เดิม
ถึง ปีพุทธศักราช 2514 ดร.สุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน คนที่ 27 ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวน่านทั้งปวง ร่วมกันสร้างเสาหลักเมืองน่าน และสร้างศาลไทยจัตุรมุขครอบเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ โดยได้นำเอาเสาหลักเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มลงนั้น มาเกลาแต่งใหม่และสลักหัวเสาเป็นพรหมสี่หน้า วัน หนึ่งหลวงปู่โง่นมาจำวัดที่วัดมิ่งเมืองท่านได้สังเกตุเห็นเสาหลักเมืองเดิม ที่หักโค่นมีคนนำไปพิงไว้ที่กุฏิ หลวงปู่โง่นจึงนำมาพิจารณาดูเปลือไม้ด้านนอกผุกล่อนแต่เนื้อไม้ข้างในยังดี อยู่จึงให้คนนำไม้ไปเกลาเสียใหม่แล้วแกะเป็นพรหมสี่หน้าแล้วจึงนำมาเป็นเสา หลักเมือง น่านต่อไป เศษไม้เสาหลักเมืองที่ผ่านการเกลาเศษจากการแกะสลักหลวงปู่โง่นมีความคิดเห็น ว่าเป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ควรทิ้ง จึงให้ลูกศิษย์ไปแกะพิมพ์พระมาโดยมีพิมพ์พระเจ้าทองทิพย์ พิมพ์ท้าวเวสสุวรรณ ส่วนผสมสมหลักคือเนื้อไม้เสาหลักเมืองนั่นเอง
|