ครูบากองแก้ว ญาณวิชโย
วัดต้นยางหลวง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
พระวิสุทธิสงฆ์แห่งลานนา
หนึ่งในไตรลักษณ์ของพุทธศาสนานั้นคือพระเถราเถระผู้มั่งคั่งเปี่ยมล้นด้วย เมตตาธรรม ถือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธ เจ้ามุ่งแสวงหาความหลุดพ้นมีนิพพานเป็นที่ตั้ง ดินแดนแผ่นดินลานนาเป็นสถานที่ที่รุ่มรวยเหล่าพระสุปฏิปัณโณ มากมายหลายรูปครูบากองแก้ว ญาณวิชโย วัดต้นยางหลวง ต.ไชยสถาน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ พระสุปฏิปัณโณรูปหนึ่งผู้ที่สูงส่งไปด้วยศีลาจารวัตร ที่พุทธศาสนิกชนมากมายมุ่งหวังที่จะทำบุญสร้างกุศลกับท่าน เพื่อให้ได้มาซึ่งบุญกุศลที่จะก่อเกิดความสุขทางใจให้กับตน ส่วนวัดต้นยางหลวงนั้น เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ เนื่องด้วยจารึกใบลาน แนกระดาษสาที่บันทึกประวัติวัดต้นยางหลวง ได้ชำรุดสูญหายไปเกือบหมด จึงทำให้ขาดรายละเอียดไปเป็นอย่างมาก
ครูบาแก้ว ท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2440 ตรงกับเดือน 11 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ณ บ้านร้อง ต.ป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนทั้งหมด 7 ในสุกลอุตใจมา ครูบากองแก้ว เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่วัดศรีสองเมือง มีครูบาเผือกเป็นผู้สอน
ปี พ.ศ.2454 อายุ 14 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดต้นยางหลวง สมัยครูบาจันทร์เป็นเจ้าอาวาส
ปี พ.ศ.2459 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีเจ้ากาบแก้ว ณ เชียงใหม่ เป็นโยมอุปัฏฐาก มีครูบาสิทธิ วัดศรีคำชมพู เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระคันธวงศ์ วัดศรีคำชมพู เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอินทรส วัดไชยสถาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์โดยได้รับฉายาว่า “ญาณวิชโย”
เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนจบนักธรรมตรีเพียง รูปเดียวของ อ.สารภี ในสมัยนั้น จากนั้นก็ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติกรรมฐานที่วัดป่าเหียง จ.ลำปางถือว่าในสมัยนั้นวัดนี้มีชื่อเสียงที่สุดในด้านนี้มีพระอาจารย์เก่ง หลายรูป จากนั้นพระครูคัมภีร์ธรรมก็ได้นิมนต์ท่านกลับมาที่วัดต้นยางหลวง เพื่อให้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สร้างขึ้นมาสอนนักธรรมอยู่หลายปี จึงได้ลาออกจากครูสอนนักธรรม ส่วนท่านกลับมาเน้นในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อไปปี พ.ศ.2474 ครูบามูลได้ลาสิกขาบท ทางคณะกรรมการวัดและชาวบ้านทั้งหลายที่ศรัทธาในตัวครูบากองแก้ว ได้อาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดต้นยางหลวง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2474 ขณะเดียวกันได้มีพระภิกษุจากอินเดียรูปหนึ่ง เดินทางเข้ามาเผยแพร่ธรรมและแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย ตามคำอาราธนาของสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น พระสงฆ์ชาวอินเดียรูปนั้นชื่อว่า “พระโลกนาถ”ครูบากองแก้วจึงได้เข้าฝากตัว เป็นศิษย์ร่ำเรียนทางวิปัสสนาเพิ่มเติม จนซึ้งในหลักธรรมต่างๆ จึงได้ตั้งสัตยาธิษฐานฉันมังสวิรัติเพียงวันละมื้อ ตั้งแต่นั้นมาจนมรณภาพ ครูบากองแก้วนั้นถือธุดงค์เป็นประจำไปทั่วภาคเหนือ ตลอดจนเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่อพบอาจารย์ดีที่ไหนก็ขอร่ำเรียนวิชาต่างๆ ที่นั่น โดยครั้งหนึ่งได้พบและพูดคุยกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย ครูบากองแก้ว ใช้ชีวิตธุดงค์จนมีอายุมากสังขารไม่อำนวย ท่านจึงหยุดธุดงค์ทางไกล เพียงแต่ใช้การปฏิบัติอยู่ภายในวัดเท่านั้นนอกจากนี้ช่วงที่ครูบาศรีวิชัย นำสร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบากองแก้ว เป็นรูปหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในการนี้ โดยชักชวนชาวบ้านทั้งหลาย ร่วมสละแรงกายแรงทรัพย์ช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจนกระทั่งสำเร็จ ทั้งนี้ด้วยบารมีของครูบาศรีวิชัยและครูบากองแก้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจึงได้บรรลุสำเร็จเป็นถนนประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่จน ทุกวันนี้
|