ไม่เพียงแค่นั้น ข้อน่าสงสัยอีกอย่างก็คือ เมื่อพม่ายกทัพมาจะมาตีกรุงศรีอยุธยา ก็กรีฑาทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ข้ามลำน้ำที่สามสบ
สังขละบุรี ผ่านท่าดินแดง ท่าขนุน (ทองผาภูมิ) โดยเลียบลำน้ำแควน้อยมาทางฝั่งทิศตะวันตก เพราะเป็นที่ราบ ( ทางทิศตะวันออก ลำน้ำอยู่ชิดเขา ไม่มีพื้น
ที่ราบให้เคลื่อนพล ) จากนั้นทัพพม่าจะมาข้ามลำแควน้อยที่ผาอ้น แล้วเข้ามาตีเมืองไทรโยค เมื่อตีไทรโยคได้แล้ว จะเดินทัพมาเข้าช่องทับศิลา มาออก
ช่องกระทิง ใกล้บริเวณที่เป็นเขื่อนท่าทุ่งนา ในปัจจุบัน จากนั้นจะมาข้ามลำน้ำแควใหญ่ที่ท่าด่าน แล้วเข้าตี เมืองกาญจนบุรีเก่า ที่บ้าน ท่าเสา เขาชนไก่ ใน
ปัจจุบัน เมื่อตีเมืองได้แล้วก็เดินทางผ่าน ปากแพรก ( ตัวเมืองกาญจนบุรีปัจจุบัน ) และเลี้ยวมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อตัดตรงไปยังพนมทวน โดยตัดผ่าน
บ้านหนองขาว แล้วมาหยุดพักไพร่พลอยู่ที่ ตำบลตระพังตรุ เสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะเดินทางผ่าน อู่ทอง สุพรรณบุรี ไปยัง อ. ป่าโมก จ. อ่างทอง เพื่อเข้า
ตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป แต่เนื่องจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าวว่าพม่ายกทัพมา พระองค์จึงเคลื่อนพล ยกทัพไทยออกจากกรุงศรีอยุธยา มาตั้ง
ค่ายรี้พลขัดตาทัพพม่า อยู่ที่ ตำบล หนองสาหร่าย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นปากทาง และยังอยู่ในเส้นทางบังคับในการเคลื่อนทัพของพม่า ที่จะยกทัพไปเพื่อตี
กรุงศรีอยุธยาโดยปกติ ซึ่งถึงอย่างไรเสียกองทัพพม่าก็ต้องมุ่งหน้ามาทางนี้ ไม่มีโอกาสคลาดกันเด็ดขาด
กลับกัน ถ้าเรามาพิจารณาดูบ้างว่า ถ้าไม่ใช่หนองสาหร่ายที่พนมทวน กาญจนบุรี แต่เป็น ตำบล หนองสาหร่าย ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของ อำเภอ
ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี ขึ้นไปอีก และอยู่นอกเส้นทางเดินทัพโดยปกติของพม่า กว่า 30 ก.ม. ที่พม่าจะต้องเคลื่อนพลจากกาญจนบุรี ผ่านพนมทวน ไปยัง
อู่ทอง - สุพรรณบุรี แล้วมุ่งหน้าไปยัง อ. ป่าโมก จ. อ่างทองเพื่อตัดลงไปตี กรุงศรีอยุธยา ซึ่งก็ไม่มีเหตุผลอื่นใดที่สามารถอธิบายได้สมเหตุสมผลว่า พม่ามี
จุดประสงค์ใด ที่จำเป็นต้องเคลื่อนพลขึ้นไปสู่ ดอนเจดีย์ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ของเส้นทางเดินทัพโดยปกติไกลขนาดนั้น และก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่กองทัพ
ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะไปตั้งค่ายพล อยู่นอกเส้นทางเดินทัพโดยปกติของพม่า ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น จุดมุ่งหมายในการไปสกัดทัพพม่าไว้ไม่ให้ไป
ตีกรุงศรีอยุธยา ก็อาจจะเกิดการผิดพลาดขึ้น หากพม่ากรีฑาทัพมาตามเส้นทางปกติ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็น่าจะวิเคราะห์ได้ว่า การกระทำยุทธหัตถีในครั้งกระนั้น
ไม่น่าจะไปเกิดขึ้นที่ ตำบลดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี ซึ่งที่จริงแล้ว ก่อนหน้าที่จะเป็นดอนเจดีย์นั้น สถานที่นั้นถูกเรียกว่า ดอนทำพระ ของ อ. ศรีประจันต์
มาก่อน
ข้อสังเกตอีกประการก็คือ ในการกรีฑาทัพยกพลรบไปยังที่ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทัพไทย หรือทัพพม่า ซึ่งมีจำนวนคน เป็นพัน เป็นหมื่น หรือ
อาจเป็นจำนวนแสน ในการยกพลไปนี้ ระหว่างทาง ทั้งพลรบ ช้างและม้าจะต้องใช้น้ำดื่มกิน หุงหาอาหาร ดังนั้นในการยกพลไปที่ใดก็ตาม ตลอดทางจะต้อง
อาศัยลำน้ำเป็นหลัก ตอนเข้ามาถึงสามสบ แล้วลงมาตีเมืองกาญจนบุรีเก่า ก็ยกพลเลียบมาตามแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแควใหญ่ เมื่อตีได้แล้วก็ยกพลผ่าน
ปากแพรก มุ่งไปยังพนมทวน อู่ทอง และสุพรรณบุรี ก็เคลื่อนพลเกาะลำน้ำทวนมา ซึ่งลำน้ำทวนนี้ไหลลงมาจากเขาตอง บริเวณปากแพรก ผ่าน ตระพังตรุ
พนมทวน ผ่านหนองสาหร่ายที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกพลไปขัดตาทัพรอพม่าอยู่ที่นั่น แล้วลำน้ำทวนก็ไหลไปยังอู่ทอง ไปลงลำน้ำจระเข้สามพัน ที่
นั่น ซึ่งก็สมเหตุสมผลด้วยหลักในการเคลื่อนพลของทั้งสองฝ่ายทุกประการ
และถ้ามาคิดดูว่า เมื่อทัพพม่าเดินทางผ่าน อ. พนมทวน แล้วแทนที่ต่อไปจะต้องมุ่งหน้ายกพลผ่าน จรเข้สามพัน ที่ อู่ทอง จากนั้นมุ่งตรงไปยัง
ป่าโมก อ่างทอง เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไปเหมือนการเดินทัพโดยปกติเหมือนครั้งที่แล้วๆมานั้น ทำไมในครั้งนี้ทัพพม่าจะต้องกรีฑาทัพตัดขึ้นไปทาง
ทิศตะวันตกเพื่อไปที่ดอนเจดีย์ หรือที่หนองสาหร่าย จ. สุพรรณบุรี ทั้งๆที่ระหว่างทางจากพนมทวนขึ้นไปยัง ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีนั้นไม่มีลำน้ำ ให้ไพร่พล
ได้ใช้ดื่มกินกลางทางอีกด้วย หรือว่าทัพพม่าจะมีจุดประสงค์อื่นใด ยิ่งคิด ก็ยิ่งทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความไม่สมเหตุสมผลมากขึ้นอีกว่า เป็นไป
ไม่ได้เลยที่การกระทำยุทธหัตถีจะไปเกิดขึ้นที่ ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
|