โชว์พระกรุทั่วไป
ตามรอยพระท่ากระดาน กรุหนองอีจาง ที่วัดหลวง ราชบุรี
|
|
|
|
|
|
เกี่ยวกับพระท่ากรดานกรุหนองอีจางนี้ ผมพยายามหาข้อมูลใหม่ๆมาตลอด เพราะอย่างที่ตั้งข้อสงสัยไว้ในใจเนิ่นนานมาแล้วเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ว่า
ทำไมตามตำราไหนๆก็บอกไว้ว่า พระขึ้นจากกรุมี แค่ 50 กว่าองค์ ทำไมที่เห็นในวงการ ที่เป็นพระแท้ ทั้งที่เป็นพระเนื้อชินเงิน และตะกั่วสนิมแดงนั้น มีร่วม 15 องค์ ก็ตกเข้าไปหนึ่งในสาม ของจำนวนทั้งหมด แล้วนี่นา เป็นไปได้หรือว่า ทั้งหมดนี่คือพระหนองอีจางที่เราพูดถึงกันทุกวันนี้ และตำราก็บอกว่า พระกรุหนองอีจาง เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง
แต่พระส่วนหนึ่งในจำนวนเหล่านี้ ที่ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงิน บางองค์มองดูเก่าครํ่าคร่า มีผิวปรอทที่อมความเก่าไว้ชัดเจน ไม่น่าจะเป็นพระเนื้อชินเงินที่มีการจัดสร้างขึ้นทีหลัง ภายใน 50 ปีนี้แน่นอน ทำให้ผมยิ่งสงสัยไปอีกว่า ตอนที่พระหนองอีจาง แตกกรุในครั้งกระโน้น คนที่เห็นพระแตกกรุจะมีสักกี่คน และก็เชื่อได้ว่า คนที่เห็นการแตกกรุในครั้งกระโน้น คงจะไม่ได้ดูพระ
เป็นสักเท่าใดนัก และคงมารู้ทีหลัง ตอนคนได้พระมา เอาพระไปให้คนที่ดูพระเป็น แล้วบอกต่อกันมาว่า พระทั้งหมดที่ได้ เป็นพระเนื้อเดียวกัน กับองค์ที่นำมาให้ดูนี่แหละ เมื่อเป็นเช่นนี้การบอกเล่าต่อกันมา ก็คงเกิดขึ้นจากคำยืนยัน ของคนดูพระเป็นคนแรกที่พระผ่านสายตาคนๆนี้นั่นเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อีกใจหนึ่งก็สันนิษฐานว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพระเนื้อชินเงินเล็ดรอดสายตา บุคคลเหล่านี้ แล้วข้อมูลต่อจากนั้นก็กลายเป็นว่า พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ทั้งที่ความจริง มีพระเนื้อชินเงินปนออกมาด้วย หรือถ้าไม่เช่นนั้น พิมพ์พระท่ากระดานหนองอีจาง ทั้งเนื้อชินเงิน และเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง แสดงว่าต้องมีแม่พิมพ์พระมาก
กว่าหนึ่งพิมพ์ ผมจึงสงสัยต่อไปอีกว่า พระจำนวนแค่ 50 - 100 องค์ ทำไมต้องแยกแม่พิมพ์ แยกเนื้อด้วย
หลังจากนั้นเมื่อเร็วๆนี้ ก็ได้รับข้อมูลจากคุณ อำนวย ดวงทองคำ บุคคลในพื้นที่ ซึ่งกรุณาออกมาให้ข้อมูลว่า พระกรุหนองอีจาง นั้นจะต้องเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นพระเนื้อชินเงินนั้น เป็นพระของกรุวัดหลวง ซึ่งอยู่ใกล้กัน และมีพิมพ์พระที่คล้ายกันด้วย แต่พระของกรุวัดหลวงนั้น มีพิมพ์พระที่หลากหลายกว่า และจะเป็นพระเนื้อชินเงินแทบทั้งสิ้น
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 1 ] Mon 6, Dec 2010 19:21:39
|
|
|
|
ในวันเฉลิมพระชนพรรษา ที่ 5ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา พอดีผมเองมีเวลาว่าง และไม่รู้จักกับวัดหลวงมาก่อน ก็ได้นัดแนะกับคุณ อำนวย ดวงทองคำ ว่าจะขอไปเที่ยววัดหลวงเพื่อเป็นการไปหาข้อมูล และคุณ อำนวยเมื่อรู้ว่าผมจะไป จึงได้นัดแนะกับบุคคลอีกหลายคนในพื้นที่ๆจะมาให้ข้อมูล ตลอดจนบางท่านมีพระที่แตกกรุจากวัดหลวง ส่วนหนึ่งซึ่งจะนำมาให้ได้ชมกันด้วย
วัดหลวง ตั้งอยู่เลยทางแยกบางแพ จากถนน เพชรเกษม เลี้ยวซ้ายเข้าไปทาง อ. บางแพ ไม่ถึง ครึ่งกิโลเมตร ทางซ้ายมือ ถ้ามองจากแผนที่ดาวเทียมจะเห็นว่าวัดใหม่อีจาง ( วัดหนองอีจางเดิม ) นั้นอยู่ก่อนจะถึงแยกบางแพ ไม่ถึงครึ่งกิโลเมตรเช่นกัน ดังนั้นทั้ง 2 วัดนี้เป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในสมัยก่อนสามารถใช้คลองตาคดพายเรือไปหากันได้สบายๆ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 2 ] Mon 6, Dec 2010 19:24:54
|
|
|
|
ในหน้าที่แล้วลืมบอกไปว่า คลองที่เห็นคดเคี้ยวไปมาระหว่างวัดใหม่อีจาง และวัดหลวงมีชื่อว่าคลองตาคต ซึ่งเป็นคลองที่มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
เมื่อไปถึงวัดหลวง และได้มีโอกาสเดินเข้าไปชมบริเวณโบสถ์ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าดั้งเดิม มีพระประธานในโบสถ์ซึ่งมีศิลปอู่ทองสวยงามยิ่ง และมีภาพเขียนสีแสดงถึง พุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าปราบมาร ที่ยังคงสภาพดีมาก
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 3 ] Mon 6, Dec 2010 19:29:58
|
|
|
|
รอบบริเวณโบสถ์มีเจดีย์ ใหญ่น้อยอยู่หลายองค์ แสดงว่าวัดนี้คงต้องมีความสำคัญยิ่งตั้งแต่ในสมัยอยุธยา และผู้สร้างคงจะเป็นระดับท้าวพระยา หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ใดองค์หนึ่งเป็นแน่แท้ มิฉนั้นแล้ว โบราณสถานคงจะไม่ใหญ่โต และมีจำนวนมากองค์เท่านี้ ที่หน้าโบสถ์มีพระเจดีย์ขนาดกลางๆ สมัยอู่ทองตอนปลาย เรียงรายอยู่ 6 องค์ นอกจากนี้ยังมี
เจดีย์รายอยู่อีก 3-4 องค์ทั้งด้านหน้า และสองข้างของโบสถ์
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 4 ] Mon 6, Dec 2010 19:35:02
|
|
|
|
สาเหตุที่พระแตกกรุ เพราะพระ และเณรในวัดมาพบว่าเจดีย์โดนคนร้ายลักลอบเจาะขุด และยังขนของออกไปยังไม่หมด และหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง และก็ไม่ได้เป็นข่าวใหญ่นัก ประกอบกับตัวโบสถ์ร่มครึ้ม แม้จะเป็นตอนกลางวัน ส่วนด้านหน้าของโบสถ์ หันไปทางท้ายวัด ซึ่งอยู่ติดกับดงไม้ใหญ่ และมีต้นยางขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่คู่กับโบสถ์มาเนิ่นนานแล้ว เป็นที่รํ่าลือถึงนางไม้ที่สิงสถิตอยู่ บางทีแม้แต่กลางวันก็ไม่ค่อยจะมีคนกล้าเดินผ่าน และด้านข้างโบสถ์ด้านหนึ่งเป็นป่าช้า ทำให้คนร้ายทำการได้สะดวก ยิ่งถ้าเป็นคืนที่มีฝนตกด้วยแล้ว คงไม่มีใครกล้าผ่านแถวนั้นเด็ดขาด สังเกตุได้จากภาพถ่ายของผม บางรูปก็มืดครึ้มทั้งๆที่เป็นตอนกลางวัน
พระที่พบเหลืออยู่จึงถูกคนใกล้วัดได้ไปส่วนหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านแถบนั้น พอรู้ว่าพระที่แตกกรุจากวัดหลวงนี้ มีพระพิมพ์อะไรบ้าง
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 5 ] Mon 6, Dec 2010 19:42:37
|
|
|
|
พระที่ผมได้รับชมจาก บุคคลในพื้นที่หลายๆท่านที่ได้กรุณานำมาให้ได้ชม ก็พบว่าพระกรุวัดหลวงนั้นมีหลายพิมพ์ มีทั้งพระเนื้อดิน พระเนื้อชินเงิน และพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ก็มี อย่างไรก็ตาม พิมพ์พระที่ผมได้รับชมนั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวส่วนน้อยของพระที่แตกกรุจริง อย่างที่เรียนให้ทราบไปก่อนแล้วว่า พบพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดหลวงนี้ด้วย การที่จะบอกว่าพระกรุวัดหลวงต้องเป็นชินเงินเท่านั้น ก็คงจะพูดเต็มปากไม่ได้ ทางที่ดีต้องได้เห็นพระจำนวนหนึ่งมากพอ จึงพอจะอนุมานได้ว่า พระอู่ทองกรุวัดหลวง พิมพ์เดียวกับพระท่ากระดานกรุหนองอีจางนั้น มีพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงด้วยไหม
นี่ก็เป็นพระเนื้อชิน ที่มีพิมพ์คล้ายกับพระขุนแผน หรือจะเรียกว่าขุนแผนซุ้มเรือนแก้วคงจะได้
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 7 ] Mon 6, Dec 2010 19:50:12
|
|
|
|
ในวันนั้น ผมได้รับชมพระพิมพ์นี้อยู่ 4 องค์ พระกรุนี้เท่าที่เห็นไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์อะไร คราบผิวจะมีสีออกโทนขาวเหลือง แต่ละเอียด และจับติดตามซอกค่อนข้างแน่นหนาเป็นเปลือก มีพระอยู่องค์หนึ่งซึ่งเป็นพระที่ไม่มีคราบเช่นที่ว่า ผิวสะอาดมีแต่คราบดินกรุจับพองาม พระองค์นี้เจ้าของบอกว่าขุดได้จากกรุวัดหลวงด้วยตนเอง พระชุดนี้อยู่ในกะเปาะปูนเหนือยอดกรุทั้งหมด 3 องค์ จากเจดีย์ราย พอผมได้ลงกล้องพระองค์นี้ก็พบว่า พระองค์นี้เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ที่มีตุ่มสนิม และมีไขเล็กน้อยเกิดขึ้นบนเนื้อ เมื่อพบพระองค์นี้และได้รับคำยืนยันจากท่านเจ้าของ ก็สรุปได้ในทันทีว่า พระพิมพ์ท่ากระดานหนองอีจางนี้ ไม่ว่าจะเป็นพระของวัดหนองอีจาง หรือวัดหลวงนั้นก็มีพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง เช่นเดียวกัน กลับกันพระวัดหนองอีจางมีเนื้อชินเงินแบบวัดหลวงหรือไม่ เนื่องจากจำนวนพระมีน้อย ยากที่จะพิสูจน์ แต่ตามความคิดเห็นของผม คงจะไม่จำเป็นต้องมาแยกพิมพ์พระออกจากกัน เอาแค่เพียงแยกว่า เป็นพระเนื้อชินเงิน หรือพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดราคาก็พอ เพราะถ้าเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงจะมีผู้นิยมเช่าหา กันมากกว่าพระเนื้อชินเงินอยู่แล้ว
ถ้าจะเทียบให้ดูว่า ถ้าเป็นพระเนื้อชินเงิน ก็เปรียบได้ดังดูทีวีขาวดำ แต่ถ้าเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ก็ดุจดังได้ดูทีวีสีนั่นเอง
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 8 ] Mon 6, Dec 2010 19:55:36
|
|
|
|
สำหรับพระเนื้อชินเงินขอให้ดูองค์นี้เป็นตัวอย่าง ทั้งด้านหน้า และด้านหลังเต็มไปด้วยคราบไขขาวที่จับอยู่แน่นปึ๊ก |
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 9 ] Mon 6, Dec 2010 19:58:23
|
|
|
|
รูปนี้ขยายให้เห็นพระของคุณลุงที่กรุณานำมาให้ชมและเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ผมเลยทำลูกศรสีแดงชี้ให้เห็นตุ่มสนิมแดงที่ว่ามีขึ้นอยู่หลายจุด ที่อาจจะมองไม่แดงแปร๊ด ทั้งนี้ก็เพราะสนิมแดงถูกไขขาวหุ้มอยู่จางๆ ยังไม่โดนสัมผัส ดังนั้นสนิมจะไม่ขึ้นเงา แต่พอโดนมือคนจับโดน ขี้คร้านสนิมจะแดงยังกับเลือดนกก็เป็นได้ครับ |
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 11 ] Mon 6, Dec 2010 20:07:14
|
|
|
|
ข้อมูลแน่นมากครับ อาจารย์ อุตส่าห์เสียเวลาไปทั้งวันเลยนะครับ เยี่ยมๆ คร๊าบบบ |
|
|
โดย : alkj [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 12 ] Mon 6, Dec 2010 20:32:35
|
|
|
|
โดย : bonex [Feedback +2 -0] [+0 -0] |
|
[ 13 ] Mon 6, Dec 2010 21:55:50
|
|
|
|
เป็นประโยชน์กับผู้กำลังศึกษามากครับ
|
|
|
โดย : danchang [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 14 ] Mon 6, Dec 2010 22:04:58
|
|
|
|
ก็ได้ข้อสรุปเสียที สำหรับข้อสงสัยข้างต้นของผมดังได้กล่าวมาแล้ว และทำให้ผู้ที่อยากสะสมพระท่ากระดาน กรุหนองอีจาง ก็คงจะดีใจว่าพระพิมพ์นี้ไม่ได้มีแค่ 50 องค์ดังตำรากล่าวไว้ เพราะความจริงยังมีพระของกรุวัดหลวง พิมพ์เดียวกัน สร้างในสมัยเดียวกัน อู่ทองตอนปลาย อีกส่วนหนึ่งแตกกรุมาให้วงการได้สะสมกัน รวมๆแล้วจำนวนพระหนองอีจางมี 50 องค์ รวมกับวัดหลวงอีก ประมาณ 100 องค์ ก็มีมากกว่าในชั้นต้นแยะ และคนที่มีพระชินเงินก็คงจะยิ้มออก ว่าพระนี้ได้รู้ประวัติค่อนข้างแน่นอนเช่นนี้ จะได้เก็บรักษาพระแบบมั่นใจ หลายคนแม้แต่ตัวผมเองก็เพิ่งได้รู้ว่าพระพิมพ์นี้ยังมีออกจากกรุวัดหลวงด้วย ราคาเช่าหาก็คงไม่ต่างกันดอกครับ
ในวัดใหม่อีจางถ้าใครเคยได้ไป จะพบว่าที่นั่นไม่มีโบราณสถาน แบบเก่าจริงๆเหมือนวัดหลวงมี และวัดนี้น่าจะสร้างทีหลังวัดหลวงเสียด้วยซํ้า ผมเชื่อว่าพระอาจจะถูกสร้างพร้อมกัน หรือทีหลังกว่า แต่ห่างกันไม่มาก แล้วค่อยนำมาบรรจุกรุที่วัดหนองอีจาง ก็สมัยอยุธยาโน่นแหละครับ อายุก็คงจะใกล้ 500 ปีเข้าไปแล้ว พุทธคุณจึงเป็นเช่นเดียวกัน และไม่ต้องไปแยกวัดหรอกครับ ปัจจุบันเริ่มหายากขึ้น คนพื้นที่ก็หวงเพราะรู้ว่าเป็นพระดี
มีบางคนนำไปตัดฐานออก แล้วนำไปขายเป็นพระมเหศวรเดี่ยว สนิมแดงเข้าไปโน่น ใครคิดจะทำ จะเสียพระดีๆไปเปล่าๆ ขอให้ล้มเลิกความคิดเถิดครับ พุทธคุณของพระหนองอีจาง ก็ไม่เบาดอกครับ ถึงแม้ว่าราคาเช่าหาจะย่อมเยากว่ากันมาก
ต้องขอขอบคุณทุกท่านล่วงหน้า ที่เข้ามาชม และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ คุณอำนวย และพี่ๆแถววัดที่ออกมาให้ข้อมูล และบางท่านยังกรุณาให้มาถ่ายรูป เพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ผู้ไม่รู้อีกด้วย
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 18 ] Tue 7, Dec 2010 07:29:32
|
|
|
|
สำหรับแท่งเข็มด้านหลัง ซึ่งเป็นตำหนิในพิมพ์ ที่ผมเคยตั้งข้อสังเกตุว่า เนื้อตะกั่วสนิมแดงจะพบแท่งเข็มนี้เกือบทุกองค์ แม้แต่พระองค์ของวัดหลวงที่นำมาให้ชมกันนี้ ส่วนของพระเนื้อชินเงินเท่าที่พบเจอ ยังไม่เคยเห็นองค์ที่มีตำหนิเช่นนี้ แต่จะเป็นแบบหลังเรียบเสียทั้งนั้น อาจจะมีองค์ที่มีแท่งเข็มก็ได้ ถ้าได้เห็นพระมากๆกว่านี้ และอย่าลืมว่าพระทำเทียมเลียนแบบ ก็มีทำแท่งเข็มนี้ไว้เหมือนกัน ฉนั้นต้องระวังไว้ด้วย
การเทหล่อพระท่ากระดานกรุหนองอีจางเป็นแบบใช้แม่พิมพ์ประกบหลัง เทพระเป็นช่อ แบบพระกริ่ง โดยควํ่าหัวลง เมื่อโลหะแข็งตัวดีแล้วจึงมาตัดชนวนที่ใต้ฐานออกเป็นองค์ๆครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 19 ] Tue 7, Dec 2010 08:52:57
|
|
|
|
สุดๆครับพี่ มีแบบนี้อีกบ่อยๆนะครับ ชอบจริงๆ |
|
|
โดย : meemoodang [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 20 ] Tue 7, Dec 2010 09:24:29
|
|
|
|
ขอมูลยอดเยี่ยมเลยป๋า.. |
|
|
โดย : ลูกแมวน้อย [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 21 ] Tue 7, Dec 2010 10:18:45
|
|
|
|
กระทู้คุณภาพจริงๆครับ |
|
|
โดย : pat_boon [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 22 ] Wed 8, Dec 2010 03:35:55
|
|
|
|
ขอบคุณพี่อาทิตย์ |
|
|
โดย : korawit_kj [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 23 ] Wed 8, Dec 2010 07:40:06
|
|
|
|
เยี่ยมครับพี่
|
|
|
โดย : สมภาร [Feedback +2 -0] [+0 -0] |
|
[ 24 ] Wed 8, Dec 2010 12:43:39
|
|
|
|
ไม่รักพี่ แล้วผมจะไปรักใคร |
|
|
โดย : p.som [Feedback +42 -0] [+1 -0] |
|
[ 25 ] Sun 12, Dec 2010 22:12:37
|
|
|
|
หนังสือพระชั้นยอด โหลดเก็บไว้อีกดีฝ่า ขอบคุณอาจารย์มากครับ |
|
|
โดย : โบราณหลวง [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 26 ] Fri 17, Dec 2010 11:55:43
|
|
|
|
วันนี้มีข้อมูลใหม่ จากการที่ได้กลับไปค้นดูรูปพระบางองค์ที่ผมถ่ายไว้ ก็พบครับ กับพระองค์นี้ที่ด้านหน้า และมีเอกลักษณ์ที่ว่านี้เช่นกัน แต่เนื่องมาจากรูปที่เห็น ในครั้งนี้ เอกลักษณ์ที่ว่านี้ไม่ได้มีแต่ลักษณะเหมือน ดาวกระจาย หรือดอกไม้ไฟระเบิดเพียงเท่านั้น ยังมีลักษณธเช่นเดียวกันกับ "เสี้ยนพระ" ที่มักพบเจอในพระกรุโบราณเนื้อโลหะ เช่น พระปิดตา แร่บางไผ่ หรือ พระปิดตา กรุท้ายย่าน ชัยนาทอีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดศัพท์ใหม่ ด้วยความหมายที่ซํ้าซ้อนกับศัพท์เดิม ที่มีอยู่แล้ว จึงขอกลับไปใช้ศัพท์เดิม เรียก เอกลักษณ์ที่ว่านี้ ตามความหมายเดิมว่า "เสี้ยนพระ" ซึ่งก็หมายถึงว่า เนื้อขององค์พระบางส่วน เกิดมีลักษณะเป็นเสี้ยนขึ้น เหมือน ผงตะไบเหล็กโดนแม่เหล็กดูดติดกับขั้วอยู่
จากรูปเราจะเห็นว่า "เสี้ยนพระ" นี้มีประปรายไปทั่ว นอกจากที่ผมทำลูกศรสีแดงชี้ให้ดูแล้ว ท่านจะสังเกตุเห็นในพื้นผนัง และซอกบางส่วนก็มีด้วยเช่นกัน
"เสี้ยนพระ" ที่ว่านี้ถ้ามีฝังอยู่ในคราบแคลเซียมสีขาวเหลือง ก็จะช่วยให้พระนั้นดูง่ายเข้าไปอีก และคราวหน้า ถ้ามีข้อมูลใหม่ๆได้มา จะรีบมานำเสนอให้ทุกท่านได้รับประโยชน์ร่วมกันอีกครับ
ขอให้ท่านที่ตั้งใจเสาะหาจงโชคดี ในการเสาะหาพระแท้ๆ เพราะพอถึงวันนี้ พระกรุหนองอีจาง และวัดหลวงรวมกันแล้ว ก็ตกเข้าไป คงจะ 100 กว่าองค์ อาจจะใกล้ 200 องค์ก็ได้ครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 28 ] Sun 27, Feb 2011 13:29:04
|
|
|
|
เนื่องมาจาก พระท่ากระดาน กรุหนองอีจาง หรือของวัดหลวงก็ตามแต่ ส่วนมากจะเทพระมาไม่หนามากนัก ส่วนพระศอ หรือคอนั้น จึงเป็นส่วนที่บางที่สุด แทบจะทุกองค์จะมีรอยปริและรานที่คอ บางองค์ คอจะเอนไปข้างหน้าหรือข้างหลังเล็กน้อย องค์ที่มีแท่งเข็มที่ด้านหลัง จะบางทุกองค์ เนื่องมาจาก แม่พิมพ์ที่ประกบก่อนเทโลหะลงแม่พิมพ์ เป็นตัวบังคับ ส่วนองค์ที่เป็นเนื้อชินเงิน หลังเรียบนั้นจะเห็นได้ว่า เทเนื้อมาหนา และไม่มีแท่งเข็มด้วย แสดงว่าไม่ได้ใช้แม่พิมพ์ด้านหลังประกบ แล้วเท จึงเห็นเนื้อที่ด้านหลัง ล้นจากพิมพ์ไปบ้าง
เท่าที่สังเกตุมา พระกรุนี้ที่ด้านหลังมีแท่งเข็ม แทบทุกองค์ของฐาน ด้านหลังจะไม่เรียบตัน แต่จะเป็นแอ่งน้อยๆ ลองดูจากรูปที่รวมรูปด้านหลังพระทุกองค์ที่นำมารวมกันให้ดูนี้ และขอบของพระตั้งแต่เอวลงมามักจะพบ ขอบที่มีเนื้อขอบส่วนเกิน แล้วถูกดัดมาพับไว้ที่ด้านหลังให้เห็นขอบที่พับเข้ามาแทบทุกองค์ ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะด้านหลังหัวเข่า
คราบกรุสีขาวออกเหลืองนั้น น่าจะเป็นปูนขาวหรือปูนเปลือกหอยในสมัยโบราณ ใช้โรยใส่ขณะวางพระลงในกรุ ดังจะเห็นได้จากพระหลายๆกรุก็มีคราบกรุแบบนี้ติดแน่น เช่นพระกรุนางพญาสเน่ห์จันทร์ พระนางไม้สัก กรุแม่ย่าเป็นต้น จุดประสงค์ก็เพื่อให้พระไม่ติดกัน กรุไหนที่ไม่ได้โรยปูนเปลือกหอยนี้ จะพบว่าพระบางส่วนจะทับกันบี้แบนติดกัน ทำให้พระเสียความงามไปตั้งแต่ใส่ลงกรุ
พระกรุนี้บางองค์ทา หรือ ชุบผงชาด หรือหรดาล เป็นสีชมภู อมแดง บางองค์ก็ปิดทองไว้ด้วย ชาดที่ติดอยู่บนเนื้อพระนั้น จะป้องกันผิวพระไม่ให้ผุกร่อนได้ง่าย เพราะอ๊อกซิเจน และความชื้นจะเข้ามา ทำปฏิกิริยากับเนื้อพระได้ยากขึ้น เมื่อเนื้อพระถูกลงรักหรือชาดไว้ พระนั้นจะไม่ค่อยผุกร่อน แต่กลับกัน เนื้อพระส่วนที่ทาชาดหรือลงรักไว้ ถ้าเป็นเนื้อตะกั่วมักจะไม่เกิดสนิมแดง นอกจากตรงรอยกะเทาะ ทั้งนี้ก็เพราะอ๊อกซิเจนในอากาศไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับ ส่วนที่เป็นเนื้อตะกั่ว และมีชาดหุ้มไว้ได้
คนที่ได้พระกรุนี้ที่มีชาดหุ้มไว้ เมื่อพิจารณาดูด้วยแว่นขยาย บางคนเห็นชาดนี้หุ้มเนื้อพระไว้ ก็เข้าใจว่านี่คือสนิมแดงเก๊ เพราะชาดที่เกาะหุ้มเนื้อตะกั่ว ไม่ใช่ผลึกสนิมของตะกั่ว แต่เป็นผงชาดที่มีลักษณะเป็นผงฝุ่นจับติดอยู่ คนที่ดูว่าชาดนี้คือสนิมแดง ก็จะดูว่าสนิมแดงแบบนี้ว่า เก๊ ทันที ดังที่มีคนที่ได้พระกรุนี้หลายคน นำเอาพระที่มีไปให้เซียนพระดู แล้วเซียนพระบอกว่าพระกรุนี้ไม่มีพระแท้ ก็เพราะไปดูชาดที่ทาเอาไว้ ว่านี่เป็นสนิมแดงนี้เข้า ดังนั้นการดูพระกรุนี้ต้องใส่ใจ ดูรายละเอียดในส่วนอื่นประกอบการพิจารณาด้วย ท่านจึงจะไม่เสียโอกาสที่ดีไป
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 29 ] Sat 2, Apr 2011 06:20:57
|
|
|
|
ต่อข้อสงสัยที่ว่า พระท่ากระดาน หนองอีจาง หรือของวัดหลวงก็ตาม มีการสร้างพระใหม่ขึ้นอีกบ้างหรือไม่นั้น คุณ อำนวย ได้กรุณาให้ข้อมูลมาดังนี้
"ข้อมูลพระท่ากระดานย้อนยุคที่มีข้อมูลเท่าที่ทราบมา สร้างเมื่อปีเสาร์ห้า 2536 ครับ ที่วัดหลวง ปีนั้นมีเกจิมาปลุกเศกมากมาย และมีพิธีใหญ่ จัดสร้างพระหลายเเบบพิมพ์ พระท่ากระดานย้อนยุค ก็สร้างในวาระเดียวกันโดยใช้เเม่พิมพ์องค์ของคุณลุง
มากดเป็นเเม่พิมพ์ต้นแบบ เนื่องมาจาก พระที่แตกกรุออกมามีจำนวนน้อยและในตอนนั้นท่ากระดานที่แตกกรุในวัดหลวง ก็ไม่มีเหลือให้เห็นแล้วโดยเจ้าอาวาสองค์เก่า ในขณะนั้นมาขอยืมพระท่ากระดานของคุณลุงไป
กดเป็นแม่พิมพ์
พระท่ากระดานย้อนยุค ที่สร้างออกมา
ก็คงได้จำนวนไม่มากสักเท่าไหร่ ผมไม่ทราบจำนวนเพราะแม่พิมพ์ที่ใช้กดพิมพ์พระได้ชำรุดลงกลางคัน เจ้าอาวาสก็มาขอพระคุณลุง องค์สวยนี้ เพื่อที่จะนำไปกดพิมพ์ใหม่ แต่ในครั้งหลัง
คุณลุงไม่ยอมให้ไป ก็เลยได้แค่นั้น ผมก็ไม่ทราบจำนวนว่าได้กี่องค์กันแน่ พระที่สร้างออกมาทั้งหมด ในตอนหลัง
ก็มีคนก็มาเช่าไปหมด เหลืออยู่ แถวพื้นที่ก็ยังพอพบเจออยู่บ้าง เนื้อพระชุดนี้จะเป็นเนื้อตะกั่วผสมเศษพระหักแตก ซึ่งเป็นพระบูชาที่แตกจากในกรุในเจดีย์ นำมาบดผสมกับเนื้อตะกั่ว ซึ่งจะมองเห็นในเนื้อพระท่ากระดานย้อนยุคมีเนื้อ
เป็นเม็ดทองแดงหลอมละลายไม่หมด เห็นเป็นเกล็ดๆทั่วทั้งด้านหน้า และหลังองค์พระ"
ในวันหน้า ถ้าได้รูปถ่าย พระท่ากระดานกรุหนองอีจางย้อนยุค มาก็จะนำมาลง ไว้ในกะทู้นี้เพื่อให้เป็นข้อมูล ที่ไม่กระจัดกระจาย และเป็นที่ ให้คนทั่วๆไปได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงกันได้ภายหน้าครับ |
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 30 ] Tue 5, Apr 2011 13:39:05
|
|
|
|
ต่อข้อสงสัยที่ว่า พระท่ากระดาน หนองอีจาง หรือของวัดหลวงก็ตาม มีการสร้างพระใหม่ขึ้นอีกบ้างหรือไม่นั้น คุณ อำนวย ได้กรุณาให้ข้อมูลมาดังนี้
" ข้อมูลพระท่ากระดานย้อนยุคที่มีข้อมูลเท่าที่ทราบมา สร้างเมื่อปีเสาร์ห้า 2536 ครับ ที่วัดหลวง ปีนั้นมีเกจิมาปลุกเศกมากมาย และมีพิธีใหญ่ จัดสร้างพระหลายเเบบพิมพ์ พระท่ากระดานย้อนยุค ก็สร้างในวาระเดียวกันโดยใช้เเม่พิมพ์องค์ของคุณลุง มากดเป็นเเม่พิมพ์ต้นแบบ เนื่องมาจาก พระที่แตกกรุออกมามีจำนวนน้อย และในตอนนั้นท่ากระดานที่แตกกรุในวัดหลวง ก็ไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว โดยเจ้าอาวาสองค์เก่า ในขณะนั้นมา ขอยืมพระท่ากระดานของคุณลุงไป กดเป็นแม่พิมพ์
พระท่ากระดานย้อนยุค ที่สร้างออกมา ก็คงได้จำนวนไม่มากสักเท่าไหร่ ผมไม่ทราบจำนวนเพราะ แม่พิมพ์ที่ใช้กดพิมพ์พระได้ชำรุดลงกลางคัน เจ้าอาวาสก็มาขอพระคุณลุง องค์สวยนี้ เพื่อที่จะนำไปกดพิมพ์ใหม่ แต่ในครั้งหลัง คุณลุงไม่ยอมให้ไป ก็เลยได้แค่นั้น ผมก็ไม่ทราบจำนวนว่าได้กี่องค์กันแน่ พระที่สร้างออกมาทั้งหมด ในตอนหลัง ก็มีคนก็มาเช่าทำบุญไปจนหมด เหลืออยู่ แถวพื้นที่ก็ยังพอพบเจออยู่บ้าง เนื้อพระชุดนี้จะเป็นเนื้อตะกั่วผสมเศษพระหักแตก ซึ่งเป็นพระบูชาที่แตกจากในกรุในเจดีย์ นำมาบดผสมกับเนื้อตะกั่ว ซึ่งจะมองเห็นในเนื้อพระท่ากระดานย้อนยุคมีเนื้อ เป็นเม็ดทองแดงหลอมละลายไม่หมด เห็นเป็นเกล็ดๆทั่วทั้งด้านหน้า และหลังองค์พระ"
ในวันหน้า ถ้าได้รูปถ่าย พระท่ากระดานกรุหนองอีจางย้อนยุค มาก็จะนำมาลง ไว้ในกะทู้นี้เพื่อให้เป็นข้อมูล ที่ไม่กระจัดกระจาย และเป็นที่ ให้คนทั่วๆไปได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงกันได้ภายหน้าครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 31 ] Tue 5, Apr 2011 13:51:14
|
|
|
|
สำหรับพระพิมพ์ท่ากระดาน หนองอีจาง ที่ทำย้อยยุคขึ้นที่วัดหลวง เมื่อเสาร์ห้าปี 2536 นั้น ในวันนี้ คุณอำนวยก็ได้กรุณาส่งรูปมาให้ ส่วนจำนวนการสร้างนั้น ไม่แน่ชัด คาดว่าจะเป็นหลัก ร้อยองค์
สังเกตุดูพิมพ์จะไม่เหมือนเดิมสักเท่าใด ดังนั้นถ้าพบ มองปราดเดียว ก็จะแยกได้ชัดเจน ระหว่างพระเก่ากับพระใหม่ครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 33 ] Wed 22, Aug 2012 03:12:46
|
|
|
|
|
|
|
|