โชว์พระกรุทั่วไป
อย่าสับสน กับพระกรุของ จังหวัดตาก
|
|
|
|
|
|
นักนิยมพระหลายๆท่านคงเคยได้ยินมาว่า ที่จังหวัดตากนั้นมีพระกรุบ้านตากที่มีชื่อเสียง และหลายท่านก็คงไม่รู้อีกว่า พระกรุท่าแค นั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร ที่จริงแล้ว พระกรุ ท่าแค อ. เมือง จ. ตาก ซึ่งแตกกรุที่เชิงสะพานกิตติขจร ฝั่งตัวจังหวัด หลังข้ามแม่น้ำปิงเข้าสู่ตัวเมืองตาก ซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นคนละสมัยกับ พระกรุบ้านตาก ซึ่งเป็นพระสมัย สุโขทัย และแตกกรุที่ อ. บ้านตาก ซึ่งอยู่เลยตัวเมือง ตาก ขึ้นไปตามเส้นทาง ถนน พหลโยธินไปสู่ทาง จ.ว. ลำปาง และมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปยังตัวอำเภอบ้านตาก อีกรวมกว่า 30 ก.ม. และยังต้องเดินทางเข้าไปถึง ตัวกรุ ซึ่งอยู่ที่ บ. เกาะตะเภา ซึ่งละแวกนั้น เป็นที่ตั้งของเจดีย์พระบรมธาตุบ้านตาก และเจดีย์ยุทธหัตถีของพ่อขุนรามคำแหงอีกร่วม 20 กิโลเมตร และเนื่องจากพระทั้ง 2 กรุนี้ เป็นพระที่แตกกรุในจังหวัดตากเช่นเดียวกัน จึงทำให้คนที่ไม่รู้รายละเอียด สับสน แล้วเนื่องมาจากว่าพระกรุบ้านตาก ซึ่งแตกกรุเมื่อราวปี 2510 กว่าๆนั้นแตกกรุ ออกมาสู่วงการพระแบบเงียบๆ จึงไม่มีใครรู้ว่า นี่คือพระกรุบ้านตาก ตลอดจนพิมพ์ทรง ของพระกรุนี้ก็ไม่มีผู้จดบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานว่ามีพิมพ์อะไรบ้าง บรรดาเซียนพระที่อื่นที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง การแตกกรุมาก่อน เมื่อเจอพระกรุบ้านตากบางพิมพ์ ที่มีพุทธลักษณะคล้ายพระสุโขทัย ก็นำไปรวมพิมพ์ส่งประกวด และให้เช่าเป็นพระจังหวัดสุโขทัยเป็นเวลาร่วม 10 กว่าปี จนเมื่อภายหลัง หลายๆท่านในวงการที่รู้เรื่องพระกรุนี้ ต่างค่อยๆทยอยกันออกมาให้ข้อมูล ความจริงจึงได้เปิดเผย ซึ่งก็ทำให้ชื่อของพระกรุบ้านตาก ดังกึกก้องไปทั่ววงการพระทีเดียว
อย่างที่บอกไปแล้วว่า พระกรุท่าแคนั้น แตกกรุ เนื่องมาจากการสร้างถนน พหลโยธินจากกรุงเทพ ขึ้นไปยัง จ.ว. เชียงใหม่ เมื่อก่อนปี พ.ศ. 2500 และเพื่อให้การข้ามแม่น้ำปิงเข้าสู่ ตัวเมือง จ.ว. ตาก ทำได้สะดวก จึงได้มีการสร้างสะพาน กิตติขจร เพื่อข้ามแม่น้ำ เข้าสู่ตัวจังหวัด และที่เชิงสะพานกิตติขจรด้านทิศตะวันออก ทั้ง2 ฝั่งมีวัดอยู่ริมน้ำ แต่เจดีย์ของวัดท่าแคซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตัวจังหวัดนั้น กินอาณาเขตลุกล้ำเข้ามาในบริเวณที่จะสร้างสะพาน จึงต้องทำผาติกรรม แล้วรื้อเจดีย์ออก ในครั้งนั้นจึงได้พบพระเครื่อง และพระบูชาขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน วัดท่าแค นี้ได้มีนามเป็นทางการใหม่ว่า วัดชัยชนะสงคราม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพที่เห็นนี้ มองจากเหนือแม่นํ้าปิง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ของบ้าน เกาะตะเภา ไปยังทิศตะวันตก จะมองเห็นทางแยกไปสู่ อ. แม่ระมาด เลยปากทางแยกนี้เข้าไปเล็กน้อย ก็ถึง เจดีย์ยุทธหัตถี และเจดีย์พระบรมธาตุบ้านตากอยู่ไม่ไกลนัก ทั้งองค์เจดีย์ ยุทธหัตถี เจดีย์พระบรมธาตุบ้านตาก และกรุพระบ้านตาก ล้วนตั้งเรียงรายอยู่ในละแวกเดียวกัน
ที่ด้านหลังเราก็คือฝั่งทิศตะวันออกของแม่นํ้าปิงนี้ มีถนนพหลโยธิน ตัดผ่านขึ้นมาจากตัวเมืองตาก ไปสู่ จังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ได้
สำหรับเจดีย์ ยุทธหัตถี ที่ อ.บ้านตากนี้ เป็นเจดีย์ที่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จประพาศ จ.ว. เชียงใหม่ แล้วขากลับ จึงเสด็จมาเยี่ยมชม เมื่อ พ.ศ. 2464 และได้ทรงสันนิษฐานไว้ว่า คงจะเป็นเจดีย์ที่สร้างไว้ เพื่อให้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่ พ่อขุนรามคำแหงทรงขับช้างเข้าขวางช้างของขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ขับช้างไล่ ช้างทรงของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่เสียที เพลี่ยงพล้ำในการกระทำยุทธหัตถีกัน แล้วแตกพ่ายหนีมา พ่อขุนรามคำแหงซึ่งในตอนนั้นมีชันษาได้ 19 ปี ได้ท้าให้ขุนสามชน มากระทำยุทธหัตถีกันแทน จนสุดท้ายช้างของขุนสามชนก็พ่ายแพ้ ต้องแตกพ่ายหนีไป ทำให้จากนั้นมาเมืองสุโขทัย มีความร่มเย็น ไม่มีข้าศึกมารุกรานอีกนาน ส่วนองค์เจดีย์นี้จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานอ้างอิง และชาวบ้านเกาะตะเภา นั้นหวงแหนเจดีย์ยุทธหัตถีนี้มาก ต่างคนต่างก็เฝ้าระวัง ไม่ยอมที่จะให้นักขุดสมบัติต่างถิ่น เข้าไปแตะต้องได้เลย
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 3 ] Tue 3, May 2011 02:05:20
|
|
|
|
มองจากรูปนี้ ซึ่งถ่ายจากบ้าน เกาะตะเภา ไปยังหัวถนนที่จะไปยัง อ. แม่ระมาศ และ
เห็นยอดเจดีย์พระบรมธาตุบ้านตากโผล่มาในดงไม้ที่ตั้งอยู่ริมๆด้านซ้ายมือ ในส่วนทุ่งนาที่วิ่งไปชน
เนินดินก่อนถึงพระบรมธาตุเจดีย์ และวิ่งยาวออกไปทางซ้ายของรูปนั้น ทั้งในทุ่งนา และขึ้นไปบน
เนินดิน เป็นซากโบราณสถานที่ชำรุด หักฝังจมดิน ที่ไม่เห็นทรากแล้ว เป็นบริเวณกรุพระที่พบพระ
เครื่อง พระบูชาฝังอยู่ อาณาบริเวณนี้ต่างก็เรียกกันรวมๆว่าหนองช้างเผือก ส่วนชื่อกรุก็มีแยกย่อย
ออกไปว่า กรุหนองช้างเผือกบ้าง กรุนาอุโมงค์บ้าง กรุเจดีย์อัสดงบ้าง และกรุเจดีย์เจ็ดยอดเป็นต้น
ในโอกาสต่อๆไป คุณวรพจน์ วรพงษ์ หรือ username ว่า bhumploy เจ้าของพื้นที่คงได้จะมานำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับตัวกรุ บ้านตากนี้ต่อไป โปรดรอคอยครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 4 ] Tue 3, May 2011 02:15:50
|
|
|
|
ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่า พระกรุบ้านตากนี้ สร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากประวัติการพบพระว่า ได้พบแผ่นลานทองจารึกถึงการสร้างนี้จำนวนหนึ่งด้วย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า แผ่นลานทองที่ถูกพบทั้งหมด ได้ถูกคนขุดนำไปขายให้กับร้านทอง แล้วร้านทองก็ทำลายหลักฐาน โดยการนำไปเทหลอมเสียหมด ทำให้ประวัติการสร้างพระกรุนี้ เป็นความลับ ดำมืดไปเสียสิ้น
ศิลปของพระกรุนี้ เป็นศิลปสุโขทัย เช่นพระร่วงนั่งเข่าลอยของกรุบ้านตาก มีพิมพ์ที่ละม้ายคล้ายคลึงกับ พระร่วงนั่งเข่าลอยกรุบางขลังมาก จนวงการประกวดพระในสมัยนั้น นำเอาพระร่วงนั่งเข่าลอยกรุบ้านตาก เข้าส่งประกวดในนาม พระร่วงนั่งกรุบางขลัง แล้วกรรมการเองก็ไม่รู้ ก็เลยตัดสินให้ติดรางวัล ดังมีหลักฐานเป็นรูปในหนังสือพระประกวดในสมัยนั้นกันให้เกร่อ อีกพิมพ์ก็คือพิมพ์พระร่วงยืนกรุหนองช้างเผือก ซึ่งพิมพ์ไปเหมือนกันกับ พระร่วงยืนกรุวัดมหาธาตุ สุโขทัย แต่พระของกรุ วัดมหาธาตุจะทำเป็นแบบข้างเม็ดล้อมด้านข้างองค์พระ แถมขนาดและกรอบพิมพ์พระก็ยังไล่เรี่ยกันอีกด้วย
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 5 ] Tue 3, May 2011 02:21:43
|
|
|
|
บางพิมพ์ทรงก็ไปเหมือนพระลำพูน เช่นพระสาม ซุ้มกระรอกกระแต และพระเลี่ยง ซึ่งบางพิมพ์ก็ยังมีศิลปลพบุรีอีกด้วย ถ้าแผ่นลานทองยังอยู่ ก็คงจะบอกเรื่องราวถึงจุดประสงค์ในการสร้าง ว่าสร้างโดยผู้ใด สร้างขึ้นเมื่อใด ไม่แน่ว่าอาจจะสร้างมาก่อนยุคกรุงสุโขทัยรุ่งเรือง เป็นราชธานีของไทย มาตั้งแต่ในสมัยแรกๆ ก็อาจเป็นได้ และน่าจะมีมาก่อน การสร้างเจดีย์ยุทธหัตถี ก็เพราะเจดีย์ยุทธหัตถีนั้น ยังคงมีสภาพที่ดีมาก ผิดกันกับกรุพระบ้านตากที่บางกรุเช่น กรุหนองช้างเผือก นั้น ตัวกรุล่มจมเป็นท้องนาไปหมดแล้ว จะมีก็กรุที่อยู่บนเนินดิน ที่ก็แทบ ไม่หลงเหลือซากอะไรให้จับเค้าได้แล้ว
ต้องขอบคุณ คุณ nude007 ที่ได้เอื้อเฟื้อภาพพระบางส่วนมานำเสนอ พิมพ์พระบ้านตากนี้ ยังมีไม่ครบ ต้องขอรบกวนท่านที่มี ช่วยกรุณาโพสภาพไว้ในกะทู้นี้ เพื่อเป็นวิทยาทาน แก่ผู้ใคร่ศึกษาด้วยครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 6 ] Tue 3, May 2011 02:28:21
|
|
|
|
ยอดเยี่ยมทั้งพระและข้อมูลครับ
|
|
|
โดย : เขาใหญ่ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 7 ] Tue 3, May 2011 07:21:44
|
|
|
|
คุณภาพคับทู้คับพี่อาิทิตย์
|
|
|
โดย : imoddang [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 8 ] Tue 3, May 2011 09:04:38
|
|
|
|
(เพลินอีกแล้วเรา) |
|
|
โดย : meemoodang [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 9 ] Tue 3, May 2011 10:08:45
|
|
|
|
ยอดครับองค์ความรู้ แต่เสียอย่างเดียวตัวหนังสือมันเล็กไปครับอ่านยาก วันหลังเอาตัวใหญ่ๆนะครับ ขอบคุณครับ |
|
|
โดย : คนแห่ระเบิด [Feedback +2 -0] [+0 -0] |
|
[ 10 ] Tue 3, May 2011 10:14:51
|
|
|
|
ขอนำรูปเพิ่มเติมในกระทู้พี่อาทิตย์เลยนะครับ พระร่วงนั่ง กรุหนองช้างเผือก จังหวัดตาก |
|
|
โดย : nude007 [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 14 ] Tue 3, May 2011 12:30:42
|
|
|
|
พระร่วงนั่ง กรุหนองช้างเผือก จังหวัดตาก พิมพ์เล็ก พิมพ์นั้จะต่างจากกรุน้ำของสุโขทัยที่เกศพระ จะเอียงไปทางขวามือเรา |
|
|
โดย : nude007 [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 15 ] Tue 3, May 2011 12:32:51
|
|
|
|
พระร่วงนั่ง กรุหนองช้างเผือก จังหวัดตาก พิมพ์เล็ก |
|
|
โดย : nude007 [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 16 ] Tue 3, May 2011 12:34:03
|
|
|
|
พระงามความรู้แน่น ขอบคุณครับ |
|
|
โดย : นอกวัด [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 17 ] Tue 3, May 2011 13:58:03
|
|
|
|
การที่กรุพระบ้านตากนี้สูญสภาพไป อาจไม่ได้เกิดจากกาลเวลา หรือเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติเท่านั้น แต่อาจจะเนื่องมาจาก ในสมัยก่อน เมืองตากเป็นเมืองหน้าด่านในชั้นแรก ที่พม่าจะต้องยกทัพเข้ามาตีไทย เมื่อทัพพม่าผ่านที่ใด สิ่งปลูกสร้าง ระหว่างทางก็จะโดนพม่าบุกเข้ารื้อค้นทำลาย เพื่อค้นหาสมบัติอีกด้วย
ในสมัยที่เมือง หงสาวดี หรือพะโค ( อ่านออกเสียงพม่าว่า Hanthawaddy ) ยังเป็นเมืองหลวงของพม่านั้น พม่ายกทัพจากกรุง หงสาวดีนี้ เข้ามาตีไทยหลายครั้งหลายครา ส่วนใหญ่ ถ้าจะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ก็มักจะกรีฑาทัพ เข้ามาทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ หรือบางทีก็เข้ามาทางด่านบ้องตี้ กาญจนบุรี แล้วเดินทางตัดมาทางสุพรรณบุรี ป่าโมก อ่างทอง แล้วเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา
บางที ก็จะเข้ามาทางด่านสิงขร จ. ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อวกมาตีกรุงศรีอยุธยา หรือ ยกทัพลงไปตีหัวเมืองทางใต้ ลงไปอีก
แต่ถ้าจะเข้ามาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่นเชียงใหม่ เชียงราย ตาก สุโขทัย พิษณุโลก หรือกำแพงเพชร ก็มักจะยกทัพตัดตรงจากกรุงหงสาวดี เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้ามายังเมืองระแหง หรือเมืองตากเก่า จากนั้นจึงจะมุ่งไปยัง เมืองเป้าหมาย เช่นขึ้นเหนือไปตีเมืองเชียงใหม่ เชียงราย หรือยกทัพตัดไปทาง ทิศตะวันออก ไปตี สุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร และบางทีก็เข้ามาทาง จ. ตาก แล้วมุ่งลงใต้ เพื่อไป นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง แล้วเข้าตีกรุงศรีอยุธยาก็มี
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 18 ] Tue 3, May 2011 14:17:21
|
|
|
|
ต้องขอบคุณ ทุกท่านที่เข้าเยี่ยมชม โดยเฉพาะคุณ nude007 และคุณ Alkj ที่ได้นำเสนอพระกรุบ้านตาก และกรุท่าแค บางพิมพ์มาให้ชมเป็นวิทยาทานอีกด้วยครับ |
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 19 ] Wed 4, May 2011 07:50:57
|
|
|
|
ขอบคุณอาจารย์ครับ |
|
|
โดย : korawit_kj [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 20 ] Wed 4, May 2011 09:14:16
|
|
|
|
ข้อมูลแน่นขนาดนี้สงสัยข้าน้อยต้องฝากตัวเป็นศิษย์สะแล้ว |
|
|
โดย : ๑สวัสดี๑ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 21 ] Wed 4, May 2011 09:37:20
|
|
|
|
พระเชตุพนหน้าโหนกบัวสองชั้นของกรุบ้านตากนี้ มีเอกลักษณ์คือ บัวคู่กลางทั้งข้างบนข้างล่างนั้น กลีบบัวมีขนาดเล็กกว่าบัวคู่ริมทั้ง 2 ข้างอย่างเห็นได้ชัด ถ้ามองจากด้านหน้าตรงๆ จะพบว่าพระพักตร์ ( ใบหน้า ) จะหันไปทางซ้ายของเรา ( ทางขวาขององค์พระ ) เล็กน้อยจริงๆ
ในหนังสือพระหลายเล่มที่ชอบตู่ เอาพระพิมพ์นี้ไปลง แล้วบอกว่า พระพิมพ์นี้เป็นของสุโขทัยมั่ง กรุวัดบรมธาตุ กำแพงเพชรมั่ง ก็เพราะนานมาแล้วที่พระเชตุพนหน้าโหนกของสุโขทัยนั้นหายากมานาน เรียกได้ว่าเจอพระบ้านตาก 25 องค์จึงเจอพระสุโขทัยสักองค์ ก็เลยย้ายกรุเพื่อทำราคา
เท่าที่เห็นมา หนังสือพระที่ชมรมจักวาลพระที่พันธ์ทิพย์ประตูนํ้า เมื่อสมัยก่อนๆ จัดประกวดพระแล้วมีหนังสือพระตามหลังออกมา มีรูปที่ตัดสินได้ถูกต้องครับ ขอชมเชยว่ามีมาตราฐานสูงทีเดียว
ผมเองก็มีพระของสุโขทัยอยู่ แต่พระมีหินปูนหุ้มขาวโพลน ถ่ายรูปยากมาก เอาไว้ให้ได้รูปจะนำมาใส่ข้างล่างนี้ครับ
|
|
|
โดย : อาทิตย์ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 23 ] Wed 4, May 2011 14:39:59
|
|
|
|
สุดยอดเหมือนเดิมครับ
|
|
|
โดย : danchang [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 24 ] Wed 4, May 2011 21:45:22
|
|
|
|
ขอร่วมแจมอีกองค์ครับ งบน้ำอ้อย( ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ) |
|
|
โดย : รอง [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 25 ] Wed 4, May 2011 22:06:00
|
|
|
|
โดย : สมภาร [Feedback +2 -0] [+0 -0] |
|
[ 27 ] Mon 9, May 2011 11:44:50
|
|
|
|
|
|
|
|