พระพิฆเนศล้านนา (ปิ๊ดสะหนู) หนึ่งในครูแรงอันดับต้นๆในตำราบูชาครูล้านนา หล่อโบราณ ยุคล้านนา พระพิฆเนตรล้านนา หรือ คนล้านนาเรียกว่า พระปิ้ดสะหนู จะพบได้ในขันครูหรือขันครูหลวง ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ...
พระพิฆเนศทางเหนือเรียกว่า(พระปิสนู๋ ) ชิ้นนี้เป็นของขุดได้ ณ กรุๆหนึ่งในภาคเหนือ ครูปิสนู๋ทางเหนือล้านนานับว่าเป็นครูที่แรงครูหนึ่งครับผม สำหรับผู้มีวิชาคาถาอาคมทางล้านนาส่วนมากจะถือครูพระปิสนู๋ เป็นครูที่มีอานุภาพเข้มขลัง ถือครูปิสนู๋ไว้ สืบสอนวิชาคาถาอาคม ปกปักรักษา " แป๊ขึด ( กันอาคมของร้ายอาเพศ อุบาทว์) " กันภูติผี ชนะภัยร้ายของไม่ดีทั้งมวล สืบสานวิชาอันใดถือครูปิสนู๋ไว้จะสำเร็จวิชา ทุกประการ เป็นครูที่แรง สำหรับเศียรครูเศียรนี้ เป็นของโบราณตัวจริงเสียงจริง เนื้อโลหะถึงยุคดูง่ายๆ ไม่ง่ายที่จะพบเจอ หากไม่มีบุญวาสนามากพอครับ
พิสสนูกัมม์/พิสสนูกัรม์ อ้างอิง; คัมภีร์ปาราสระและคัมภีร์สามฺฤตฺยรสูตฺระแปลล้านนา (นิไสยรามเหียร) หน้าลานที่ ๑ ของสำนักโบราณเคหัง เรือนเดิม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.....เทพเจ้าฮินดูที่ชาวล้านนานับถือกันมาแต่สมัยโบราณ คือ "พิสสนู" (ออกเสียงว่า "ปิ๊ด-สะ-หนู") ได้แก่ พระวิษณุ (บาลี;วิสณุ) หนึ่งในตรีมูรติ อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย) ดังข้อความในคัมภีร์ปาราสระแปลท่อนหนึ่งว่า "โควินฺทสฺย แห่งพิสสนูกัมม์เทวดา" (ดูข้อความเต็มข้างล่าง)***
.....ข้อความนี้ยืนยันได้ว่า "พิสนู/พิสสนูกัมม์" คือพระวิษณุแน่นอน เพราะคำว่า "โควินฺท" เป็นพระนามหนึ่งของ "พระวิษณุ" ซึ่งพระนามของพระวิษณุมีหลายพระนาม ดังคัมภีร์อภิธานวรรณนาแสดงไว้ในรูปบาลี เช่น วาสุเทว, หริ, กณฺห, เกสว, นารายณ, เวกุณฺฐ, ทาโมทร, มาธว, สมฺภู, เทจฺจาริ, ปุณฺฑริกกฺข, โควินฺท เป็นต้น (ดูคัมภีร์อภิธานวรรณนา หน้า ๔๓-๔๔)
***คำประณามพระวิษณุในคัมภีร์ปาราสระ (ภาษาสันสกฤต) แปลโดยพระญาณมังคละ เมืองเชียงใหม่ (ไม่ปรากฎวันเดือนปีที่แปล) ดังนี้
.....(ปฺรณาม) วิโภฺรณํ มธุเกหิโปตลฆุตํ เกวทฺธนํ วิภฺฤติ ยตฺราสิ มกรนฺตสินฺธุกลนํ กปฺปานฺตเมฆามฺภสํ โทนฺนาลํ ลลิตางฺคลิทลจยํ ศฺรีมตฺกรามฺโภรุหํ โควินฺทสฺย สิวายติ วิชยเต วิสฺวาตปตฺรายิตมํ.
.....(แปล) ศฺรีมตฺกรามฺโภรุหํ อันว่าดอกบัวอันกล่าวคือว่าฝ่ามืออันมีสรี โทนฺนาลํ อันมีคือว่าต้นแขน ลลิตางฺคลิทลจยํ อันมีกีบอันกล่าวคือว่านิ้วมือ โควินฺทสฺย แห่งพิสสนูกัมม์เทวดา อสิ ค็มี, มกรนฺตสินฺธุกลนํ อันว่าไหลออกแต่ไกสรแห่งดอกบัว กปฺปานฺตเมฆามฺภสํ คือน้ำฝนอันมล้างกัปปะ อสิ ค็มี ยตฺร กรามฺโภรุเห ในดอกบัวอันกล่าวคือมือแห่งพิสสนูกัมม์ตนใด, ตตฺ ศฺรีมตฺกรามฺโภรุหํ อันว่าดอกบัวกล่าวคือฝ่ามืออันมีสรีแห่งพิสสนูกัมม์ตนนั้นไส้ วิสฺวาตปตฺรายิตมํ อันเปนดั่งฉัตระแก่สัตวะทังหลายแล; ดอกบัวคือฝ่ามือแห่งพิสสนูกัมม์ตนนั้น วิภฺฤติ ค็ทรง เกวทฺธนมฺ ยังดอยอันชื่อเกวัทธนะแล ดอยอันชื่อเกวัทธนะแลดอยนั้น วิโภฺรณํ อันทรง มธุเกหิโปตลฆุตํ ยังหมู่แม่เผิ้งตัวน้อยทังหลายอันกล่าวคือว่าสัตวะทังหลาย, ตตฺ (ศฺรีมตฺกรามฺโภรุหํ) อันว่าดอกบัวอันกล่าวคือว่าฝ่ามือพิสสนูกัมม์ตนนั้น วิชยเต มักว่า วิชยตุ จุ่งชนะ สิวายติ เพิงจักหื้อสุข เม แก่คูเทิน.
-------------------------
|