พระลพบุรี ปางห้ามสมุทร ศิลปะเขมร เป็นศิลปะในขณะที่ขอมเรืองอำนาจ ในยุครัชสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่7 ( 1724 - 1761 ) ส่วนใหญ่จะสร้างเป็นแบบเทวรูปต่างๆ และ พระพุทธรูป นั่ง บนบัลลังก์แบบนาคปรก แต่องค์ นี้เป็นแบบ พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรซึ่งหายากมาก และถือว่าเป็นยุคแรกออกสนิมเขียว ซึ่งเป็นพระกรุในเมืองละโว้ จ.ลพบุรี องค์นี้สวยงามสมบูรณ์มากและหายากมากครับ
“พระพุทธรูปสมัยลพบุรีมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมเขมร ทั้งเทคนิคการสร้างที่ใช้วัสดุหินทรายและรูปแบบศิลปกรรม ด้วยเหตุที่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ราว 100 ปี (ช่วงรอยต่อระหว่างสมัยปลายบายน-การสถาปนากรุงศรีอยุธยา : ผู้เขียน) พัฒนาการทางด้านศิลปะจึงไม่แตกต่างกันมากนัก ในส่วนที่สามารถตั้งเป็นข้อสังเกตได้คืองานที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมเขมรที่มีรูปแบบเกือบแยกไม่ออกกับส่วนหนึ่งที่เป็นงานพัฒนาการด้านรูปแบบที่เกิดเป็นลักษณะของตัวเองที่เรียกว่า “แบบท้องถิ่น” อย่างแท้จริง ในที่นี้ได้ตั้งข้อสังเกตในการแบ่งกลุ่มรูปแบบไว้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มีการผสมระหว่างทวารวดีกับศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18) กลุ่มที่ 2 รูปแบบที่สืบทอดมาจากศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19) และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่พัฒนามาเป็นลักษณะท้องถิ่นอย่างแท้จริง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19)”
|