ความเชื่อเรื่องผีผูกพันกับชาวล้านนามาอย่างลึกซึ้งยาวนานหลักร้อยหลักพันปี ไม่ว่าจะสิ่งใดก็ตามต่างต้องมีผีเป็นผู้รักษา รวมถึงวัสดุที่จะนำมาสร้างมีดหมอของชาวล้านนา
.
.
ชาวล้านนาในบางท้องถิ่นเรียกปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ว่า ผีไอสูร ชื่อนี้คงเรียกตามสำเนียงแต่ละที่
ถ้าเป็นคนโบราณถิ่นอื่นท่านก็เรียกปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า
“ ขวานของยักษ์รามสูร “ อย่างในเพลงที่กล่าวว่า
“ เมขลาซิมาล่อแก้ว รามสูรเห็นแล้วจึงขว้างขวานออกไป⚡️ “
ฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าเป็นสิ่งคนโบราณสัมผัสไม่ได้
แต่เห็นถึงพลังลึกลับที่ทำให้ทุกสิ่งบนโลก
ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตามต้องตายพรายลงฉับพลัน
จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะถูกไอสูรยิง
.
ผู้มีวิชาอาคม อาทิ หมอพื้นบ้าน หมอครูต่างๆ
จะนำเอาวัตถุเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น งากำจัด เขาควายเผือก
วัว ควาย รวมถึงโลหะต่างๆที่โดนฟ้าผ่า ฯลฯ
เพราะเชื่อกันว่า เป็นวัสดุอาถรรพณ์ มีฤทธิ์แรง
เป็นของทนสิทธิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเอง
จึงมักจะนำมาใช้ในการทำมีดแหก มีดหมอล้านนา
.
เมื่อได้มาก็จะนำมาขึ้นรูปให้ดูคล้ายมีดแต่ไร้คม
สาเหตุที่ทำให้ไร้คมก็เพราะวัตถุประสงค์สำคัญ
นอกจากจะใช้เป็นเครื่องรางคุ้มครองประจำกายแล้ว
ยังสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาคนด้วย
แต่ในบางเล่มก็พบว่าอาจมีการจารพระคาถาลงเพิ่มเติม
ในวันเดือนดับเพราะถือว่าดับพิษภัย โรคร้ายต่าง ๆ
เสร็จจะนำมีดแหกไปไว้ที่หิ้งผีครู
.
.
เมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยมารักษา
หมอยา เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้
ก็จะทำการตรวจสอบหาสาเหตุ
เพราะคนล้านนาโบราณเชื่อว่าการเจ็บไข้ได้ป่วย
หรือ ที่เกิดเพทภัยต่างๆขึ้นนั้น
ย่อมเกิดอย่างมีเหนุผล ไม่ว่าจะคนทำตัว
คือ ธาตุกำเนิด ธาตุเจ้าเรือน ( คำนวนตามหลักโหราศาสตร์ )
อาจอยู่ในสภาวะไม่สมดุล
ก็เกิดจากภูติผีปีศาจคุณไสยมนต์ดำ
คนป่วนอาจเผลอไปละเมิดทำเรื่องขึด
จนผีที่รักษาอยู่ในที่ต่างๆไม่พอใจ
ดังนั้นวิธีการรักษาของหมอยาโบราณ
ไม่ใช่การตรวจ จ่าย จบ แบบเจ็บตรงไหนระงับตรงนั้น
ทว่าท่านรักษาองค์รวม คือ รักษาด้วยสมุนไพรควบคู่ไปกับคาถา และ พิธีกรรม
.
=•=•=•=•=•=•=•=•=•=•=
ในส่วนพิธีกรรมเริ่มตั้งแต่การตรวจดวงชะตา
คำนวนตัวเปิ้งตัวชน พิธีส่งเคราะห์
พิธีสืบชะตา การจุดเทียน ฯลฯ
สำคัญที่สุด ทำบายศรีสู่ขวัญ
หรือ อาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าคือ “ การเรียกขวัญกลับบ้าน ”
.
ขวัญ เป็น ความเชื่อดั้งเดิมที่ปัจจุบันยังคงมีอยู่อย่างเข้มข้น ในชาวไท ไต ลาว ซึ่งมีจุดแตกต่างจากความเข้าใจในปัจจุบันที่เข้าใจกันว่า
“ ขวัญ คือ วิญญาณ 1 คนจึงมีได้เพียง 1 ขวัญ
ขวัญออกจากร่างได้ก็เมื่อตายเท่านั้น “
.
แต่ในความเชื่อดั้งเดิมนั้น
ขวัญมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน
และ มีอยู่ทั่วไปไม่ว่าจะในอวัยวะ32ของคน
ในสัตว์ หรือในธรรมชาติ
ขวัญไม่จำเป็นต้องออกเมื่อตาย
แต่ขวัญออกเมื่อหลับ หรือ ตกใจก็ได้
.
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือ การเจ็บป่วยใดๆก็ตาม
ที่ทำให้อวัยวะนั้นๆไม่สามารถกลับมาใช้งานได้สมประกอบ ไม่ว่าจะอาการใจลอย หรือ แขน ขาไม่มีเรี่ยวแรง อาจเกิดจากขวัญบริเวณนั้นตะเลิดหนีหายไปเที่ยวเล่นยังไม่กลับมา ชาวล้านนาโบราณไม่ว่าจะชาวไทยวน ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขินฯลฯ ต่างมีตำราที่กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนมีจุดขวัญอ่อน เพียงแต่ตำแหน่งแตกต่างกัน บางคนอาจเป็นที่มือ ที่หลัง ที่กระหม่อม ทำให้บริเวณนั้นๆมักเกิดปัญหาอยู่เสมอ
.
จากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการรักษากาย
วิธีรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ หรือ ความรู้ของหมอยาแต่ละท่าน หากเป็นการปวดเมื่อยก็อาจทำการย่ำข่าง
คือ การใช้เท้าของหมอยาเป็นสื่อนำความร้อน
ที่ได้รับจากเหล็กที่ถูกเผาจนแดงมานาบตามบริเวณที่คนไข้ปวด หรือ บางท่านใช้มีดแหกแช่ส้มป่อยมาเสกเป่าแล้วแหกกดลากมีดตามพิธีกรรม เพื่อดันไล่พิษร้าย ผีร้าย ขับของเสียให้เลือดลมกลับมาเดินได้สะดวก คนไข้ก็ค่อยๆฟื้นตัวหายจากอาการทั้งปวง จึงจ่ายยาสมุนไพร พร้อมกำกับคำแนะนำในการทำบุญทำทานถือศีลปล่อยนกปล่อยปลาต่อไป
.
การรักษาของคนโบราณเป็นการรักษาควบคู่
คือ กาย และ ใจ เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
.
=•=•=•=•=•=•=•=•=•=
.
ชุดเครื่องรางคู่กายหมอยาจอมขมังเวทย์
|