จ้าวทองทิพย์และท้าวเวสสุวรรณวัดมิ่งเมืองนั้นจัดสร้างปี2514 โดยจัดสร้างและกดพิมพ์กันเองที่วัด ไม่ได้ปั้มจากโรงงาน จึงทำให้องค์พระบิดๆเบี่ยวๆไปบ้าง มีรอยนิ้วมือบ้าง เนื้อหามวลสารแต่ละองค์อาจจะแตกต่างกันไปบ้างเพราะผสมมวลสารทีละหม้อ จึงทำให้แต่ละหม้อมีสูตรไม่เหมือนกัน ทำให้เนื้อหาของพระแตกต่างเล็กน้อย
พิมพ์จ้าวทองทิพย์นี้ด้านหน้าเป็นพระเจ้าทองทิพย์ที่ประดิษฐ์ฐานที่วัดสวนตาล อ.เมือง จ.น่าน เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจ.น่าน ด้านหลังเป็นเสาหลักเมืองน่าน ประดิษฐ์ฐานที่วัดมิ่งเมือง อ.เมือง จ.น่าน แต่ว่าจ้าวทองทิพย์และท้าวเวสุสุววรรณนั้นทางวัดมิ่งเมืองเป็นผู้จัดสร้างขึ้น และในใบฝอยยังปรากฏว่าพระจ้าวทองทิพย์ปลุกเสกที่จ.น่านแล้ว ยังนำไปปลุกที่วัดท้ายน้ำ อ.โพทะเล จ.พิจิตร และในพิธีมหาพุทธาภิเษกเสาร์ห้า ที่วัดในอ.ตะพานหิน จ.พิจิตร อีกด้วย
พระจ้าวทองทิพย์(เขียน จ้าว ตามคำที่เขียนไว้ใต้องค์พระ)องค์นี้จัดสร้างเมื่อปี2514 ออกที่วัดมิ่งเมือง จ.น่าน ประวัติของพระองค์ทั้งสองพิมพ์นี้คือ เมื่อปี2514 ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในขณะนั้นคือท่าน ดร.สุกิจ จุลละนันท์ ได้นำข้าราชการและพ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดน่านร่วมกันสร้างเสาหลักเมืองน่านและสร้างศาลไทยจัตุรมุขครอบเสาหลักเมืองน่านขึ้นมาใหม่ ตามคำแนะนำของหลวงปู่โง่น โดยนำเอาเสาหลักเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มลงมาเกลาแต่งใหม่และแกะสลักหัวเสาเป็นพรหมสี่หน้า ส่วนเศษเสาหลักเมืองน่านเก่า ที่ผ่านการเกลา หลวงปู่โง่นมีความเห็นว่าเป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์ไม่ควรทิ้ง ท่านจึงนำไปบดเป็นพิมพ์พระจ้าวทองทิพย์ และพิมพ์ท้าวเวสสุวรรณ โดยมีครูบาต่างๆในจังหวัดน่านร่วมปลุกเสก ทั้งครูบาดอนตัน ครูบาก๋ง ครูบาศรีบุญเรือง ฯลฯ พระส่วนหนึ่งได้ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกส่วนบรรจุไว้ใต้เสาหลักเมืองน่าน ที่เหลือแจกจ่ายให้กับคนน่าน
พิมพ์พระจ้าวทองทิพย์นี้ จะมี2พิมพ์ คือพิมพ์ใต้ฐานมีชื่อ โดยด้านหน้าใต้องค์พระมีชื่อกำกับไว้ด้วยว่า "จ้าวทองทิพย์" แต่เท่าที่สังเกตว่าองค์ที่เป็นเนื้อไม้จันทน์แดงจะไม่มีคำว่า "จ้าวทองทิพย์ " ปรากฏอยู่ แต่เนื้ออื่นๆจะปรากฏชื่อทั้งหมด (เนื้อไม้จันทน์แดงจะเป็นอีกบล๊อคหนึ่ง ) ส่วนด้านหลังเป็นรูปเสาหลักเมืองน่าน (เขียนชื่อกำกับไว้ว่า "เสาหลักเมืองน่าน") พระจ้าวทองทิพย์เป็นพระเจ้าที่สร้างจากทองคำที่มากที่สุดในล้านนา โดยใช้ทองคำถึง12ตื้อ 1ตื้อเท่ากับ1000กิโล(ประวัติพระจ้าวทองทิพย์ไปหาอ่านได้) พระจ้าวทองทิพย์องค์นี้มีความน่าสนใจตรงที่ว่า พิมพ์พระจ้าวทองทิพย์และพิมพ์ท้าวเวสสุวรรณนั้น เนื้อหามวลสารนอกจากผงไม้เสาหลักเมืองน่านแล้ว องค์ที่มีมวลสารสีออกชมพู่ๆแบบนี้จะหายากมากๆ ทั้งพิมพ์พระจ้าวทองทิพย์และพิมพ์ท้าวเวสสุวรรณเพราะองค์ที่มีสีชมพูๆนี้จะมีการผสมไม้จันทน์แดงเข้าไปด้วย เป็นไม้มงคลที่หายาก ชาวล้านนาสมัยก่อนหรือปัจจุบันยังพอมีให้เห็นบ้าง มักนำมาฝนกับก้อนหินไว้สรงน้ำพระเจ้าในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันไม่ค่อยเจอไม้ชนิดนี้แล้ว ถ้ามองโดยรวมจะเห็นองค์พระออกสีชมพูๆ(แต่ถ้าส่องกล้องจะเห็นเป็นผงไม้สีแดงๆ)
ในประเทศจีนสมัยก่อน ไม้จันทร์แดงถือว่าเป็นไม้ต้องห้าม คนทั่วๆไปจะตัดนำมาใช้ไม่ได้ คนที่จะใช้ไม้ชนิดนี้ได้คือฮ่องเต้เท่านั้น คนจีนมักจะนำไปทำโต๊ะเก้าอี้ให้ฮ่องเต้ใช้เพราะเป็นไม้มงคลที่เสริมบารมี แต่ทางล้านนาจะใช้ฝนกับก้อนหินไว้สรงน้ำพระในวันสำคัญๆต่างๆ เพราะถือว่าเป็นไม้มงคลสูงค่าครับ
องค์นี้เนื้อแห้งและแกร่งสีออกชมพูๆ เลี่ยมพลาสติกให้พร้อมใช้ครับ
|