พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์พลายเดี่ยว หน้าเทวดา เนื้อดิน จ.สุพรรณบุรี องค์นี้มีหน้ามีตา สภาพพอสวย ผิวที่ถูกสัมผัสมีความมันส์ฉ่ำ ส่วนซอกลึกแห้งสนิท มีคราบกรุบางๆ ส่วนรารักขึ้นประปรายทั่วองค์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีรอยว่านหลุดให้เห็น ทำให้ดูง่ายๆตามสไตล์พระแท้ ขนาดความกว้าง 2.5 ซม. สูง 4.5ซม. พร้อมบัตรรับประกันพระแท้จาก SK-Check
ในบรรดาพระเครื่องชั้นนำของ จ.สุพรรณบุรี มักมีชื่อของพระขุนแผนรวมอยู่ในพระกรุยอดนิยมของจังหวัดนี้ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระกรุโบราณมีอายุการสร้างมาหลายร้อยปีกล่าวกันว่าความงดงามของพุทธศิลป์นั้นโดดเด่นยิ่งนัก ส่วนพุทธคุณนั้นก็เลิศล้ำเกินคำบรรยายทั้งเมตตามหานิยม ,มหาเสน่ห์ ตลอดจนคงกระพันชาตรี ยากที่จะหาพระพิมพ์ใดเสมอเหมือน จัดเป็นพระยอดนิยมชั้นแนวหน้าของวงการมานาน
วัดบ้านกร่าง อันเป็นแหล่งกำเนิดพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง อันเรื่องชื่อนี้ตั้งอยู่ที่ ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี ตรงข้ามกับที่ว่าการ อ.ศรีประจันต์ วัดนี้เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่องกรัวัดบ้านกร่าง แตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในบริเวณบวัดบ้านกร่าง เมื่อราว พ.ศ.2447 มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่ะพระแตกกรุออกมาใหม่ๆ พวกพระสงฆ์และชาวบ้านได้นำพระทั้งหมดมากมายหลายพิมพ์มาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในสมัยนั้นได้นำพระที่วางไว้มาเล่นร่อนแข่งขันกันในลำน้ำสุพรรณบุรีเป็นที่สนุกสนาน เนื่องจากว่าในสมัยนั้นพระวัดบ้านกร่างยังไม่มีมูลค่าและความนิยมมากมายเหมือนดังเช่นปัจจุบัน
ชื่อพระขุนแผนทั้งของเมืองสุพรรณหรือขุนแผนเมืองไหนก็ตามเป็นการเรียกชื่อพระของคนสมัยหลัง เพราะคนโบราณสร้างพระพิมพ์ไม่เคยพบหลักฐานว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วยมีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น พระกรุวัดบ้านกร่างก็เช่นเดียวกันเมื่อแตกกรุใหม่ๆก็ไม่มีชื่อ คนสุพรรณบุรียุคนั้น เรียกกันเพียงว่า " พระวัดบ้านกร่าง" คือถ้าเป็นพระองค์เดียว ก็เรียก "พระบ้านกร่างเดี่ยว" ถ้าเป็นพระสององค์คู่ติดกัน ก็เรียก"พระบ้านกร่างคู่ " ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็นพระขุนแผนบ้าง , พระพลายเดี่ยวบ้าง , พระพลายคู่บ้าง ที่มาของชื่อพระพิมพ์ขุนแผนเหล่านี้ เชื่อว่าคนตั้งชื่อ คงต้องการให้ คล้องจองกลมกลืนกับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผน ที่โด่งดัง อันมีถิ่นกำเนิิดในย่านสุพรรณบุรี คำว่าพระบ้านกร่าง จึงค่อยๆเลือนหายไป หรืออีกในหนึ่งชื่อของพระขุนแผนอาจได้มาจากการที่มีผู้บูชากราบไหว้ หรืออาราธนานำติดตัวไปไว้ป้องกันภัยต่างๆ แล้วได้ประจักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ในอำนาจพุทธคุณที่มีคุณวิเศษเหมือนขุนแผนในวรรณคดี โดยเฉพาะด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม อาจด้วยเหตุนี้ จึงเรียกชื่อว่า พระขุนแผนสืบมา พระกรุบ้านกร่าง เข้าใจว่ามีจำนวนถึง 84,000 องค์ ตามคติการสร้าง พระพิมพ์ในสมัยโบราณ เมื่อพระแตกกรุขึ้นมาก็ได้มีผู้รู้แยกอบบแยกพิมพ์ต่างๆ ตามความแตกต่างของพุทธลักษณะซึ่งมีจำนวนกว่า 30 พิมพ์ขึ้นไปบางแบบก็เรียกว่า "พระขุนแผน" ซึ่งมีพิมพ์ยอดนิยมเช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ , พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก , พิมพ์ทรงพลใหญ่ , พิมพ์ทรงพลเล็ก , พิมพ์พระประธาน ,พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย ,พิมพ์แขนอ่อน ฯลฯ บางแบบก็เรียกว่า"พระพลาย" อันหมายถึงลูกของขุนแผน ซึงมีทั้งที่พิมพ์เป็นคู่ติดกัน เรียกว่า " พระพลายคู่" และองค์เดี่ยวๆเรียกว่า " พระพลายเดี่ยว" ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ยังแบ่งแยกออกไป อีกเป็นสิบๆพิมพ์ เช่นหน้ายัก , หน้ามงคล ,หน้าฤษี , หน้าเทวดา หรือตามลักษณะ เป็นพิมพ์ชลูด ,พิมพ์ก้างปลา
พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาจากศิลปแล้วบอกให้รู้ว่าเป็นพระในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีศิลปที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ที่สำคัญที่สุดคือ ในจำนวนพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่างนี้มีอยู่พิมพ์หนึ่งนั่นคือ " พระขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่มีลักษณะและศิลปเหมือนกับ"พระขุนแผนเคลือบ" ที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดารว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแ่ห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า " พระเจดีย์ชัยมงคล" แต่ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจดีย์ใหญ่" เพราะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในอยุธยา ซึ่งตามประเพณีมาแต่โบราณว่าเมือสร้างพระเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วยเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ถือกันว่าได้กุศลแรง พระขุนแผนเคลือบคงสร้างไว้เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนั้น ความคล้ายคลึงกันของพุทธศิลป์ ของขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล กับพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี โดยเฉพาะพิมพ์ห้าเหบลี่ยมอกใหญ่นี้ เมือนำพระทั้งสองมาเปรียบเทียบกันจะเห็นความแตกต่างกันน้อยมากโดยเฉพาะเส้นสายลวดลาย การแกะของแม่พิมพ์ทำให้น่าเชื่อว่าช่างที่แกะสมัยนั้นคงเป็นคนคนเดียวกัน หรือสกุลช่างศิลปในสำนักเดียวกันอายุการสร้างอาจไม่แตกต่างกันมากนัก หรืออาจแกะในคราวเดียวกัน และพิมพ์ในคราวเดี่ยวกัน แต่ได้มีการแยกบรรจุเจดีย์ต่างกัน ดังนั้นจึงพอที่จะสัณนิฐานได้ว่า พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง คงมีอายุอยู่ในราวรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือประมาณ 430 ปีเศษ ล่วงมาแล้ว
พระกรุวัดบ้านกร่าง เป็นพระเนื้อดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้นานาชนิด ไม่ปรากฎว่ามีเนื้อประเภทอื่น ลักษณะเนื้อพระมีทั้งชนิดเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเนื้อหยาบที่มีส่วนผสมของกรวดทรายมาก มีสีทั้งแดง , สีพิกุล ,สีเขียว และสีดำ ตามความอ่อนแก่ของความร้อนในขณะเผาไฟแต่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหยาบหรือเนื้อละเอียด สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้องมีว่านดอกมะขามมีแร่ทรายเงิน แร่ทรายทอง และ "รอยว่านหลุด"อยู่ด้วยทุกองค์ รอยว่านหลุดดังกล่าว เป็นร่องเล็กๆ สัณฐานไม่แน่นอน เป็นรูปแท่งสี่หลี่ยมบ้าง สามเหลี่ยมบ้าง และเป็นร่องลึกหรือร่องตื้นก็ได้ รอยว่านหลุดนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์ของเนื้อพระกรุวัดบ้านกร่่างที่จะขาดเสียมีได้ในการพิจารณานอกจากนี้พระกรุวัดบ้านกร่างยังเป็นพระกรุผิวสะอาดเนื่องจากกรุพระมีสภาพดีไม่จมดินหรือถูกน้ำท่วมขังจึงไม่มีคาบขี้กรุเกาะติดหนาให้เห็นจะมีแต่ฝ้ากรุบางๆฉาบติดอยู่ แต่ถ้าผ่านการใช้หรือการสัมผัส ก็จะเหลือผิวฝ้ากรุตามซอกองค์พระเท่านั้น พระกรุบ้านกร่างเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ไม่ว่าจะเป็นพระขุนแผน พระพลายเดี่ยว พระพลายคู่ ล้วนแต่เป็นพระกรุที่มีอายุหลายร้อยปีและมีพุทธคุณสูงส่งทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ จึงเป็นที่นิยมเสาะหากันมานานแล้ว และในปัจจุบันยิ่งมีความนิยมมากขึ้นแต่พระลดน้อยลงไปตามกาลเวลา
|