พระร่วงนั่งคางเครา กรุบางขลัง สุโขทัย พิมพ์พุงป่อง เป็นองค์พระเนื้อชินเงินที่สมบูรณ์แบบและหายากมากอีกพิมพ์ของกรุบางขลัง ... การเปิดกรุพระเมืองบางขลัง ในอดีต พระเครื่องไทยมีจำนวนมาก โดยจะฝังอยู่ใต้ฐานเจดีย์ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ขุดได้ทั้งพระเครื่อง พระร่วงนั่ง กรุบางขลัง พระพุทธรูป เรือสำเภาทองคำ สุพรรณบัตรทองคำ ที่มีคำจารึกอีกด้วย พระเครื่องที่ขุดพบ มีด้วยกันหลากหลายพิมพ์ เกือบทั้งหมดสร้างด้วย เนื้อชินเงิน มีจำนวนน้อยมากที่สร้างด้วยเนื้อตะกั่วสนิมแดง เนื้อดินเคลือบรวมอยู่ด้วย พระที่ขุดพบ คือ พิมพ์พระนางพญา พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์พระร่วงนั่งคางเครา และพิมพ์ที่ถือว่าเป็นพิมพ์นิยมที่สุดของกรุนี้ คือ พิมพ์พระร่วงนั่งบางขลัง พุทธลักษณะ พระร่วงนั่งกรุบางขลัง เป็นพระพิมพ์นั่งปางสมาธิ พระเกศสวมพระมงกุฎ พระหัตถ์ขวาวางทับบนพระหัตถ์ซ้าย พระอุระ (อก) ยกนูนสูง ลักษณะการประทับ ทอดพระบาทซ้ายทับพระบาทขวา แบบลอยองค์ โดยไม่มีฐานรองรับองค์พระ พุทธคุณ พระร่วงนั่ง กรุบางขลังเป็นพระเครื่องที่เพียบพร้อม ดีครบถ้วนทุกด้าน โดยเน้นหนักทางด้านแคล้วคลาด ป้องกันสรรพภัยต่างๆ ได้ดียิ่ง โดยภาพรวม องค์พระแม้พุทธศิลป์จะหย่อนความงามไปบ้าง แต่ก็เป็นที่ยอมรับของชาวบางขลัง และชาวสุโขทัย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แทบทุกพิมพ์ เพราะพระที่แตกกรุออกมาทั้งหมด มีจำนวนไม่มากนัก การแสวงหาจึงค่อนข้างยากพอสมควร เมืองศรีสัชนาลัย เติบโตขึ้นมาเป็นชุมชนระดับเมืองพร้อมกับ เมืองสุโขทัย ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก กล่าวถึงกษัตริย์ที่ขึ้นครองแคว้นสุโขทัยรุ่นแรกๆ ว่า ทรงครอง เมืองเชลียง (ชะ-เลียง) มาก่อน ซึ่งเป็นชื่อเก่าของเมืองสุโขทัยในสมัยก่อนหน้านี้ ต่อมาในสมัยที่แคว้นสุโขทัยได้รับการผนวกเข้าอยู่ในราชอาณาจักร สยาม ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาเรียกเมืองศรีสัชนาลัยว่า เมืองสวรรคโลก มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโท และหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว เมืองสวรรคโลกได้ทรุดโทรมลงมาก และถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสวรรคโลก ได้ย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ใต้ตัวเมืองเดิมลงไปราว ๓ กม.ที่บ้านวังไม้ขอน ปัจจุบัน คือ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย บางขลัง...เมืองโบราณที่ถูกลืม คำว่า บางขลัง เป็นชื่อของตำบลเล็กๆ ตำบลหนึ่งในเขต อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนก็ได้ บางขลัง เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำฝากระดาน หรือลำน้ำแม่มอก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจาก ต.เวียงมอก อ.เถิน จ.ลำปาง ลำน้ำสำคัญนี้ ไหลมาหล่อเลี้ยงชาวบางขลังมาแต่ในอดีต หลักฐานที่ยืนยันว่า บางขลังเป็นเมืองโบราณร่วมพันปีมาแล้ว ปรากฏในจารึกหลักที่ ๒ หรือจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึง พ่อขุนผาเมือง และ พ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันปราบกบฏขอมสบาดโขลญลำพง และมีข้อความกล่าวถึงเมืองบางขลัง ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๔ ว่า ...พลพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด พาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันและกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย...พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดเอาพลมา ...บางขลังเวนบางขลังแก่พ่อขุนผาเมือง แล้วพ่อขุนผาเมืองเอาเม้อเมืองราด เมืองสากอได... เมืองบางขลังในอดีต จะร้างไปเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด หากแต่พิจารณาตามแหล่งที่ตั้งเมืองบางขลัง ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีสัชนาลัย กับเมืองสุโขทัย อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองสวรรคโลก หรือเมืองเก่าในอดีต เบื้องทิศตะวันตกของเมืองบางขลัง โอบล้อมด้วยเทือกเขาเล็กๆ ชาวบ้านเรียกเทือกเขาเดื่อ หรือเขาวงเดื่อ ณ ที่นั้น ยังมีซากบ่อศิลาแลง และโบราณสถานอยู่ เชื่อกันว่า บางขลังเป็นเมืองหน้าด่าน หรือเมืองนักรบของเมืองเก่าสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ต้องทำศึกกับชาวล้านนา หรือเมืองอื่นทั่วๆ ไป สาธุ.
|