พระปิดตา ศิลป์นคร ตอกดอกจัน กรุนครศรีฯ
เห็นได้ว่า ทางภาคใต้ก็เป็นภาคที่สร้างพระปิดตาไว้มากมายหลายหลวงพ่อเช่นกันและที่เป็น เก่าพระกรุนั้นก็ยังมีอีกเช่นกันครับ เช่น พระปิดตา ดอกจัน เนื้อทองแดงเถื่อน และพระปิดตาพังพะกาฬ เป็นต้น พระปิดตาพังพะกาฬและพระปิดตาดอกจันนี้เป็นพระปิดตาที่พบเจอในกรุพร้อมๆ กับพระกรุต่างๆ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และมีการพบด้วยกันหลายกรุ แต่จะพบแต่ละกรุนั้นไม่มากองค์ครับ ประมาณซัก 5-10 องค์ ไม่แน่นอน แต่มีอยู่กรุหนึ่งที่พบมากก็คือกรุวัดนาคาม ที่เป็นกรุต้นกำเนิดพระนางพญากรุวัดนาคามนั่น เองครับ ที่กรุนี้ พบพระปิดตามากกว่ากรุอื่นๆ แต่จะเป็นกี่องค์นั้นไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน
พระปิดตายุคเก่าที่พบใน กรุนั้น จะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ (พบน้อยมาก)แต่ที่เป็นเนื้อทองแดงเถื่อน (พบมากกว่า) ส่วนพระปิดตานั้นจะมีรูปดอกจันประทับลึกลงไปในเนื้อพระแบบประทับลงในหุ่น เทียนเลย ตัวดอกจันจะประทับอยู่ส่วน ใดนั้นไม่แน่นอน บางองค์ก็อยู่ด้านหลัง ด้านหน้าที่องค์พระหรือจะมีดอกจันดอกเดียว หรือหลายดอกก็ไม่แน่นอนครับ และพระปิดตาแต่ละองค์จะมีลักษณะไม่เหมือนกันซักองค์เดียว เรียกว่าปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ครับ เป็นแบบปิดตาอย่างเดียว หรือเป็นแบบปิดทวารก็มีหลากหลายแบบครับ พิจารณาจากกรุพระที่มีพระปิดตาและพระเครื่องขึ้นมานั้น พระเครื่องจะเป็นศิลปะแบบอยุธยา และพระปิดตาพิจารณาจากเนื้อหาโลหะแล้วก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า เป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ครับ ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า พระปิดตาทางภาคใต้นั้นนิยมสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วและก็ยังมี สร้างกันต่อๆ มาจนปัจจุบันนี้ ส่วนเรื่องพุทธคุณนั้นก็มักจะเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาดครับ เรื่องสนนราคาพระปิดตาดอกจัน เนื้อทองแดงเถื่อนนั้น ค่อนข้างจะสูงมากนะครับ เนื่องจากพระมามีจำนวนน้อยและหาค่อนข้างยากมากครับ
|