รูปหล่อแม่นางกวักหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เนื้อทองผสม จ.สุพรรณบุรี พิมพ์ปั้นแปะ
หากพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ยกย่อง หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ก็นับเป็นอีกรูปหนึ่ง ที่หลวงพ่อปานกล่าวยกย่องด้วยความเคารพ โดยหลวงพ่อปาน เรียกหลวงพ่ออิ่มว่า “พระเจดีย์” ซึ่งหมายถึงว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่น่าเคารพยกย่องเหมือนกับเป็นพระสถูป หรือพระเจดีย์ ที่ควรค่าแก่การสักการะบูชา
หลวงพ่ออิ่ม ท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยและญาณสมาบัติสูงหลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่มด้วยเช่นกัน
หลวงพ่ออิ่มท่านสร้างพระราวๆปีพ.ศ.2470-2480 พระเนื้อทองผสมของท่านจะเก่าสุกดูมันๆ แบบฉบับเดียวกันหลวงพ่อเงินวัดบางคลานเพราะอายุพระห่างกันไม่มากใกล้เคียงกันในความเก่าของเนื้อโลหะผสม
นางกวักหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ลักษณะนางกวักหล่อโบราณ ด้วยสำริดทองเหลือง บางองค์แก่ทองคำ แต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน สำหรับนางกวักยุคต้น จัดสร้างราวปี 2470-80 นางกวักจะเป็นการปั้นหุ่นด้วยมือ ศิลปะของแต่ละองค์จะสวย เป็นนางกวัก ทรงสไบ ผมหวี โดยมากมือที่กวักจะอยู่สูงเลยระดับปาก ซึ่งเป็นการสร้างได้ถูกต้องตามตำราโบราณ
หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี เป็นพระเกจิยุคเก่าของเมืองสุพรรณบุรี ท่านเกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2406 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.2426 สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ จากคำบอกเล่าของญาติโยม ที่เป็นคนเก่าแก่ ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่ออิ่ม ในช่วงชีวิตสมัยที่ยังอยู่วัยหนุ่มนั้น เคยเป็นเสือปล้น ก่อนที่จะมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาจวบจนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2480 สำหรับลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหลวงพ่อมุ่ย แห่งวัดดอนไร่
|