พระกริ่งนิรันตราย วัดนิเวศธรรมประวัติ จ.อยุธยา เนื้อกะไหล่ทอง ปี 2553 สภาพสวยมาก สนใจสอบถามได้ครับ
ราคา 359 บ.ส่งด่วน
"พระนิรันตราย" เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำรัชกาลองค์หนึ่งทีเดียว
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ ค้นพบเมื่อปีพ.ศ.2399 ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นานท่านกับบุตรชายชื่อนายยัง เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง
ท่านจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรฯ จึงพากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่าสองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล และโปรดให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตร คู่กับ พระกริ่งทองคำน้อย
ในปีพ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย"
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตมีพระอารามมากขึ้น ในปีพ.ศ.2411 พระ องค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระ พุทธรูปพิมพ์เดียวกันเป็นเนื้อทองเหลือง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อจะพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างทำการกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตตามพระราชประ สงค์ของพระบรมราชชนก มีดังนี้
1.วัดราชาธิวาส 2.วัดบวรนิเวศวิหาร 3.วัดเทพ ศิรินทราวาส 4. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม 5.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 6.วัดบรมนิวาส 7.วัด มกุฏกษัตริยาราม 8.วัดโสมนัสวิหาร 9.วัดบุรณศิริมาตยาราม 10.วัดราชผาติการาม 11.วัดปทุมวนาราม 12. วัดสัมพันธวงศ์ 13.วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนคร ศรีอยุธยา 14.วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา 15.วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี 16.วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี 17.วัดบุปผาราม และ 18.วัดเครือวัลย์
หลังจากนั้น พระองค์ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละองค์ในเวลาต่อมา ปัจจุบัน "พระนิรันตราย" องค์จริงอยู่ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหา ราชวัง
พระนิรันตราย นี้ เป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์สมดังพระนามของท่าน อันมีความหมายว่า "แคล้วคลาดปราศจากอันตรายมาแผ้วพาน"
พระองค์นี้เป็นพระที่ให้ประชาชนที่มากราบไหว้พระนิรันตรายได้บูชากลับไป
|