พระนาคปรกใบมะขามหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า พระชุดนี้สร้างโดยวัดอนงคารามธนบุรีในปีพ.ศ.2463 แต่เนื่องจากปลุกเสกและมีหลวงปู่ศุขเป็นเจ้าพิธีจึงเรียกกันว่า ‘ปรกหลวงปู่ศุข’ มีพระเกจิอาจารย์หลายท่านร่วมปลุกเสกอาทิสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคารามพระนาคปรกเป็นพระพุทธรูปปางประจำวันเสาร์ที่มีคติความเชื่อกันว่าพุทธานุภาพพุทธคุณสูงส่งในอดีตโบราณาจารย์จะนิยมสร้างพระนาคปรกเป็นพระพุทธรูปบูชาขนาดใหญ่ด้วยเนื้อศิลาเนื้อโลหะประกอบกับบางอารามมีพระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดจวบจนในสมัยรัตนโกสินทร์พระนาคปรกได้รับความนิยมจากพระเถราจารย์โดยสร้างเป็นพระเครื่องขนาดเล็กมีรูปแบบและขนาดเล็กเท่าใบมะขาม
หลวงปู่ศุขเกิดในปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีวอก พ.ศ.๒๓๙๐ ท่านเป็นชาวอำเภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาทโดยกำเนิดเมื่ออายุประมาณ ๑๐ ขวบ (พ.ศ.๒๔๐๐) ไปอาศัยอยู่กับลุงที่จังหวัดนนทบุรีจนโตมีครอบครัวและมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนพอถึง พ.ศ.๒๔๑๕ อายุ ๒๕ ปี จึงอุปสมบทที่วัดโพธิ์ทองล่าง อำเภอบางเขนจังหวัดนนทบุรีโดยมีพระครูเชยจันทสิริ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่างเป็นพระอุปัชฌาย์
หลังจากอุปสมบทแล้วหลวงปู่ศุขได้ออกธุดงค์เป็นเวลานานนับสิบๆ ปีได้ร่ำเรียนวิชาวิทยาคมจากอาจารย์ เป็นจำนวนมากพระภิกษุรุ่นเก่าที่สนิทชิดชอบกับหลวงปู่ศุขก็มี หลวงพ่อเงินวัดบางคลานหลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัวสมเด็จพระพุฒจารย์ (นวม) อดีตเจ้าอาวาสวัดอนงคารามกรุงเทพฯ
ในปลายรัชกาลที่ ๕ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ขลังเป็นที่ยอมรับทั่วไปท่านมีส่วนในการพัฒนาวัดในบริเวณ ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงเช่นจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรในกรุงเทพฯได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสก วัตถุมงคลที่วัดสุทัศนเทพวรารามวัดอนงคารามและที่วังของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (วังนางเลิ้ง) วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูวิมลคุณากร”
หลวงปู่ศุขมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖ (ปัจจุบันถือว่าเป็น พ.ศ.๒๔๖๗) อายุ ๗๖ ปีพรรษา ๕๑
|