พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

สีผึ้งปรกพล หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง


สีผึ้งปรกพล หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง


สีผึ้งปรกพล หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง


สีผึ้งปรกพล หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง

ใหม่ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 สีผึ้งปรกพล หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง
รายละเอียด :
 

สีผึ้งปรกพลหลวงปู่โป๊ะวัดบ้านบิง

ผึ้งปรกพลนี้เป็นสีผึ้งตําราเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณ มีประวัติอยู่คู่เมืองขุขันธ์มาแต่อดีต ตามประวัติกล่าวเอาไว้ว่าท่านพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 9 เมื่อครั้งไปปราบเชียงยงค์ (เสือยงค์) เมื่อ 100 ก่วาปีก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เกิดทันได้เล่าให้ฟังว่าเสือยงค์นั้นเป็นผู้มีวิชาอาคมสูง ตัวเจ้าเมืองศรีสะเกษปราบไม่ได้ เจ้าเมืองสุรินทร์ก็ปราบไม่ได้ ท่านพระยาขุขันธ์ต้องไปปราบเอง ก่อนออกเดินทางท่านได้ผูกเครื่องรางสำคัญที่คอช้างคือสีผึ้งปรกพล ทั้งสองฝ่ายขี่ช้างยิงกันกระสุนจากปืนคาบศิลาของเสือยงค์ยิงมาเท่าไหร่ก็ไม่ถูก ไม่โดนแม้กระทั่งช้างเชือกใหญ่ที่พระยาขุขันธ์นั่ง สุดท้ายเสือยงค์ถูกพระยาขุขันธ์ยิงตายด้วยปืนคาบศิลาในการต่อสู้กันในครั้งนั้น เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติท่าน วัดกลางขุขันธ์ได้ปั้นรูปพระยาขุขันธ์นั่งบนคอช้างผูกเครื่องรางสีผึ้งปรกพลเอาไว้ที่คอช้างตั้งอยู่ที่หน้าพระอุโบสถจนถึงปัจจุบัน ที่อําเภอขุขันธ์ได้มีการสืบทอดวิชานี้ต่อกันมาหลายรุ่น เท่าที่ปรากฏชัดเจนคือ พระหลักคำอุด วัดสะอาง (เจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์) และ หลวงปู่เสา วัดกุดเวียน จนหลวงปู่สาย วัดตะเคียนราม และหลวงปู่โป๊ะเขมิโย ท่านได้สืบทอดวิชานี้ต่อมาและได้ส่งต่อมายัง หลวงพ่อทองดี วัดกระต่ายดอน อ.ปรางค์กู่ และคุณนพคุณ ศรีสุภาพ อ.ขุขันธ์ มาจนถึงปัจจุบัน สีผึ้งปรกพลนี้เป็นวิชาชั้นสูงที่ครูบาอาจารย์ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครโดยง่ายถ้าไม่ใช่สายโลหิตหรือศิษย์สืบสายพุทธาคม ด้วยสีผึ้งปรกพลนี้มีอิทธิฤทธิ์คุ้มกันไพร่พลและบริวารได้ถึง 120 คน ที่อยู่ในอาณาบริเวณจึงเป็นสีผึ้งที่แม่ทัพนายกองและเจ้าเมืองในอดีตมักอัญเชิญคุ้มครองตนเองและบริวารเสมอ แม้นในยามศึกสงครามก็จะอัญเชิญสีผึ้งชนิดนี้เป็นเครื่องมงคลหลักประจำกองทัพและอัญเชิญอีกหนึ่งตลับไว้ติดเรือนชาน เกิดข้าศึกแบ่งกองทัพมาหลายสายก็มิอาจเห็นบ้านเรือนและลูกเมียตลอดจนทั้งบริวารของเหล่าทหารกล้าได้

ทั้งนี้ตำราสีผึ้งปรกพลนั้นเป็นของชาวขอมโบราณที่มีประวัติอันยิ่งใหญ่สืบต่อมาเป็นพันปีแล้ว เดิมทีจังหวัดศรีสะเกษนั้นเป็นเมืองโบราณตั้งแต่สมัยขอม แต่ต่อมาขอมได้เสื่อมอำนาจลงในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวาประมาณปีพ.ศ. 2256 และได้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวนในปี พ.ศ. 2306 สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้โปรดเกล้าฯ ยกบ้านโคกลำดวนหรือบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนขึ้นเป็นเมือง และโปรดเกล้าฯให้ตากะจะ หรือหลวงแก้วสุวรรณ หรือพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน อันเป็นต้นตระกูลเจ้าเมืองคนที่ 1 ต่อมาเมืองนี้ได้ชื่อว่า “เมืองขุขันธ์” พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เดิมชื่อว่าตากะจะ หรือตาไกรเป็นหัวหน้าชาวเขมรป่าดงบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน พ.ศ.2302 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกมงคลแตกโรงหนีเข้าป่าไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงรัก ตากะจะหรือตาไกร และเชียงขัน พร้อมด้วยหัวหน้าชาวเขมรป่าดง รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะหรือตาไกร เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งหัวหน้านายกองปกครองหมู่บ้าน และท่านได้สร้างความดีความชอบมาโดยตลอดและมีครั้งหนึ่งท่านได้จัดส่งเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าเอกทัศน์ที่กรุงศรีอยุธยาจนเป็นที่พอพระทัยเป็นอย่างมาก ได้รับความดีความชอบจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนในที่สุด ของบรรณาการที่ทางตากะจะจัดส่งไปถวายนั้นมีสีผึ้งปรกพลเป็นของมงคลสำคัญรวมอยู่ในเครื่องบรรณาการนั้นด้วยเช่นกัน

คาถาบูชาหลวงปู่โป๊ะวัดบ้านบิง

(ตั้งนะโม ๓ จบ) โอม ปิยะเขมิโย เมตตาคุณณัง อะระหังเมตตา นะชาลีติ พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ

คาถาบูชาสีผึ้งหลวงปู่โป๊ะวัดบ้านบิง

โอม สะแหนะ มหา สะแหนะ เจิ่งหลาย สะแหนะจันทร์ สะแหนะมนต์ สะแหนะเมี๊ยะ

สะแหนะเมิ๊งเทิงประเจี๊ยะ สะแหนะเมี๊ยะ เปี๊ยก เอน เอน เปี๊ยก โกม สะเหนะยมบ่อฮาว

โอม สะแหนะเจ้า สะแหนะเหย มัวจุ่มอันเจย สะแหนะตู๊ยยย

อันตุมเปงกะมอมบานเจย สะแหนะโธม โอยมัวรัวอายเจี๊ยะ ครูบาเจื้อย เอหิ มาบีมา ออมสะหอมสิทธิ์ (๗ จบ)

(ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่เล็ก ลูก้า ครับ)

สนใจสอบถามได้ครับ

 

 

ราคา :
 6,000
โทรศัพท์ :
 0835709548, 0835709548
วันที่ :
 11/12/24 04:45:46
 
 
สีผึ้งปรกพล หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.