#เหรียญหนุนดวงพิธีอินทขิล หลังเรียบ (บรรจุในบาตรน้ำมนต์พิธี)ร่วมพิธีปลุกเสกพระกริ่งอินทขิล วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเชียงใหม่ ปี 2555 เมตตาอธิษฐานจิตโดยพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐาน พบเจอได้น้อยมาก มาก แทบไม่ปรากฏให้เห็น ขนาดประมาณ 5 ซม. สภาพสวย สนใจสอบถามได้ครับ
#ราคา Xxxx บ.ส่งด่วน
รับเมตตาจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิ
1.หลวงปู่ทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง
2.หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ้อน
3.หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก
4.หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่
5.หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ
6.หลวงพ่อบัวเกตุ ปทุมสิโร วัดปางกื๊ด
7.เจ้าประสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์
8.หลวงปู่ครูบาตั๋น วัดย่าพาย
9.หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย
10.หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย
11.หลวงปู่ครูบาออ วัดพระธาตุจอมแวะ
12.หลวงปู่บัว ถามโก วัดศรีบูรพาราม
13.หลวงปู่กวง โกสโล วัดป่านาบุญ
14.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
15.หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง ฯลฯ
เหรียญอินทรขิล แช่อยู่ในบาตรน้ำมนต์ พิธีพระกริ่งอินทขิล หล่อโบราณนำฤกษ์ ด้วยมวลสารมากมาย
1.แผ่นเนื้อทองจังโก(ทองคำเปลวที่ปิด)หุ้มพระธาตุเจดีย์หลวงพระธาตุดอยสุเทพ
2.ชนวนพระกริ่งปวเรศจากพระสมเด็จวันรัตวัดบวรนิเวศวิหาร
3.ชนวนกริ่งพุธโธคลังจากพระสมเด็จพระมหาวีรวงค์วัดสัมพันธวงศ์
4.ช่อพระกริ่ง7รอบหลวงปู่ทิมวัดพระขาวปี2539
5.แผ่นยันต์108กับนะปถมัง14ต้นตำรับจากวัดสุทัศนเทพวราราม
6.ชนวนพระกริ่งไจยะเบงจรครูบาอินวัดฟ้าหลั่ง
7.แผ่นจารมงคลจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายองค์
8.แผ่นทองจังโก+ตะปูสังฆวานร. พระธาตุเจดีย์หลวงวัดเจดีย์หลวง
9. เงิน,ทอง,นาค,สหลุ่ง(ขัน)เงินเก่า,เครื่องประดับฯลฯ
พระกริ่งอินทขีล หลักเมืองมหามงคลเชียงใหม่ พระกริ่งจักรพรรดิทรงเครื่องล้านนารุ่นแรก ปี 2555 อัตลักษณ์แห่งแดนล้านนา โดยวัดเจดีย์หลวงวรวิหารเชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย ซึ่งครองราชอาณาจักรลานนาไทย เป็นรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงสร้างพระวัดเจดีย์หลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1955 ด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ตั้งของ
เสาอินทขีล หรือเสาหลักเมือง ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหารจัตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อสอปูนติดกระจกสี รอบเสาวัดได้ 5.67 เมตร มีพระพุทธรูปทองสำริด ปางรำพึงที่พลตรีเจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ.2514 ประดิษฐานอยู่ในบุษบก เหนือเสาอินทขีล ให้ได้สักการะคู่กัน
พระเจ้ามังรายปฐมกษัตริย์ทรงสร้าง 'เสาอินทขีล' เมื่อครั้งสถาปนาเชียงใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1839 แรกสร้างอยู่ที่วัดสะดือเมือง (หรือวัดอินทขีล) ซึ่งเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราชข้างศาลากลางหลังเก่า ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ได้ย้ายเสาอินทขีลมาไว้ในวัดเจดีย์หลวงและได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2343
'เสาอินทขีล' เป็นเสาหลักเมือง คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษ
'พระครูปลัดกิตติคุณวัฒน์' เลขานุการและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร กล่าวว่า ทางวัดได้จัดสร้างพระกริ่งอินทขีล หลักเมืองมหามงคลเชียงใหม่ พระกริ่งจักรพรรดิทรงเครื่องล้านนารุ่นแรกอัตลักษณ์แห่งแดนล้านนา วัตถุประสงค์เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา, สมทบทุนบูรณะวิหารอินทขีล วัดเจดีย์หลวง
เป็นสิ่งมงคลสักการะที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ในความรู้สึกนึกคิดจิตใจแห่งศรัทธา อันจะพึงตั้งเป็นประธานอยู่ในฐานะแห่งศูนย์กลางของที่สุดแห่งพระกริ่งเมืองเชียงใหม่ หรือตลอดจนเมืองเหนือทั้งปวง ด้วยเป็นพระกริ่งที่สร้าง ณ วัดอันเป็นใจกลางเมืองที่เปรียบประดุจดั่ง 'เพชรยอดมงกุฎ' แห่งล้านนาประเทศทั้งสิ้นไม่ผิดแล้ว
พิธีเททองหล่อนำฤกษ์ 'พระกริ่งอินทขีล' หลักเมืองมหามงคลเชียงใหม่ จัดไปเมื่อวันที่ 13 เม.ย.2555 มณฑลพิธีลานหน้าวิหารเสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ เวลา 09.00 น. พิธีบวงสรวง เวลา 09.29 น. จุดเทียนบูชาเสาอินทขิล
|