รูปหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ หลวงปู่สอ พันธุโล รุ่นสร้างบารมี วัดป่าหนองแสง จ.ยโสธร เนื้อโลหะรมดำ รุ่น 2 ปี 2541 สภาพผิวสวย สนใจสอบถามได้ครับ
ราคา 459 บ. ส่งด่วน
พระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)
“พระพุทธสิริสัตตราช” สัตต-เจ็ด,ราชกษัตริย์ หรือพระพุทธรูปหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ผู้ทรงเป็น “ศิริ” แห่งแผ่นดิน เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกคล้ายศิลปะสมัยเชียงแสน หรือทางเวียงจันทน์ อายุตามสันนิษฐานของกรมศิลปากร ประมาณ ๘๐๐ กว่าปี มีลักษณะคือ มีพญางูใหญ่ ๗ ตัว ๗ หัว แผ่ปกคลุมองค์พระอยู่ หลวงปูท่านเล่าประวัติความเป็นมาว่า เมื่อท่านปฏิบัติธรรมได้ ๒ พรรษา ขณะท่านนั่งสมาธิอยู่ เห็นงูตัวใหญ่สีทอง เลื้อยเข้ามา ตาท่านไม่ได้ลืม แต่จิตภายใน มองเห็นงูถนัด งูเลื้อยขึ้นมาพันตัว แล้วดันตัวท่านขึ้นขดลำตัวเป็นวงกลมให้ท่านนั่ง ซึ่งนิมิตนี้ เองเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ "หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์"
หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์หลวงปู่สอ พันธุโล รุ่นสร้างบารมี วัดป่าหนองแสง จ.ยโสธร ถือเป็นหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์รุ่นสาม สร้างประมาณปี 2543
หลวงปู่สอ พัลธุโล ท่านเป็นศิษย์สายกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต,หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร,หลวงปู่ดุลย์ อตุโล,หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร ฯลฯ
หลวงปู่สอ ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญมากๆ ท่านปฏิบัติจริงชนิดยอมตายได้ถ้าไม่บรรลุธรรม และสิ่งที่เป็นบุญวาสนาที่หลวงปู่สอมีไว้ ได้แก่ "องค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ " ที่เป็นพระที่ได้จากสมาธิและเป็นพระที่เป็นคุณอันวิเศษอย่างยิ่งและเป็นที่พึ่งของคนไทยทั้งประเทศ (โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้หล่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ขนาด 99 " ไว้ในทุกๆเขื่อนของประเทศ)
ในส่วนภูมิธรรมของหลวงปู่สอ ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณท่านได้กล่าวไว้ว่า " ท่านหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านเป็นพระที่บริสุทธิแล้วและท่านไม่เกิดอีกแล้ว " และที่พิเศษก็คือ เกศา และเล็บของหลวงปู่สอ ท่านแปรเป็นพระธาตุแม้ชีวิตท่านยังไม่สิ้นเลยก็ตาม
คำอธิษฐานบูชาพระพุทธสิริสัตตราช(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)
ตั้ง (นะโม 3 จบ )
ยัมปะเนตัง พุทธะสิริสัตตะราชาติ สะวะหะเยนะ ปัญญาตัง,
ตะเมวะ อารัทธะวิริเยนะ พันธุลัตเถเรนะ อาภุชังคะนิมิตเตนะ ลัทธัง,
มะยัมปะนะ อัตตะโน อัตตะโน วิภูติง อาสิงสะมานา สักกัจจัง อิมะเมวะ
พุทธะสิริสัตตะราชะ ปะฎิมัง อะภิปูเชมะ , อิมัสสานุภาเวนะ มหานิสังโส ,
มหาโภโค , มหาลาโภ นิรันตะระเมวะ อัมหากัง โหตุ
|