ตะกรุดปิยะมิตร หรือ ตะกรุดกัลยาณมิตร สร้างไม่เกิน 20 ชิ้น ในโลกนี้ครับผม
ปิยะ แปลว่า เป็นที่รักที่พอใจ มิตร แปลว่า เพื่อนที่รักใคร่ผู้ที่มีไมตรีต่อกัน
กัลยาณมิตร แปลว่า เพื่อนแท้ที่คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจ มีสิ่งที่ดีมอบให้เสมอ
มีวัตถุมงคลอีกหนึ่งอย่างที่ครูบาขันแก้วท่านได้สร้างและสืบทอดตำรามา และสร้างให้ลูกศิษย์ใช้บูชาพกติดตัวกัน ซึ่งสร้างมาจำนวนน้อยมากและแทบไม่มีใครรู้เลยว่าท่านก็สร้างตะกรุดชนิดนี้ด้วย
เป็นตะกรุดที่ เป็นลักษณะเป็นแผ่นทองแดงม้วนเข้าหากันทั้ง2ด้าน บางคนก็เรียกว่า ตะกรุดแฝด แต่ บากคนเรียกว่า ตะกรุดสาลิกา ก็ว่ากันไป ครูบาขันแก้ว ท่านได้สร้างไว้ เก็บรักษาโดยคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก ท่านก็ได้แจกตะกรุดชนิดนี้กับเหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกในยุคนั้นบางส่วน และ ก็เป็นที่หวงแหนกันมากของเหล่าบรรดาศิษย์ผู้ที่ได้กับมือท่านในยุคนั้นจริงๆ
ในการสร้าง ตะกรุดปิยะมิตร หรือ ตะกรุดกัลยาณมิตร ของ ครูบาขันแก้ว อุตตฺโม วัดสันพระเจ้าแดง ท่านได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2524 - 2526 แต่จำนวนการสร้างนั้นน้อยมาก แทบจะนับคนที่มาขอท่านได้ ส่วนมากผู้ที่นำตะกรุดของครูบาขันแก้วที่ชื่อว่า ปิยะมิตร ไปบูชาส่วนใหญ่จะเป็น คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก และ ศิษย์ชุมชล ตลาดน้อย โดยการนำของอาจารย์หมอสมสุขจากการสอบถาม อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร เหล่าบรรดาลูกศิษย์ที่ทันรับใช้ครูบาขันแก้วท่านว่า มีคนทางภาคเหนือหรือคนในพื้นที่เช่นลูกหลานวัดสันพระเจ้าแดงเคยมาขอตะกรุดชนิดนี้ของครูบาขันแก้วท่านไหม ได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นมีใคร มาขอตะกรุดจากครูบาขันแก้วเลยสักคน แม้ กระทั่งลูกหลานครูบาขันแก้วเองยังไม่เคยมีใครมาขอ ส่วนมากเหล่าบรรดาลูกหลานสันพระเจ้าแดงจะกลัว และ เกรงครูบาขันแก้วมาก คนที่มาหาครูบาขันแก้วในยุคนั้นจะเป็นคนแถวภาคกลางเสียส่วนใหญ่ ( เพราะเขาได้อ่านหนังสือลานโพธิที่เขียนเรื่องชีวประวัติของครูบาขันแก้วลงในหนังสือนี้ พวกชาวบ้านก็เลยไม่กล้าไปรบกวนท่าน อีกอย่าหนึ่งคือ ชาวบ้านยุคนั้นกลัวคนกรุงเทพ ( เป็นเรื่องจริง ของคนสมัยก่อน ) เลยไม่กล้าที่จะไปขอวัตถุมงคลครูบาขันแก้วกัน ) ส่วนพวกตะกรุดต่างๆที่ชาวบ้านสันพระเจ้าแดง หรือ แถวๆห้วยยาบนั้น ชาวบ้านเขาจะไปขอ ครูบา อินตา วัดห้วยไซร ทำให้หมด ส่วนการสร้างตะกรุดของครูบาขันแก้ว แต่ละรุ่นจะมีขนาดเท่ากันเพราะอาจารย์หมอสมสุข ได้เป็นคนตัดทองแดงถวายท่านเอง
กล่าวถึงขั้นตอนการม้วน ของครูบาขันแก้วให้เป็น ตะกรุดปิยมิตร หรือ กัลยาณมิตร ที่สมบูรณ์นั้นท่านต้องกำหนดอารมณ์แห่งความเมตตาทั้งหลายพร้อมทั้งบริกรรมพระคาถาปลุกเสกไปด้วยเพื่อให้เกิดผลทางด้านเมตตาอย่างสูงสุด
และในพระพุทธคุณตะกรุดปิยะมิตร ที่ครูบาขันแก้วท่านได้กล่าวไว้ ว่า ยันต์ปิยะมิตร หรือ กัลยาณมิตร นี้ ผู้ใดที่ครอบครองบูชาอยู่ประจำจะก่อให้เกิดทางเมตตามหานิยมอย่างสูงสุด จะพบและเจอมิตร หรือเพื่อนที่ดี ชักจูงแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคลเข้ามาในชีวิตเสมอ จะไม่อับจนหนทางเพราะในยามใดที่เราทุกข์ใจก็จะมีเพื่อนที่ดีคอยชี้แนะให้ ถือว่าเป็น 1 ใน 38 มงคลชีวิต ที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญไว้ จะเป็นไปด้วยโชคลาภต่างๆที่จะเกิดขึ้นด้วยว่ามีเพื่อนที่ดีแนะนำให้พบเจอเกิดโชคลาภเสมอ จะทำการค้าขายอันใดก็ให้เกิดกำไร เพราะผลแห่งตะกรุดจะนำพาและชักจูงให้คนมาซื้อของด้วยที่เขาเห็นเราแล้วเมตตาเอ็นดูสงสารเรานั่นเอง เมื่อเขาซื้อของเราเขาก็จะมาผูกมิตรกับเราจนเป็นลูกค้าประจำที่จะตกลงซื้อขายของกันง่ายขึ้นนั่นเอง ถือเป็นตะกรุดเพียงไม่กี่อย่างที่ครูบาขันแก้วท่านเสกเน้นทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะ แต่ในส่วนของตะกรุดอื่นๆที่ท่านได้ทำการสร้างและปลุกเสกไปแล้วนั้นท่านก็จะปลุกเสกตามตำรา และจะเน้นสุดแต่อธิฐานเพราะท่านจะลงแบบครบเครื่อง แต่ตะกรุดนี้เท่านั้นครับที่ท่านบอกเพียงว่า เน้นทางมหานิยมโชคลาภค้าขาย พบเจอเพื่อนที่ดีเป็นต้น
#ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดนี้จาก ร้านอักษรธรรม ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
|