หลวงปู่ทวด วัดยะหา พิมพ์เล็ก ปิดทอง ปี 2503 รุ่นนี้ ได้จัดสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500-2503 โดยสร้างเป็นพระเครื่องเนื้อดินกากยายักษ์ ผสมว่าน 108 และมวลสารปี97 มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่รูปมน และพิมพ์เล็กรูปสามเหลี่ยมรี โดยท่านให้ชื่อพระครั้งนี้ว่าหลวงปู่ทวด ทุกองค์จะปิดทองเหลืองอร่าม จากการบอกเล่าของ นายน้อย ไชยลำยา ผู้ใหญ่บ้าน ต.ลำพะยา อ.เมือง จ. ยะลา ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อเซี่ยง และเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการจัดสร้างพระครั้งนี้ ได้เล่าว่า ผู้แกะเบ้าพระครั้งนี้ชื่อ นายชุ่ม ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวตำบลลำพะยา การสร้างพระเครื่องรุ่นนี้ ได้นำว่านที่เหลือส่วนหนึ่งจากการสร้างหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ซึ่งอาจารย์ทิมได้ทำการปลุกเสกไว้เป็นอย่างดีแล้ว มาจัดสร้าง รวมทั้งหาว่านชนิดต่างๆ น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากวัดต่างๆ ดอกไม้บูชาพระนานาชนิด จากวัดหลายๆวัดเกือบทั่วประเทศ และมีวัดสำคัญๆ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดเบญจมบพิตร วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นต้น มาเป็นส่วนผสมในการจัดทำ แล้วหลวงพ่อเซี่ยงก็จะเป็นผู้เริ่มกดพิมพ์พระชุดนี้ด้วยตัวท่านเอง ก่อนที่จะกดพิมพ์ท่านก็จะขึ้นไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานบนมณฑปหอระฆัง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูงภายในวัด ซึ่งในสมัยนั้นรอบๆ วัดยังเป็นป่ารกทึบและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายนานาชนิด หลังจากนั้นลูกศิษย์ลูกหาก็ช่วยกันกดพิมพ์พระชุดนี้ จนได้พระในปริมาณมากพอสมควร แต่ก็ไม่อาจจะทราบยอดการจัดสร้างที่แน่นอนได้ เพราะไม่มีการบันทึกไว้ การจัดทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรกนี้ จัดทำขึ้นที่พระอุโบสถในวัดยะหาประชารามนั้นเอง โดยมีการพุทธาภิเษกถึง 4 วัน 4 คืน นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาร่วมนั่งปรกปลุกเสกจำนวนมากหลายองค์ด้วยกัน เช่น 1. พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ. ปัตตานี 2. พระราชพุทธิรังสี (หลวงพ่อดำ วัดตุยง) วัดมุจลินทรวาปีวิหาร จ. ปัตตานี 3. พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จ. ปัตตานี ผู้สร้างตะกรุดโทนและหลวงพ่อทวด วัดทรายขาว 4. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ. พัทลุง 5. พระครูไพโรจน์ธรรมรัตน์( ฉิ้น ) เจ้าอาวาสวัดเมืองยะลา ผู้สร้างหลวงพ่อทวด วัดเมืองที่เลื่องลือและคณาจารย์อื่นๆ อีกจำนวนหลายองค์ พระหลวงปู่ทวดรุ่นนี้นับได้ว่าเป็นพระหลวงปู่ทวด อีกรุ่นหนึ่งที่คนนิยมกันมากและก็กว้างขวางประสบการณ์ไม่แพ้รุ่นดังๆ เนื่องจากพระหลวงปู่ทวดรุ่นนี้ได้นำว่านซึ่งบดแล้วจากวัดช้างให้และพระอาจารย์ทิมได้กรุณาปลุกเสกให้แล้ว มาผสมเป็นจำนวนมาก และก็ยังสร้างสมัยอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ถือได้ว่าเป็นยุคแรกๆ เสียด้วย องค์นี้สภาพสวยไม่ผ่านการใช้เลี่ยมกันน้ำอย่างดีพร้อมใช้สนใจพูดคุยสอบถามได้ครับ
|