ตะกรุดโทนมหาระงับ หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง จ.นนทบุรี
“ตะกรุดแห่งการระงับเหตุเภทภัย เบอร์หนึ่งสายเหนียวเมืองนนท์ ประสบการณ์ท่านมีมากที่สุดในยุคหลังกึ่งพุทธกาล” อีกหนึ่งตำนานตะกรุดแห่งเมืองนนท์!!!
ยุคต้น เนื้อทองแดงยาว ถักหุ้มด้วยเชือกลงรัก คนในพื้นที่หวง และหากันแทบพลิกโลกครับ
#ตะกรุดโทนมหาระงับตามตำราว่าระงับเหตุเภทภัยทุกเรื่อง สำคัญคือนำตะกรุดแช่น้ำแล้วดื่มมิพบพานความยากจนเลยครับ /// ตะกรุดโทนมหาระงับต้องใช้แผ่นทองแดงหนาจารอักขระลงแผ่น ประกอบด้วยพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ และอักขระวิเศษมากมาย ถ้าแผ่นเล็กจะลงไม่พอ ยันต์ที่ลงนั้นจำต้องลงกำกับทั้งด้านหน้าและด้านหลังเต็มแน่นหมด โดยหลวงพ่อกำหนดฤกษ์ยามมงคลในการลงทุกขั้นตอน ครั้นม้วนแล้วเสร็จก็ถักด้วยด้ายสายสิญจน์ที่ผ่านการปลุกเสกมาแล้วอย่างดี คลุกด้วยน้ำรักแท้ดำสนิท จากนั้นก็พอกผงวิเศษมหาระงับลงไปบนด้ายอีกที โดยผงมหาระงับนั้นประกอบด้วย ผงพุทธคุณ ๒ ชนิด คือ ผงปถมัง และ ผงมหาราช
#ตะกรุดมหาระงับใช้ในทางรับเสียโดยมาก คือนำออกใช้เมื่อมีเรื่องราวมีปัญหาเข้ามาถึงตัว เช่น จำต้องขึ้นโรงขึ้นศาลมีคดีความต่าง ๆ หรือเมื่อต้องเคราะห์เข็ญเวรร้ายรู้สึกว่าดวงไม่ดีโชคชะตาราศีเศร้าหมองไม่
ผ่องใส เป็นต้น ก็ให้อัญเชิญออกมาใส่ในขันสัมฤทธิ์เพื่อเป็นเคล็ดว่าเรื่องที่เราตั้งความ
ปรารถนานั้นจะต้อง "สัมฤทธิ์ผล" ในขันให้ใส่ฝักส้มป่อยซึ่งคนเหนือถือเป็นไม้มงคลที่ชะล้างโรคภัยไข้เจ็บและ
เคราะห์หามยามร้ายได้ ถ้ามีใบทอง ใบนาค ใบเงิน ใส่ลงไปด้วยก็จะยิ่งดี สวดบริกรรมตามตำราแล้วดื่มกิน ล้างหน้า สระหัว อาบรดตัว เพียงเท่านี้เรื่องร้ายก็จะกลายเป็นดี เคราะห์หนักก็จักเบาบาง เคราะห์ดีก็ดีทวีขึ้นพลันทันใด
#วัตถุมงคลของหลวงปู่นั้นที่ปรากฎมหัศจรรย์มากคือ "ตะกรุด" ที่หลวงปู่ให้เด็กแขวนแล้วเด็กตกน้ำไม่จม ตะกรุดโทนแขวนแล้วยิงไม่เข้าเสื้อพรุนหมด แต่เนื้อตัวไม่เป็นอะไร ตะกรุดจักพรรดิ์ มีพระวัดจักรวรรดิ์มาบูชาไปฝากศิษย์ที่มาเลเซีย เมื่อศิษย์เอาไปแขวนแล้วโดนทำร้าย ด้วยมีดปาดยางพารา เสื้อขาดหมดแต่ไม่เข้าเนื้อ ทำให้เค้าศรัทธาหลวงปู่มาก
เรื่องปาฏิหาริย์เกี่ยวกับตะกรุดของหลวงปู่เหรียญนั้น ทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ต่างเล่าขานกันมากมาย ว่า "เหนียวสุดๆ"
เวลามีงานปลุกเสกตามวัดจะมีฎีกามานิมนต์หลวงปู่บ่อยๆ พระคณาจารย์ที่หลวงปู่ร่วมปลุกเสกประจำคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง หลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
|