ตำนานล้านนาได้เล่าถึง
” สามีภรรยาคู่หนึ่ง ทำอาชีพค้าขาย
มีฐานะยากจน ในค่ำคืนวันเพ็ญคืนหนึ่ง
ทั้งสองก็ได้ตื่นแต่เช้ามืดเพื่อออกไปทำมาหากินตามปกติ
แต่สิ่งที่ผิดปกติไปจากทุกวัน
.
นั่นคือ คนทั้งคู่ได้พบ..สามเณรน้อยองค์หนึ่งเดินมา
ใจก็คิดว่า เหตุใดยามนี้จึงมีสามเณรออกบิณฑบาต
แต่ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นผู้ทีมีใจศรัทธาในศาสนา
จึงไม่ได้ปล่อยให้ความสงสัยมาเคลือบแคลงใจมากไปกว่านั้น
ก็ได้นำข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้ แม้มีเพียงเล็กน้อย
แต่ก็นำไปใส่บาตรให้สามเณรน้อยองค์นั้นจนหมด
.
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
ชีวิตของทั้งคู่ก็เปลี่ยนไปตลอดกาล
การค้ารุ่งเรือง ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
จากคนยากจนเข็ญใจกลับร่ำรวยอย่างน่าอัศจรรย์"
เชื่อกันว่า “ สามเณรน้อยองค์นั้น
ก็คือ พระอุปคุต ที่ได้เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ
แล้วแปลงกายมาเพื่อโปรดสรรพสัตว์นั่นเอง"
เป็นที่มาของประเพณีการ ใส่บาตรพระอุปคุต วันเป็งปุ๊ด
(วันเพ็ญขึ้น15ค่ำที่ตรงกับวันพุธ) ของล้านนา
และ ก็เป็นที่มาของความศรัทธา ที่ว่า
หากอยากร่ำรวย รุ่งเรือง เจริญก้าวหน้า
รอดพ้นโพยภัย ให้บูชา ” พระอุปคุต “
พระอุปคุตไม้แกะลงสี ทาทองบรอนซ์ ช่วงยุค2500
หน้าตักเข่าถึงเข่า 9 cm ความสูง 15 cm
|