พระสามกรุเวียงท่ากานกาน พระชำรุดหักครึ่งด้านบนแล้วซ่อมไว้ด้วยเนื้อเดิม องค์นี้เนื้อพระเป็นแบบพระสกุลลำพูนน่าจะขึ้นที่กรุวัดดอนแก้ว ที่พบพระเปิมลำพูนที่โด่งดัง
เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีขนาดเขื่องพอควร แตกกรุจากเจดีย์โบราณในวัดท่ากาน ซึ่งอยู่ในบริเวณเวียงท่ากาน ตำบลท่ากลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
••เวียงท่ากานนี้•• ทางกรมศิลปากรได้มาบูรณะขุดแต่งและสันนิษฐานว่า สร้างในสมัยหริภุญชัย ในราวศตวรรษที่ 13 เวียงหรือโบราณสถานนี้อยู่ค่อนมาทางจังหวัดลำพูน โดยมีแม่น้ำปิงขวางกั้น พระพิมพ์นี้ถูกเรียกว่า พระสาม เพราะมีพุทธลักษณ์ประทับนั่งบนฐานบัลลังก์ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวกซ้าย-ขวา และเพราะแตกกรุที่วัดท่านกาน จึงเรียกว่าพระสาม กรุท่ากาน ซึ่งพระสามท่ากานนี้ มีความแตกต่างในด้านพุทธศิลป์กับพระสกุลลำพูน-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก ในด้านพุทธศิลป์มองเห็นอย่างเด่นชัดว่าเป็นแบบลพบุรี คือประทับนั่งแบบราบบนฐานบัลลังก์ พระพักตร์กว้างใหญ่ในแบบศิลปะลพบุรี คือ หน้าผากใหญ่ คางเสี้ยม พระโอษฐ์แบะ ปรากฏเครื่องประดับที่พระเศียร พระศอ และพระกร เบื้องซ้ายและขวา ปรากฏพระอัครสาวกด้านละหนึ่งองค์ เป็นพระเนื้อดินเผาที่ค่อนข้างแกร่ง และมีขนาดเขื่องมาก จัดเป็นพระสกุลลำพูนที่มีศิลปะที่งดงามแปลกและแต่งต่างกว่าพระสามที่พบในภาคเหนือด้วยกัน
|