พระปรกโพธ์เชียงแสนเนื้อดิน กรุวัดส้มสุก ต.เเม่นาวาง อ.เเม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นพระกรุยอดนิยมอีกกรุหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดร้างแห่งหนึ่งชายฝั่งแม่น้ำฝาง มีชื่อว่าวัดส้มสุก หรือวัดพระธาตุดงส้มสุก ตามตำนานวัดนี้มีความสัมพันธ์กับวัดพระธาตุสบฝาง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ช่วงหลังปี พ.ศ.923 โดยพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเวียงไชยปราการ ที่วัดดงส้มสุกนี้เป็นแหล่งโบราณสถานขนาดใหญ่ ประกอบด้วยสถูป วิหาร และซากฐานรากเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีการขุดพบโบราณวัถุที่มีค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอันมาก
โบราณวัตถุที่สำคัญมากของวัดนี้คือจารึกลายเส้นบนแผ่นดินเผาต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในการค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งวัฒนธรรมล้านนาอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังค้นพบ พระพิมพ์จำนวนหนึ่งที่หล่อด้วยโลหะตะกั่วผสมดีบุก มีลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย พระที่พบส่วนมากมีลักษณะผุกร่อนไม่ค่อยสมบูรณ์นัก หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของอาณาจักรสุโขทัยและล้านนาอยู่ที่พระองค์นี้นี่เองโดยจะเห็นได้ว่าที่ฐานของพระมีจารึกอักษรขอมเป็นคาถาตัวนูนสี่ตัว อ่านได้ว่า “จะ ภะ กะ สะ” ซึ่งอักขระขอมสี่ตัวนี้เป็นคาถาที่ปรากฏในจารึกคาถาหัวใจพระสูตร บนใบลานทองอายุราวศตวรรษที่ 20 ที่พบในจังหวัดสุโขทัย และคาถานี้ยังเป็นคาถาที่มีความหมายเกี่ยวโยงกับหลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนาอันเป็นหัวใจของการประพฤติ ปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะเลยทีเดียว ส่วนองค์นี้เป็นพิมพ์พระปรกโพธ์เนื้อดิน แตกกรุน้อยมากแทบนับองค์ได้ ส่วนมากจะมีการลงรัก ลงชาดปิดทองทุกองค์ องค์นี้สวยสมบูรณ์ ขออนุญาติโชว์ก่อนครับ
|