พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เล็กเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๐๕ วัดเมืองยะลา
พระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา รุ่นนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุที่เมื่อปี ๒๕๐๕ พระอาจารย์ทิม ถูกกลั่นแกล้งจากพระผู้ใหญ่ มีคำสั่งให้ถอดออกจากตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ท่านจึงได้เดินทางไปพำนักกับ พ่อท่านฉิ้น เจ้าอาวาสวัดเมืองยะลา จ.ยะลา พร้อมกับปรารภกับ ท่านฉิ้น ว่าให้จัดสร้าง พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ขึ้น ท่านจะปลุกเสกให้เอง ท่านฉิ้น จึงได้สร้างพระหลวงพ่อทวดรุ่นนี้ขึ้น ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่จัมโบ้ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก (ที่เรียกกันภายหลังว่า "อิกคิวซัง") แต่ละพิมพ์องค์หลวงพ่อทวดมีลักษณะยิ้มเล็กน้อย น่ารักน่าศรัทธามาก ต่อมาไม่นาน พระอาจารย์ทิม ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช้างให้เหมือนเดิม เพราะสอบสวนแล้วไม่มีความผิด (เพราะถูกกลั่นแกล้ง) นับได้ว่า พระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา ได้แสดงปาฏิหาริย์ตั้งแต่ยังไม่ได้กดพิมพ์เป็นองค์พระ เพียงแค่ 'คำปรารภ' เท่านั้นก็ศักดิ์สิทธิ์แล้ว และเมื่อ พระอาจารย์ทิม กลับไปอยู่วัดช้างให้ ท่านก็ไม่ลืมเรื่องนี้ เมื่อ ท่านฉิ้น (ปัจจุบันคือ ท่านเจ้าคุณฉิ้น เจ้าคณะจังหวัดยะลา) ได้สร้างพระหลวงพ่อทวดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์ทิม ได้ตั้งใจปลุกเสกให้เป็นพิเศษ (รวมทั้งแม่พิมพ์ด้วย)
จำนวนการสร้าง พอดีๆ ไม่มากไม่น้อย คือ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์ สาเหตุที่สร้างไม่มากนักเพราะพระอาจารย์ทิม ต้องการให้ทันการนำเข้าพิธีปลุกเสกใหญ่ ณ วัดช้างให้ ปี ๒๕๐๕ พระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา มี ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่จ้มโบ้, พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก (หรือที่วงการเรียกว่า "พิมพ์อิคคิวซัง" ซึ่งปัจจุบันเป็นพิมพ์นิยม)
พิธีปลุกเสกพระหลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา มี ๒ วาระ คือ ปลุกเสกครั้งแรกโดย พระอาจารย์ทิม ที่วัดเมืองยะลา เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๐๕ พิธีครั้งที่ ๒ โดยนำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ที่สุดของวัดช้างให้ คือ พิธีพุทธาภิเษก พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด และหลังตัวหนังสือ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นพิธีครั้งที่ยิ่งใหญ่มากของวัดช้างให้
|