พระปิดตาหลวงปู่เจียม วัดกำแพง หลังยันต์อุ
หลวงปู่เจียมสร้างพระปิดตาไว้หลายแบบหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมทั้งสิ้น โดยแต่ละพิมพ์จะมีจำนวน การสร้างไม่มากนัก ด้วยข้อจำกัดในการสร้างที่ละเอียดอ่อนและพิถีพิถันของท่าน ทั้งการผสมเนื้อหามวลสาร รวมถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับฤกษ์พานาทีที่เป็นมงคล ต้องสมบูรณ์ตามพิกัดเวลา ทั้งฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง-ฤกษ์การบรรจุอิทธิคุณ นั่นเอง
กระบวนการผลิตพระปิดตาของหลวงปู่เจียม จะมีแม่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว ส่วนด้านหลังจะประทับด้วย "ยันต์" ซึ่งมีลักษณะ ใกล้เคียงกับยันต์ที่ใช้ในพระปิดตาหลวงพ่อภู่ วัดนอก ก็คือ ยันต์ "อุใหญ่" ซึ่งลักษณะเป็น "อุขึ้น-อุลง" ที่เรียกกันว่า "อุชี้ฟ้าชี้ดิน" นอกจากนี้ยังมี ยันต์ "อุเล็ก" ประทับด้วย
พระปิดตาของหลวงปู่เจียมนั้นนอกจากพุทธศิลปะและเนื้อหามวลสารที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แล้ว ด้านพุทธคุณยัง เป็นเอกเป็นที่ปรากฏแก่ผู้บูชา ทั้งเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และแคล้ว คลาดคงกระพันชาตรี ครบเครื่องครบครัน ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยจำนวนพระที่สร้างน้อย
|