พระเปิม ขุดพบแทบจะทุกวัดในตัวเมืองลำพูน กรุหลัก วัดดอนแก้ว ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านเวียงยอง กรุวัดพระธาตุหริภุญไชย กรุวัดจามเทวี
พระเปิมลำพูน ยอดพระเมืองลำพูน
พระเปิม เป็นพระเครื่องยอดนิยม พระเครื่องล้านนาที่สร้างขึ้นด้วยเรื้อดินเผา มีศิลปสกุลช่างทวาราวดีผสมผสานสกุลช่างหริภุญชัย หรือช่างชาวมอญโบราณ ลัทธิมหายาน "พระเปิมลำพูน"มีพุทธลักษณะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับนั่งใต้ต้นร่มโพธิ์พฤกษ์ หรือร่มจิก เป็นจินตนาการของช่างสมัยโบราณ ได้บรรจงสร้างศิลป์ตามยุคและตามสมัยนั้นได้อย่างงดงาม เอกลักษณ์ของพระศิลปสมัยทวาราวดี ตามพุทธลักษณะของสกุลช่าง จนเราสามารถแยกออกจากกันได้ (อ่านศิลปอวกะ) "พระเปิมลำพูน"พระเครื่องเมืองลำพูนยอดนิยมพิมพ์หนึ่ง สถานที่พบส่วนใหญ่พบที่ วัดพระธาตุ วัดประตูลี้ วัดดอกแก้ว วัดพระคง วัดมหาวัน มีผู้รู้กล่าวว่า พระเปิมมีลักษณะที่น่าสังเกตที่ควรจำ คือ ลำตัวองค์พระจะอวบอ้วน พระโอษฐ์(ปาก) แบะริมฝีปากหนา พระเนตร(ตา)โปน พระนาสิกบาน ศีรษะทุย พระเกศมาลาจิ่มพระกรรณ(ใบหู)หนา พระศอ(คอ)จะเห็นกรองศอหรือกรองคอเป็นเส้นนูนขึ้นอย่างชัดเจน เต้าพระถัน(เต้านม) จะเห็นชัดเจน พระนาภี(สะดือ)บุ๋มลึกลงไม่ใช่สะดือจุ่นหรือนูนขึ้น ส่วนต่างๆ ของร่างกาย(พระอังคาพยพ) จะไม่สมส่วนสัดเช่น พระหัตถ์จะใหญ่โต พระบาทก็เช่นเดียวกัน เป็นลักษณะหนึ่งของสมัยทวาราวดี ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกับพระสมัยอื่นหรือสกุลช่างอื่น ที่เราสามารถรู้ได้ว่าเป็นศิลปสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรีเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์เป็นต้น
|