เนื้อไม้ขนาดบูชา ศิลป์ทรงคุณ ค่า เก่าเป็นธรรมชาติหลวงปู่บุญท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางไว้มากมาย แต่ "แม่นางกวัก" หลวงปู่บุญเป็นที่ร่ำลือในความศักดิ์สิทธิ์ "ขอได้ ) ใต้ฐานมีจาร เข้มขลังสุดๆ เกร็ดประวัติในชาดก กล่าวไว้ว่าแม่นางกวักได้เติบโตในตระกุลอาชีพค้าขายเกวียน และได้ขอบิดาติดตามไปค้าขายด้วย แต่ด้วยบุญบารมีเดิมแม่นางกวักได้มีโอกาสรับฟังธรรมจากพระอรหันต์ถึง 2 รูปด้วยกันคือ พระกัสสปะเถระ และพระสีวลี ขอให้เจริญรุ่งเรือง ไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง จากการค้าขายสินค้าต่างๆ สมความปรารถนาเถิด บิดาของแม่นางกวัก รู้ว่าบุตรขอตนคือ ผู้ที่เป็นสิริมงคล เป็นที่ไหลมาแห่งทรัพย์สมบัติของครอบครัว ครอบครัวร่ำรวยขึ้นเป็นมหาเศรษฐีมีเงินทองและกองเกวียนสินค้ามากมาย พระแม่นางกวักได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และตั้งใจปฏิบัติธรรมด้วยความเคารพในพระไตรสรณะ เมื่อนางสิ้นชีวิตไปแล้วนั้น ชาวบ้านจึงปั้นรูปแม่นางกวัก(สุภาวดี) ไว้บูชา" ด้วยความเชื่อที่ว่า. ใดสักการะ พระแม่นางกวัก จะเกิดโชคลาภ การค้ารุ่งเรือง นางกวัก มีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วย พาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงิน และจารึกอักขระขอม เป็น ‘หัวใจพระสีวลี’ ผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ คือ นะ ชา ลิ ติ เป็นต้น นางกวัก ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักใคร่ เมตตา อุปถัมภ์เกื้อกูล อีกทั้งความหมายของนาม “กวัก” ทำให้ “รูปบูชานางกวัก” กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีพระเกจิคณาจารย์นิยมสร้างขึ้นมากมายหลายสำนัก