ผ้ายันต์ปิดหน้าศพผืนนี้ขนาด15x16นิ้ว ประกอบด้วยยันต์อิ่นช้าง(ช้างเสพนาง) ยันต์นางกวัก ยันต์บัวคำ9กาบ ยันต์อิ่นม้า(ม้าเสพนาง)คนน่านโบราณเรียกม้าจ๋มนาง ผ้ายันต์ผืนนี้เป็นของครูบาเสาร์ สุภา วัดนาทราย อ.ท่าวังผา จ.น่าน ลูกศิษย์ครูบายาวิราช วัดนาทรายที่โด่งดังสายเมตตา ผ้ายันต์ผืนนี้ด้านหลังผ้าเขียนกำกับไว้ว่า " ผ้ายันต์ผืนนี้พระอธิการภา ลงเมื่ออยู่ตูบเข้ากัมวัดเชียงแล 21มกราคม2522 เดือนแรม3ค่ำ วันอาทิตย์ปีนั้น " (คำว่า ตูบก็คือกระท่อม กัมก็คือกรรม)
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าการเข้ากัม(กรรม)ของพระสงฆ์ภาคเหนือคืออะไร
เข้ากรรมของคนเมืองเหนือล้านนา
ในช่วงระหว่างตั้งแต่เดือนธันวาคม - มกราคม และกุมภาพันธ์ หรือเดือน 3-4 และเดือน 5 เหนือ ของทุกปี ชาวพุทธเมืองเหนือล้านนาจะนิยมจัดกิจกรรม เข้ากรรม ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ และศรัทธาประชาชน จนถือเป็นประเพณีมาจนกระทั่งตราบถึงปัจจุบัน ประเพณีดังกล่าวนี้จะเลือกเอาสถานที่ตามวัดวาอาราม เรียกว่า “เข้ากรรมรุกขมูล” และใช้บริเวณสุสานป่าช้า เรียกว่า “ประเพณีเข้าโสสานกรรม”
การเข้าโสสานกรรมหรืออยู่กรรมของพระสงฆ์ มีจุดมุ่งหมายต้องการที่จะให้พระสงฆ์ได้รู้จักความทุกข์ยากลำบาก ให้เป็นผู้รู้จักช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะได้เป็นผู้นำในด้านการพัฒนา ในสิ่งที่จะเป็นสาธารณประโยชน์ต่อท้องถิ่น อาทิ ถนนหนทาง ศาลาที่พัก สะพาน หรืออื่นๆเป็นต้น ตลอดจนถึงได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนศรัทธาประชาชน เพื่อให้ได้มีการระลึกถึงมรณานุสติที่ทุกๆคนจะต้องได้พบหรือประสบ และจะได้เร่ง กระทำความดีในขณะที่ยังมีชีวิตหรือมีลมหายใจอยู่
การเตรียมการเข้าโสสานกรรม พระสงฆ์และศรัทธาประชาชนจะมีการช่วย กันสร้างกระต๊อบที่อยู่ เป็นหลังๆ โดยอยู่ห่างกันประมาณ 5-10 วา โดยจะจัดสร้างหรือทำเท่ากับจำนวนของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาอยู่ร่วมพิธีกรรม การนิมนต์พระสงฆ์ที่จะมาร่วมพิธีกรรม เจ้าอาวาสที่เป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งป่าช้า จะเป็นผู้จัดนิมนต์พระสงฆ์ตามวัดวาอารามต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงให้มาเข้าร่วมพิธีกรรมด้วยกันส่วนระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมนั้น ก็จะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 5-7 วัน
สำหรับกิจกรรมประจำวันของพระสงฆ์ที่เข้าโสสานกรรมก็คือ จะมีการไหว้พระสวดมนต์, เทศนาอบรมสั่งสอนประชาชน, การนั่งภาวนาบนกองฟอน, บังสุกุลแผ่เมตตา เดินจงกรม, การรับทานขันข้าว และการเป็นผู้นำในการพัฒนาสิ่งที่จะเป็นสาธารณ-ประโยชน์
การเข้าโสสานกรรมถือเป็นประเพณีที่พระสงฆ์ในพุทธศาสนาได้ถือเป็นวัตร- ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณกาล โดยถือเป็นกิจกรรมงานทำบุญ ทำกุศล ที่พระสงฆ์และประชาชนร่วมกันทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคม จนทำให้กลายมาเป็นประเพณีที่ได้กระทำสืบต่อๆกันมาจนตราบถึงทุกวันนี้.
ในอำเภอท่าวังผาในเขตต.ริมสมัยก่อน การเข้ากัม(กรรม)ในป่าช้านั้น ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่วัดเชียงแล ต.ริม อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งวัดเชียงแลถือว่าเป็นวัดหลวงในสมัยนั้น แล้วครูบาเสาร์ สุภา วัดนาทรายก็อยู่ในเขตตำบลริม โดยวัดเชียงแลกับวัดนาทรายห่างกันแค่2-3กิโลเมตร ดังนั้นครูบาเสาร์จึงได้มาร่วมเข้ากัม(กรรม) ที่วัดเชียงแลด้วย และเมื่อท่านอยู่กัมในป่าช้าก็จะใช้ผ้าปิดหน้าศพที่ญาติโยมนำมาให้หรือที่ท่านเตรียมไว้นำมาลงเป็นผ้ายันต์เมตตา โดยครูบาเสาร์ สุภาจะลงผ้ายันต์ลักษณะนี้ช่วงที่ท่านเข้ากัมเท่านั้น ผืนนี้ทางร้านได้มาเป็นผืนที่2ที่สร้างในปี2522 ผืนแรกที่ได้มาก็เขียนกำกับไว้ลักษณะแบบนี้ (ไปดูที่หน้าร้านพุทธคุณเมืองน่าน3ในรายการที่58) โดยครูบาเสาร์ได้เขียนและเสกในป่าช้าช่วงเข้ากัม(กรรม)วัดเชียงแล การที่ท่านสร้างช่วงที่เข้ากัมนั้น น่าจะมีอะไรประจวบเหมาะหลายอย่างๆ ท่านถึงมักสร้างในพิธีแบบนี้ครับ
ผ้าปิดหน้าศพหรือปกหน้าศพคืออะไร
ผ้ายันต์ปิดหน้าศพเมืองน่านนี้ มีแต่ดั้งเดิมมาแล้ว มักจะนำมาลงเป็นผ้ายันต์เมตตาต่างๆ ไม่ใช่ว่าผ้ายันต์เมตตาทุกผืนของน่านจะเป็นผ้าปิดหน้าศพหมด ต้องไปดูด้วยว่าครูบาสายไหนที่มีประวัติการสร้าง หรือบางผืนอาจจะเป็นผ้าปิดหน้าศพโดยไปให้ฆราวาสหรือครูบาอื่นๆที่ไม่ใช่สายตรงทำให้ก็ได้ ผ้ายันต์ปิดหน้าศพปัจจุบันหรือในอดีตไม่ได้ทำในเชิงพานิชย์ที่ทำออกมาหลายๆผืน แต่ทำไว้เฉพาะคนคือเมื่อญาติพี่น้องเสียชีวิตก็จะนำผ้ายันต์ปิดหน้าศพมาให้ครูบานั้นๆลงยันต์ให้ แล้วเก็บไว้ใช้หรือให้ลูกหลานเวลาไปค้าไปขาย ที่ทำเชิงพานิชย์ไม่มีเพราะว่าผ้ายันต์ปิดหน้าศพ 1ศพต่อ1ผืน ถ้าจะสร้างเชิงพานิชย์ท่านจะต้องไปหาผ้าปิดหน้าศพจำนวนที่ต้องการ ท่านต้องไปงานศพไปเอาจากศพ ถามว่าท่านไม่ใช่ญาติคนตาย ญาติคนตายจะอนุญาติให้ท่านเอาไปมั้ย คงไม่อนุญาติแน่นอน ถ้าทำ10ผืน20ผืน ท่านก็ต้องไปงานศพนั้น10ครั้ง20ครั้ง ทุกครั้งที่ไปใช่ว่าจะได้มาทุกศพ แล้วท่านจะเอาได้ยังงั้ย ดังนั้นผ้ายันต์ปิดหน้าศพจะเป็นผ้าปิดหน้าศพของญาติๆที่เขาเก็บมาทำกันเอง ในปัจจุบันการนำผ้าปิดหน้าศพมาทำผ้ายันต์เมตตานั้น จะไม่ค่อยเห็นเพราะทัศนคติความเชื่อเปลี่ยนไป หรือการได้มาของผ้าปิดหน้าศพถ้าไม่ใช่ญาติกันเอามายาก หรือถ้าเป็นของญาติเมื่อได้มาแล้วก็ไม่รู้จะไปให้ครูบาอาจารย์ที่ไหนทำให้ เพราะครูบาอาจารย์บางท่านไม่ได้เรียนสายนี้ก็ไม่สามารถทำให้ได้ หรือถ้าทำได้ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าขันครู ค่าทำพิธีต่างๆ ผ้ายันต์ปิดหน้าศพ1ผืนต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆมากมาย ในเชิงพานิชย์ไม่คุ้มค่าแน่นอน ถ้าคุ้มค่าต้องสร้างหลายๆผืน แต่อย่างที่ทางร้านบอกไป ท่านจะสามารถหาผ้าปิดหน้าศพหลายๆผืนได้มั้ยก็เป็นเรื่องยาก ดังนั้นเวลาทำมักทำไว้ใช้เอง ไว้ให้ลูกหลานไปใช้เท่านั้น
ผืนนี้สภาพสมบูรณ์ การสร้างชัดเจน ฝีมือการวาดถือว่าสวย อนุรักษ์ให้เป็นผ้าปิดหน้าศพหรือปกหน้าศพสายท่าวังผา จ.น่านครับ
|