พระรอดพิมพ์เศียรโล้น กรุวัดหัวข่วงประวัติการค้นพบ พระเครื่องกรุวัดหัวข่วง หรือวัดแสนเมืองมาหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2493 ได้มีบูรณะซ่อมแซมหอมณเฑียรได้พบพระเครื่องดินเผาจำนวนหนึ่งใต้ฐานแท่นแก้วพระประธาน พระที่พบแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ดังนี้
1) พิมพ์พระรอด
2)พิมพ์พระรอดบังภัย
3) พิมพ์พระขุนแผน
อีกทั้งยังมีการพบแม่พิมพ์พระรอดบังภัยที่ใช้แล้วบรรจุอยู่อีกด้วย
เมื่อทำการพิจารณารูปแบบพระและกรรมวิธีการสร้างอย่างละเอียดแล้วสามารถแบ่งออกเป็นศิลปะได้ดังนี้
1) กลุ่มพิมพ์พระรอดและพิมพ์พระรอดบังภัย เป็นศิลปะหริภุญชัย
2) พิมพ์พระขุนแผน เป็นศิลปะแบบล้านนา
พระพิมพ์พระรอดนั้นเชื่อว่าน่าจะเป็นการตั้งใจกดพิมพ์ออกมาเฉพาะองค์กลางเท่านั้น การพิจารณาแท้เก๊ให้พิจารณาจากพิมพ์เต็มของพระรอดบังภัย กิ่งก้านโพธิ์ จะต้องเหมือนกันโดยไม่มีเส้นขอบบังคับพิมพ์ เส้นกำไรข้อเท้าที่แตกเป็นแฉกชัดเจน ราคาเช่าหาหลักหมื่นกลาง
พระองค์นี้สภาพสวย แท้ดูง่าย พร้อมบัตรรับรองพระล้านนา 1 ใบ
ได้รับเกียรติลงในคอลัมน์ คมเลนส์ส่องพระโดย แล่ม จันท์พิศาโล วันที่ 24/12/2564 ด้วยครับ
แชมป์ที่ 1 งานประกวดพระเครื่องพระบูชาไทย (ท้องถิ่นภาคเหนือ) จัดที่ ข่วงสันกำแพง 05/03/66