ผ้ายันต์ผืนนี้ขนาด18x11นิ้ว เป็นผ้ายันต์เขียนมือนางกวักและอิ่น บนผ้ายันต์เขียน พ.ศ.2513 ผืนนี้เป็นของครูบาศรี วัดนาปัง อ.ภูเพียง จ.น่าน ครูบาศรีนั้นเป็น1ใน11พระเกจิที่ครูบาดอนตัน ได้ให้มาร่วมงานปลุกเสกเหรียญรุ่นแรกครูบาดอนตันเมื่อปี2514 ผ้ายันต์ครูบาศรี วัดนาปังเมื่อดูๆแล้ว ท่านทำผ้ายันต์ไว้หลายอย่างที่เหมือนของครูบาอื่นๆ ครูบาศรีจะสร้างผ้ายันต์ช่วงปีพ.ศ.2500-2513 ที่ดูจากพ.ศ.กำกับบนผ้า เวลาครูบาศรีเขียนผ้ายันต์มักจะเขียนชื่อวัดตัวย่อไว้ นป(วัดนาปัง)และพ.ศ. กำกับไว้ โดยจะพบเห็นในผ้ายันต์สิหิงค์หลวง
ผ้ายันต์สิหิงค์หลวงครูบาศรีกับครูบาดอนตันจะเหมือนกันเพราะตำราเดียวกัน ของครูบาศรีจะเขียนชื่อย่อของวัดติดไว้คือ นป.และพ.ศ.ที่สร้างกำกับไว้ ส่วนของครูบาดอนตันจะไม่มีชื่อวัดหรือพ.ศ.เขียนติด แต่ของครูบาดอนตันจะมียันต์ตารางอยู่ตัวหนึ่งจะเขียนไม่เหมือนของครูบาศรี จึงแยกแยะได้
ส่วนผ้ายันต์อิ่นแก้วตำราครูบาอาทะวงศ์ วัดน้ำปั้วที่ครูบาศรีนำไปเขียนจะมีชื่อวัด นป.และพ.ศ.กำกับ ส่วนของพระอาจารย์สายปัวก็นำยันต์อิ่นแก้วตำราครูบาอาทะวงษ์ไปเขียนแต่จะไม่มีชื่อวัดและพ.ศ.กำกับ ของครูบาศรีกับครูบาสายปัว ถ้าดูแค่ยันต์จะคล้ายกันมาก ส่วนอีกท่านหนึ่งที่นำยันต์อิ่นแก้วครูบาอาทะวงศ์ไปเขียนคือครูบาไพโรจน์ วัดน้ำมวบ อ.เวียงสา แต่ว่าของครูบาไพโรจน์เอกลักษณ์จะไม่เหมือนใคร จะแยกง่ายมาก
ส่วนผ้ายันต์นางกวักและอิ่นของครูบาศรีที่เหมือนกับของพ่อเฒ่าวัง ที่พ่อเฒ่าวังเป็นคนเขียนให้กับครูบาดอนตัน(พ่อเฒ่าวังเป็นศิษย์ครูบาดอนตัน แต่ตัวพ่อเฒ่าวังเดิมเป็นคนนาปัง แต่มาได้ภรรยาที่บ้านดอนตันจึงมาใช้ชีวิตที่บ้านดอนตัน ทำให้พ่อเฒ่าวังได้ใกล้ชิดกับครูบาดอนตันจนกลายมาเป็นลูกศิษย์) ของครูบาศรีมักพบเขียน พ.ศ.กำกับไว้ แต่ของพ่อเฒ่าวังที่เขียนให้ครูบาดอนตันจะไม่มีพ.ศ.กำกับไว้ การแยกแยะดูจากตัวหนังสือหรือผืนที่มีรูปภาพต้องดูศิลป์ของรูปประกอบด้วยครับ
ผืนนี้ใช้เมตตาค้าขาย เสน่ห์ พับใส่กระเป๋าเหมาะมากครับ
|