ไม้เฮี้ยตั๋นมีจารชิ้นนี้ขนาดความยาว2นิ้ว โตเท่าหัวแม่มือ ไม้เฮี้ยตั๋น(เป็นไผ่ชนิดหนึ่งที่ปรกติจะกวง คนล้านนาเรียกไผ่ชนิดนี้ว่า ไผ่เฮี้ย) ทางน่านที่ใช้ไม้ไผ่ตั๋นที่มาทำเครื่องราง จะเป็นไม้ไผ่เฮี้ยที่มีลักษณะตั๋น โดยใช้ไผ่ชนิดนี้เท่านั้น ไม้เฮี้ยชิ้นนี้เดิมทีเป็นของชาวบ้านดอนตันที่เคยบวชช่วงที่ครูบาดอนตันมีชีวิตอยู่ เมื่อบวชนานแล้วอยากจะสึกไปมีครอบครัว แต่ว่าช่วงนั้นที่วัดดอนตันเหลือพระไม่กี่รูป หลวงพ่อดอนตันขอไว้ให้อยู่ด้วยกันก่อน ครูบาดอนตันสั่งไว้ว่าถ้าข้าบ่ตายห้ามสึก ถ้าสึกไปบ่ได้อนุญาตก็ลองดู ก็เลยไม่กล้าสึก จึงต้องอยู่วัดกับครูบาดอนตันไปก่อน จริงๆแล้วเจ้าของเดิมที่บวชได้วัตถุมงคลครูบาดอนตันเยอะมาก มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ตะกรุด สีผึ้งใส่ตลับยาหมอง ตรงสีผึ้งนี้แปลกเพราะไม่เคยได้ยินว่าหลวงพ่อดอนตันทำสีผึ้งไว้ อาจจะมีก็ได้ทำไว้ตอนลองวิชาที่เรียนมา เมื่อรู้แล้วทำได้ หลวงพ่อคงไม่เน้นทางเสน่ห์เลยไม่ได้ทำสายนี้ ไปเน้นทางคงกะพันมากกว่า วัตถุมงคชุดนี้ครูบาดอนตันมอบให้เหมือนเป็นค่าจ้างให้อยู่วัดด้วยกับท่าน เมื่อครูบาดอนตันมรณะภาพ เจ้าของเดิมก็ลาสิกขาทันทีเพราะบวชนานแล้ว อายุก็เริ่มมากก็อยากมีครอบครัว
วัตถุมงคลชุดนี้ทางร้านได้มาเกือบ6-7ปีแล้ว มีเหรียญ ผ้ายันต์ ตะกรุด ที่ดูง่ายๆมีเอกลักษณ์ชัดเจนทางร้านก็ให้บูชาไปหมดแล้ว เหลือแต่สีผึ้งที่เจ้าของเดิมใช้แทบไม่เหลือ ทางร้านได้นำตลับยาหม่องไปตากแดด ให้สีผึ้งที่เหลือละลายแล้วปั้นเป็นก้อนเลี่ยมเงินไว้ใช้(ภาพที่2) ส่วนไม้เฮี้ยตั๋นที่ครูบาดอนตันจารให้ ทางร้านก็เก็บไว้ใช้เพราะมันไม่เป็นมาตราฐาน วันนี้เอามาให้ดูว่าจริงๆแล้วทางร้านก็ใช้ของครูบาดอนตันที่อาจแปลกไปหน่อย แต่ว่าอันไหนที่เป็นมาตราฐานให้ท่านเอาไปใช้ได้สบายใจ อันไหนที่เป็นของครูบาดอนตันก็จริงแต่ไม่เป็นมาตราฐาน อันนี้ทางร้านเอาใช้เองครับ
เครื่องรางพวกทนสิทธ์จำพวก บาตรตั๋น เขี้ยวหมูตั๋น หอยตั๋น ไม้เฮี้ยตั๋น ฯเป็นเครื่องรางความเชื่อของคนล้านนามานาน ถ้าพูดถึงไม้เฮี้ยตั๋นแล้ว คนล้านนาอาจจะรู้จักเป็นไผ่ชนิดหนึ่งที่ปล้องจะกวง ต้นไม่ใหญ่มาก ต้นเล็กๆมีขนาดเท่านิ้วก้อยก็มี ต้นใหญ่สุดก็เท่าท่อน้ำหรือจะใหญ่ไปอีกหน่อยแต่ที่มาทำเครื่องรางลำต้นจะตัน(ตั๋น) คนล้านนาเชื่อว่าเป็นมหาอุดคงกะพัน คนโบราณจะได้ไม้เฮี่ยตั๋นสักชิ้นหนึ่ง เขามีวิธีการสังเกตดังนี้ ไม้ไผ่เฮี้ยหลายร้อยกอพันกอจะมีเพียง1กอที่เป็นต้นกอพญา แล้วใน1กอที่เป็นต้นพญานั้น ในกอนั้นใช่ว่าจะเป็นไผ่ตั๋นทั้งกอ จะมีเพียงต้นหรือสองต้นเท่านั้น เวลาไปหาหรือเจอคนโบราณเขามีวิธีสังเกตดังนี้
-ให้สังเกตเวลาป่าถูกเผาหรือในพื้นที่มีไฟไหม้ หากบริเวณนั้นมีไม้เฮี้ยตั๋นอยู่ ไผ่กอนั้นไฟจะไม่ไหม้ ไฟไม่สามารถทำอะไรได้เลย จะเหมือนกับแสงนกคุ้ม ที่อื่นไฟไหม้หมด ยกเว้นบริเวณนั้น
-หรือสังเกตจากสัตว์ หากกอไผ่กอนั้นเป็นไม้เฮี้ยตั๋น นกจะไม่บินมาเกาะ สัตว์ป่าที่ชอบกินหน่อ กินรากไม้ จะไม่มารบกวน สัตว์จะไม่เข้าใกล้เลย
-เวลาวันพระหรือในวันสำคัญๆทางพุทธศาสนาจะมีแสงลูกไฟพุ่งจากกอไผ่กอนั้น แสดงว่าไผ่กอนี้มีไม้เฮี้ยตั๋นอยู่
-และด้วยความบังเอิญคือไปตัดไผ่ชนิดนี้แล้วมีดพร้าฟันไม้ไผ่ไม่ขาด ไม่สามารถทำอะไรได้ แสดงว่ากอไผ่นี้มีไผ่เฮี๋ยตั๋นอยู่ เวลาไปเอาต้องมีการไปพลีมาจึงตัดมาได้ เพราะเชื่อว่ามีเทวาอารักษ์ปกป้องอยู่
ดังนั้นนี้คือวิธีการสังเกตของคนโบราณถึงจะรู้ว่ากอไหนมีหรือไม่มี เมื่อได้มาแล้วความจริงของพวกนี้เป็นของทนสิทธิ์มีฤทธิ์ในตัว ไม่ต้องปลุกเสกก็ขลัง แต่ว่าบางคนอาจจะนำไปให้ครูบาอาจารย์ที่เก่งๆเสกให้อีกทีเพื่อความมั่นใจ บางชิ้นก็จะมีการจารอักขระลงไปให้ด้วย ไม้เฮี้ยตั๋นส่วนใหญ่ก็จะเจอของเก่าๆ ก็จะเป็นท่อนๆเพราะลูกหลานตัดแบ่งกันไป บ้างครั้งก็เจอเป็นซีกเพราะว่าเป็นการผ่าแบ่งกัน โดยส่วนมากที่เจอจะมีทั้งจารและไม่จารอักขระครับ
|