พระขุนแผน กรุวัดหัวข่วง(วัดแสนเมืองมา) เชียงใหม่
พระเนื้อดินทรง 5 เหลี่ยม หายากมาก
วัดหัวข่วง เป็นวัดเก่าที่มีมาตั้งแต่สถาปนาอาณาจักรล้านนาได้ไม่นาน พื้นที่ตั้งปัจจุบันอยู่ ณ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีการพบพระเครื่องเนื้อดินเผา ได้แก่ พระรอดบังภัย และพระขุนแผน ซึ่งพระพิมพ์แต่ละแบบถูกพบในปริมาณไม่มากนัก จากการเปิดเผยของ พระบุญปัน ปัญญาธโร รองเจ้าอาวาสวัดหัวข่วง ในปีพ.ศ. 2522 เกี่ยวกับการพบพระเครื่องเนื้อดินเหล่านี้ พบว่าพระเครื่องทั้งหมดถูกพบใต้หอไตรของวัด ซึ่งได้ถูกรื้อถอนไปแล้วกว่า 30 ปีก่อน ราวปี พศ 2492 – 2493 ซึ่งเป็นปีที่มีการบันทึกว่าพบพระพิมพ์กรุวัดหัวข่วงทั้งหมดนั่นเอง ในการรื้อหอไตรของวัด ได้มีผู้พบไหดินเผา ซึ่งมีพระเครื่องบรรจุเอาไว้ในไห มีขนาดความสูงราว 1 ฟุต จำนวน 2 ใบ ไหใบแรกบรรจุพระเครื่องขนาดเล็ก ที่ในขณะนั้นรู้จักกันดีในชื่อเรียกพระรอด และพระรอดบังภัยปะปนกันอยู่ ส่วนอีกใบหนึ่งเป็นพระเครื่องขนาดกลาง มีรูปทรง และขนาดพอๆ กับพลายเดี่ยว วัดบ้างกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาก็มีชื่อเรียกกันในวงการนักเล่นพระว่า พระขุนแผน กรุวัดหัวข่วง นั่นเอง พุทธคุณเท่าที่มีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างออกปากว่า \"เหนียว\" อยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ก็ยังเป็นเสน่ห์เมตตา แคล้วคลาดและคุ้มครองป้องกันอันตรายต่างๆ นานา ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบพระแท้ๆ กันนัก ประสบการณ์ผู้ที่แขวนพระกรุวัดหัวข่วงนั้น ถูกรุมฟันและแทงด้วยเหล็กขูดชาฟต์จนสลบไป แต่พอถูกนำส่งโรงพยาบาลหมอกลับไม่พบว่ามีบาดแผลที่เข้าเนื้อเลย มีแต่รอยฟกช้ำดำเขียวทั่วร่าง และมีรอยยาวๆ ยางบอนซิบๆ เท่านั้น นี่แหละครับประสบการณ์และเรื่องราวที่ปรากฏ คนเชียงใหม่รู้ดีและหวงแหน ปัจจุบันหาเจอได้ยากครับ ก่อนที่จะเป็นพระในตำนาน องค์นี้เนื้อจัดดูง่ายครับ
|