พระขุนไกรกรุศาลเจ้า พบจากบริเวณเจดีย์ร้างในตลาดต้นลำใย ปัจจุบันที่ตั้งของเจดีย์นั้นเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าประจำตลาดต้นลำใย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการค้นพบประมาณปี พ.ศ.2498 เกิดจากเจดีย์มีร่องรอยชำรุดผุพังและมีคนงานจีนในตลาดแอบขึ้นไปขุดค้นเอาพระออกมาก่อน พระที่พบในเจดีย์จัดวางกันอย่างเป็นระเบียบบริเวณคอระฆังของเจดีย์ที่อยู่ด้านบนทำให้พระพิมพ์ที่พบส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดี และที่สำคัญไม่มีคราบกรุแน่นติดอยู่ที่ผิวพระ ภายหลังเจดีย์ได้ล้มพังลงมาจึงทำให้พระกระจายออกมาในตลาดและในวงของนักสะสม
พระที่พบแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1)พระขุนไกร
2)พระยอดขุนพล
3)พระประธาน
พระกรุศาลเจ้าเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีเนื้อละเอียด ปาดหลังเรียบ แบ่งออกได้ดังนี้
1)เนื้อดินเผา (พบมากสุด)
2)เนื้อดินเผาลงรัก
3)เนื้อดินเผาลงรักปิดทอง บางองค์ลงรัก ลงชาด ปิดทอง
และชนิดเนื้อพิเศษและหายาก
4)เนื้อดินดิบแบบไม่ผ่านการเผา เนื้อพระจะออกสีเทา และเกือบทั้งหมดจะถูกลงรักปิดทองหุ้มเพื่อรักษาเนื้อพระ
5)เนื้อว่าน จะเป็นสีน้ำตาลอมดำ มีเนื้อหยาบและส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักบิดเบี้ยว เนื่องจากการหดตัวในภายหลัง
พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดครับ
พระองค์นี้เป็นพระขุนไกรลงรักปิดทอง สภาพสวยหน้าตารายละเอียดพระคมชัด ถือเป็นองค์ครูใช้ในการศึกษาได้เลยครับ
ได้รับเกียรติลง "คมเลนส์ส่องพระ / แล่ม จันท์พิศาโล วันที่ 17/04/2564"
|