พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

พระขรรค์อันดับ1เมืองไทย เก่าจัดตัวจริง


พระขรรค์อันดับ1เมืองไทย เก่าจัดตัวจริง


พระขรรค์อันดับ1เมืองไทย เก่าจัดตัวจริง


พระขรรค์อันดับ1เมืองไทย เก่าจัดตัวจริง

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 พระขรรค์อันดับ1เมืองไทย เก่าจัดตัวจริง
รายละเอียด :
 

ดูจากหลักไสยศาสตร์โบราณที่หลวงพ่อโสกสร้างพระขรรค์คิดได้ไม่ยากเลยครับว่า มีจำนวนน้อยมากๆตัวจริงนับเล่มได้

****/// มีของดีต้องพกติดตัวเล่มนี้แหละเหมาะไม่มีมีดหมอหลวงพ่อเดิม ก็ขอแนะนำพระขรรค์หลวงพ่อโสกนี่เลยครับ เขาสีน้ำผึ้งนิยม มันๆ ความเป็นมาของพระขรรค์ พระขรรค์ คือ อาวุธปลายแหลม คล้ายมีด แต่มีสองคม และเรียวตรงกลาง ท่านที่เคยดูลิเกหรือละครจะเคยเห็นพระขรรค์มาแล้ว พระขรรค์นี้คณาจารย์ท่าน ได้แยกแขนงมาจากมีดหมอ หรือเทพศาสตราใช้สำหรับการปราบภูตผีปีศาจ และคุ้มกันอันตราย คือแทนที่จะให้เหล็กตีเป็นใบมีดกลับใช้วัสดุอื่นมาทำเป็นพระขรรค์ วัตถุประสงค์ในการสร้างก็ดุจเดียวกันคือ มีดหมอ นั่นเอง และพระขรรค์ที่ทำด้วยเขาควายเผือกของ หลวงพ่อโสก วัดปากคลอง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี องค์พระผู้สร้าง หลวงพ่อโสก หรือท่าน พระครูอโศก ธรรมสาร เป็นเกจิอาจารย์ที่ชาวเมืองเพชรให้ความเคารพนับถือไม่น้อยกว่าพระอาจารย์องค์อื่นท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลอง เคยออกเครื่องรางหลายอย่างเช่น คุณพระปลัด น้ำเต้ากันไฟ และอีกหลายอย่าง มีเวลาจะค้นคว้ามาเขียนให้เป็นลำดับไปสมัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ กว่านั้นทางไปวัดปากคลองแสนลำบาก ไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน แต่ก็มีผู้ที่ศรัทธาเดินทางไปนมัสการท่านเพื่อขอของดีกันมากมายแน่นวัด ยิ่งตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตอนญี่ปุ่นบุกไทยด้วยแล้ว ออกไม่ทันกันเลยทีเดียว ได้เคยทราบจากผู้ใกล้ชิดและมีโอกาสได้เรียนถามท่านได้ความว่า ท่านเดินทางไปเรียนวิชานี้มาจากสองสำนักคือ หลวงพ่อคล้าย วัดพระทรง และ หลวงพ่อแหล่ม วัดบางคลี่ สมุทรสงคราม (ตอนต่อมาได้ย้ายไปวัดจันทร์เจริญสุข) // กรรมวิธีการสร้างพระขรรค์ ตามตำราของท่านกำหนดว่าเขาควายนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้ เขาควายเผือก (ควายธรรมดาใช้ไม่ได้) ต้องตายโหง คือ ถูกยิงตาย ขวิดกันเองตาย หรือถ้าถูกฟ้าผ่าตายได้ก็ยิ่งวิเศษ เขาควายนั้น จะต้องไม่ถูกต้มมาก่อน กล่าวคือเมื่อควายตายลงก็ต้องชำแหละตัดเขาออกสดๆ ไม่ต้องรอให้แล่ควายออกเป็นส่วน ๆ แล้วจึงนำหัวมาต้มเพื่อเอาเขาออกได้ สะดวกท่านว่าใช้ไม่ได้ แกะเป็นรูปพระขรรค์ (โดยไม่ทวนเขา) ในที่นี้หมายความว่าเวลาแกะให้ตัดออกเป็นชิ้นพอเหมาะกับการแกะ ให้จำไว้ว่าทางไหนทางโคนเขา ทางไหนทางปลายเขาให้ทำเครื่องหมายไว้ เวลาแกะให้แกะจากโคนเขาไปหาปลายเขา เป็นทางเดียวตลอดเวลาการแกะจนสำเร็จ ถ้าทวนแม้แต่ครั้งเดียวใช้ไม่ได้ต้องทิ้งไป // คาถากำกับพระขรรค์มีดังนี้ พุทโธ ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ ธัมโม ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ สังโฆ ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ ******************************/// และที่ได้ข้อมูลมาใหม่เป็นเกร็ดประวัติเกี่ยวกับเสือขาว ลูกศิษย์หลวงพ่อดิ่ง แขวนพระปิดตา และตะกรุดหลวงพ่อดิ่ง แต่ไม่ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นที่ต้องการตัวของตำรวจเป็นอย่างมาก แต่ลูกปืนไม่ระคายผิวเสือขาวแต่อย่างใด ทางตำรวจจึงมาหาหลวงพ่อดิ่งผู้เป็นอาจารย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางในการคัดของเสือขาว หลวงพ่อดิ่งท่านว่า ไม่มีอะไรคัดของของท่านได้ ยกเว้นอย่างเดียว คือ พระขรรค์ หลวงพ่อโศก ผู้เป็นสหะรรมิกของท่านเพียงรูปเดียว โดยให้ใช้ปลายพระขรรค์เขียนคาถาตามที่ท่านให้ลงที่ลูกปืน ผลสุดท้ายเสือขาวต้องจบชีวิตการเป็นโจรด้วยเหตุแห่งการล้างอาถรรพ์คัดของ โดยพระขรรค์หลวงพ่อโศก วัดปากคลองฯครับ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙***********************************///////////////////////////////////////////////////ท่านผู้เขียนมีความยินดีที่ได้มีนักวัตถุอาถรรพณ์นิยมเมืองพริบพรี ได้กรุณาเขียนเรื่องพระขรรค์หลวงพ่อโสก วัดปากคลองเพชรบุรี พร้อมทั้งข้อมูลอันเป็นประโยชน์มาร่วมกับ อุณมิลิต ดังนั้นเรื่องราวต่อไปนี้จะเป็นการค้นคว้าจากคุณรงค์ วงศ์เพชร(นามปากกา) และผู้เขียนร่วมกันเพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงกับท่านผู้อ่านนั่นเอง ความเป็นมาของพระขรรค์ พระขรรค์ คือ อาวุธปลายแหลม คล้ายมีด แต่มีสองคม และเรียวตรงกลาง ท่านที่เคยดูลิเกหรือละครจะเคยเห็นพระขรรค์มาแล้ว พระขรรค์นี้คณาจารย์ท่าน ได้แยกแขนงมาจากมีดหมอ หรือเทพศาสตราใช้สำหรับการปราบภูติผีปีศาจ และคุ้มกันอันตราย คือแทนที่จะให้เหล็กตีเป็นใบมีดกลับใช้วัสดุอื่นมาทำเป็นพระขรรค์ วัตถุประสงค์ในการสร้างก็ดุจเดียวกันคือ มีดหมอ นั่นเอง และพระขรรค์ที่ทำด้วยเขาควายเผือกของ หลวงพ่อโสก วัดปากคลอง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี องค์พระผู้สร้าง หลวงพ่อโสก หรือท่าน พระครูอโศก ธรรมสาร เป็นเกจิอาจารย์ที่ชาวเมืองเพชรให้ความเคารพนับถือไม่น้อยกว่าพระอาจารย์องค์อื่นท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลอง เคยออกเครื่องรางหลายอย่างเช่น คุณพระปลัด น้ำเต้ากันไฟ และอีกหลายอย่าง มีเวลาจะค้นคว้ามาเขียนให้เป็นลำดับไปสมัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ กว่านั้นทางไปวัดปากคลองแสนลำบาก ไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน แต่ก็มีผู้ที่ศรัทธาเดินทางไปนมัสการท่านเพื่อขอของดีกันมากมายแน่นวัด ยิ่งตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตอนญี่ปุ่นบุกไทยด้วยแล้ว ออกไม่ทันกันเลยทีเดียว ได้เคยทราบจากผู้ใกล้ชิดและมีโอกาสได้เรียนถามท่านได้ความว่า ท่านเดินทางไปเรียนวิชานี้มาจากสองสำนักคือ หลวงพ่อคล้าย วัดพระทรง และ หลวงพ่อแหล่ม วัดบางคลี่ สมุทรสงคราม (ตอนต่อมาได้ย้ายไปวัดจันทร์เจริญสุข) กรรมวิธีการสร้างพระขรรค์ ขั้นที่ ๑ ตามตำราของท่านกำหนดว่าเขาควายนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้ - เขาควายเผือก (ควายธรรมดาใช้ไม่ได้) - ต้องตายโหง คือ ถูกยิงตาย ขวิดกันเองตาย หรือถ้าถูกฟ้าผ่าตายได้ก็ยิ่งวิเศษ - เขาควายนั้น จะต้องไม่ถูกต้มมาก่อน กล่าวคือเมื่อควายตายลงก็ต้องชำแหละตัดเขาออกสดๆ ไม่ต้องรอให้แล่ควายออกเป็นส่วน ๆ แล้วจึงนำหัวมาต้มเพื่อเอาเขาออกได้ สะดวกท่านว่าใช้ไม่ได้ - แกะเป็นรูปพระขรรค์ (โดยไม่ทวนเขา) ในที่นี้หมายความว่าเวลาแกะให้ตัดออกเป็นชิ้นพอเหมาะกับการแกะ ให้จำไว้ว่าทางไหนทางโคนเขา ทางไหนทางปลายเขาให้ทำเครื่องหมายไว้ เวลาแกะให้แกะจากโคนเขาไปหาปลายเขา เป็นทางเดียวตลอดเวลาการแกะจนสำเร็จ ถ้าทวนแม้แต่ครั้งเดียวใช้ไม่ได้ต้องทิ้งไป ขั้นที่ ๒ นำมาลงอักขระ ในที่นี้จะแยกออกเป็นสองลักษณะเพราะเป็นการลงเต็มและย่อ ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เนื่องมาจาก พระขรรค์ของหลวงพ่อมีทั้งขนาดใหญ่บูชาประจำบ้าน ไม่เหมาะสำหรับติดตัวและขนาดเล็กที่จะติดตัวได้สะดวก การลงถ้าอันใหญ่จะลงเต็มบท ถ้าขนาดเล็กจะลงหัวใจเท่านั้น บทเต็มสำหรับลงพระขรรค์ใหญ่มีดังนี้ พุทโธ ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ ธัมโม ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ สังโฆ ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ ///////////////////////////////////////////////ชีวประวัติหลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก พระครูอโศกธรรมสาร (สุวณฺณเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลอง และเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี นามเดิม โศก สกุล พันธุ์โพทอง เป็นบุตรคนแรกของ นายพัน นางนาก พันธุ์โพทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 3 คน ท่านพระครูอโศกธรรมสาร มีถิ่นกำเนิด ณ บ้านแคววังใหญ่ ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อ วันอังคาร ปีวอก พุทธศักราช 2415 สมัยวัยอยู่ในปฐมวัย บิดามารดาได้ฝากให้เล่าเรียนหนังสือ อยู่กับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ได้ย้ายไปเป็นวัดเฟื้อสุธรรม ด้วยเหตุที่บิดามารดาของท่าน ประกอบอาชีพทำนา เมื่อถึงฤดูทำนา ท่านได้ช่วยเหลือบิดามารดาด้วย โดยปรกติวิสัย เป็นผู้ไม่ชอบอยู่นิ่ง ใคร่รู้ใคร่เห็น ชอบศึกษาหาความรู้ ชอบสนทนาวิสาสะ เป็นผู้เฉลียวฉลาดมีไหวพริบ จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี เป็นพหูสุต เข้าใครเข้าได้ เพราะคุยสนุก มีแง่คิด พูดจาชวนฟัง มีคติ เป็นคนอารมณ์ดี ไม่ถือตัว จึงเป็นที่ชอบพอ และถูกอัธยาศัยของเพื่อนบ้าน และมิตรสหาย เมื่ออายุครบปีอุปสมบท บิดามารดาได้จัดการอุปสมบทให้ ณ วัดปากคลอง ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2435 โดยมี พระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นอุปัชฌายะ พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุวณฺโณ ภายหลังที่ท่าน ได้อยู่ปฏิบัติอุปัชฌายวัตร และอาจาริยวัตร ในหน้าที่นวกภิกษุ พอสมควรแก่นิสัยแล้ว ก็ได้เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และบาลีไวยากรณ์ต่อไป ได้ศึกษาเล่าเรียนโดยความอุตสาหะเอาใจใส่ ตลอดระยะเวลาประมาณ 8 – 10 พรรษาแรก นับตั้งแต่อุปสมบท ด้วยวัตรปฏิบัติ และแบบแผนในเพศภิกษุภาวะของท่าน เรียบร้อย งดงาม สามารถเป็นแบบอย่างและผู้นำ ทั้งยังเข้าใจในศาสนกิจ และระเบียบการคณะสงฆ์เป็นอันดี มีอายุพรรษาเป็นเถระผู้ใหญ่แล้ว ฉะนั้นเมื่อท่านอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ลาออกจากตำแหน่ง ในปีพ.ศ.2447 ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีโดย พระพิศาลสมณกิจ (สิน) เจ้าคณะเมืองเพชรบุรี วัดคงคาราม ให้ท่านเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ นับเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดนี้ แต่ท่านอยู่ในตำแหน่งนี้เพียงปีเศษก็ขอลาออก เพราะต้องไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากคลอง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ก่อนหน้านี้วัดปากคลอง มีพระอธิการพร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ แต่ได้ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงว่างลง บรรดามรรคทายกทายิกาของวัดนี้ เห็นพร้อมในกันว่า ควรไปอาราธนาพระอธิการโศก จากวัดมหาธาตุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยเป็นลูกเกิดของบ้านนี้ ท่านไม่สามารถปฏิเสธคำรบเร้าของผู้มีจิตศรัทธาในตัวท่านได้ จึงได้เดินทางมารับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากคลอง เมื่อปี พ.ศ.2448 ขณะนั้นมีพรรษาได้ 13 พรรษา ตลอดเวลาที่ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศ นอกจากจะได้ศึกษาเล่าเรียนทางพระธรรมวินัย และปฏิบัติศาสนกิจแล้ว ท่านยังได้ใช้เวลาว่าเท่าที่มีอยู่ ศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เท่าที่นิยมกันอยู่ในสมัยนั้นด้วย เช่น วิชาโหราศาสตร์ เวชศาสตร์ ไสยศาสตร์ เป็นต้น ท่านได้ศึกษาอย่างจริงจัง และยังได้นำเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาช่วยเหลือผู้อื่นในโอกาสต่อมาด้วย เมื่อท่านได้มาครองวัดปากคลองแล้ว ท่านก็ได้ใช้ควมรู้ที่ได้เล่าเรียนมา เช่น ในด้านเวชศาสตร์ อันเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณ เป็นต้น ได้ทำประโยชน์สงเคราะห์ผู้อื่นตลอดมา อีกอย่างหนึ่ง ท่านเป็นผู้มีกฤตยาคมแก่กล้า มีจิตตานุภาพสูง จึงทำให้ท่านเป็นผู้มีเกียรติคุณมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือของชนทุกชั้น ตั้งแต่ราษฏรสามัญชนไปจนถึงข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น พระยาสุรพันธุ์เสนีย์ (อิ้น บุนนาก) สมัยเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ก็ยังเคยมาค้างแรมอยู่สนทนากับท่านที่วัดปากคลองบ่อยครั้ง ครั้งละหลาย ๆ วัน หลวงพ่อโศก ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจของท่าน ช่วยเหลือประชาชนในด้านหยูกยาด้วยความเมตตา มิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย แม้บางครั้งจะได้พักผ่อน หรือจำวัดในเวลากลางคืนแล้วก็ตาม แต่เมื่อใครมีธุระมาหาท่าน และมีเสียงสุนัขเห่าขึ้น หลวงพ่อก็จะลุกขึ้นลงจากกุฏิไปถามไถ่ดู ถ้าเกี่ยวกับเรื่องเจ็บไข้ ก็จะจัดยาให้ทันที เพราะหลวงพ่อมียาสะสมไว้มาก ทั้งยาสมุนไพรและยาสำเร็จรูป ยาต่าง ๆ ของหลวงพ่อ มีไว้แจกจ่ายเป็นทาน ไม่ต้องมีสิ่งตอบแทน แม้ใครจะนำหมากพลู บุหรี่ ของขบฉันติดมาถวายด้วย ก็ไม่ยอมรับ ยกเว้นจะนำมาถวายยามปรกติ หลวงพ่อโศก มียาทุกชนิดที่จำเป็นแก่การรักษาโรค เป็นยาต้มก็มี ยาผง ยาเม็ด ยารักษาตา ยานัตถุ์ น้ำมันมนต์ ยาอุทัย มีทั้งนั้น ยาเหล่านี้ท่านจะขอแรง พระ เณร หรือศิษย์วัด ช่วยกันปรุงสำรองไว้มิให้ขาด สมุนไพรต่าง ๆ ก็หาไว้มากมาย ตั้งวางไว้เต็มห้องบนกุฏิ และที่ปลูกไว้ในวัดก็มีอีกมาก วัดปากคลองในสมัยนั้น จึงเสมือนโรงพยาบาล เพราะมีคนไปขอยาท่านวันหนึ่ง ๆ มิใช่น้อย ยาที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่าน คือ ยาต่อกระดูก เป็นยาต้ม ได้ตำหรับมาจากคุณพ่อตุ้ม จังหวัดลพบุรี ส่วนยาอื่น ๆ เรียนมาจาก คุณตาจวง ญาติโยมมารดา เช่น ยาอินทรเนตร ยาถอนพิษสำแลงมหาชะงัด ยานารายถอนนาคบาศ ยาดำอยุธยา ยาหอมกรี ยาหอมปิ่นโกษ ยาเขียวทหาร ยาอุทัย ยานัตถุ์ และน้ำมันมนต์ เป็น ต้นยาของหลวงพ่อ ได้ช่วยให้ผู้ที่ได้รับอันตรายเกือบถึงเสียชีวิต ให้ได้รอดชีวิตอยู่มากมาย เช่น บางราย กินของพิษสำแลงเข้าไป มีอาการขากรรไกรแข็ง ต้องงัดขากรรไกรเอายากรอกปากก็มี เช่น นายจีนชาวบ้านบางครก พระเจ ธมฺสโร วัดปากคลอง มีเรื่องเล่าว่า หลวงศุภมาตรา อดีตเคยเป็นนายอำเภอ มีความสนใจอยากจะได้ตำรายาต่อกระดูก แต่หลวงพ่อไม่ยอมให้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหลวงพ่อรับปากมาจากเจ้าของเดิม หรืออาจเนื่องมาจากเหตุใดก็ไม่ทราบได้ ในที่สุดคุณหลวงผู้นี้ได้เพียรพยายามและหาวิธีการ จนรู้ตัวยาต่อกระดูกได้เหมือนกัน ครั้นเมื่อนำเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้หลวงพ่อฟัง เพื่อจะได้เป็นการตรวจสอบดูอีกทีหนึ่งว่า ตัวยาต่าง ๆ ที่ทราบมานั้น เหมือนกันกับตำหรับของหลวงพ่อแล้วหรือยัง หลวงพ่อก็บอกไปว่า ได้ไปยังไม่ครบทุกอย่าง คุณหลวงก็ได้เพียรพยายามค้นหาสิ่งที่อาจจะยังขาดอยู่ แต่ก็ยังปรากฏว่าตัวยาเท่าที่ทราบแล้วนั้น มิได้มีอะไรขาดอะไรเกินไปจากที่ตำหรับยาของหลวงพ่อโศกเลย จึงเข้าไปหาหลวงพ่ออีกครั้งแต่ท่านก็ยืนยันเช่นเดิม ในที่สุดคุณหลวงก็ต้องนำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปหาหลวงพ่อฝากตัวเป็นศิษย์ ขอประสิทธิ์ประสาทยาขนานนี้ให้ด้วย หลวงพ่อจึงยอมบอก ว่าสิ่งที่ขาดไปยังไม่ครบนั้น คือ ใบตอง และเฉลวขัดปากหม้อ ส่วนคาถากำกับไม่ทราบว่าได้มอบให้ไปด้วยหรือไม่ ต่อไปนี้ จะขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวยาที่มีชื่อเสียงของท่าน คือยาต่อกระดูก ยาเขียงคอด และยาเบญจเหล็ก ให้ผู้สนใจได้ทราบไว้ ดังนี้ ยาต้มต่อกระดูกของหลวงพ่อนั้น นับว่าเป็นยาที่มีชื่อเสียงลือมาก มีสรรพคุณทางสมานกระดูกได้อย่างอัศจรรย์ยิ่ง ใครได้รับความเดือนร้อน แม้จะอยู่ไกลเท่าใด ก็ต้องขวนขวายมาหาหลวงพ่อให้ประกอบยาให้ เพราะเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ มีอยู่หลายราย ที่มีอาการไม่น่าจะหายก็หายได้ ที่คิดว่าไม่มีทางรอดก็รอดตายหายเป็นปรกติ ดังเช่น คนงานคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวจีน ตกลงมาจากหลังคาโบสถ์วัดปากคลอง ขณะที่ยังกำลังก่อสร้างอยู่ มีอาการหนักมากแทบจะไม่มีทางรอด เมื่อหลวงพ่อต้มยาต่อกระดูกให้กินแล้ว ร่างกายก็ค่อยเป็นปรกติ อาการดีขึ้นจนหาย ต่อมามีเด็กวัดคนหนึ่งถูกลูกกลิ้งบนพื้น บดทับเอาจนตัวแบน ใคร ๆ ก็คิดว่าไม่มีทางรอด ต้องตายแน่ แต่ก็รอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์ด้วยยาต่อกระดูกของหลวงพ่อเช่นกัน ยาต่อกระดูกมีตัวยา 7 อย่าง ดังนี้ หัวปลาช่อนใหญ่ , หัวปลาช่อนเล็ก ,นมราชสีห์ใหญ่ ,นมราชสีห์เล็ก ,เกล็ดหอยใหญ่ ,เกล็ดหอยเล็ก ,ข้าวเย็นเหนือ ยาเหล่านี้นำมาสับ เพื่อบรรจุลงในหม้อดิน เมื่อสับยา ให้เริ่มว่า คาถาสับยา ดังต่อไปนี้ สพฺพา สีวิสชาตีนํ ทิพฺพมนฺตาคทํ วิย ยนฺนา เสติ วิสํ โฆรํ เสสญฺจาปิ ปริสฺสยํ อาณกฺเขตฺตมฺหิ สพฺพตฺถ สพฺพทา สพฺพปาณินํ สพฺพโสปิ นิวาเรติ ปริตฺตนฺตมฺภณาม หาย เมื่อสับยาเสร็จแล้ว ต่อไปจะต้องบรรจุลงหม้อ ดังต่อไปนี้ กอบแรกว่า ดังนี้ สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ โอสถํ อุตฺตมํ วรํ หิตํ เทวมนุสฺสานํ พุทฺธเตเชน โสตฺถินา นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ ทุกฺขา วูปสเมนฺตุ เต กอบที่สองว่า ดังนี้ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ โอสถํ อุตฺตมํ วรํ ปริฬาหู ปสมนํ ธมฺมเตเชน โสตฺถินา นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ ภยา วูปสเมนฺตุ เต กอบที่สามว่า ดังนี้ สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ โอสถํ อุตฺตมํ วรํ อาหุเนยฺยํ ปาหุเนยฺยํ สงฺฆเตเชน โสตฺถินา นสฺสนฺตุปสฺทวา สพฺเพ โรคา วูปสเมนฺตุ เต เมื่อเอายาใส่หม้อแล้ว ใช้ใบตองปิดปากหม้อ ขณะนั้นให้เสกด้วยคาถา ดังนี้ พุทฺธรตนํ ธมฺมรตนํ สงฺฆรตนํ ติณฺณํ รตนานํ อานุภาเวน แล้วนั่งบริกรรมด้วยคาถา ว่าดังนี้ คจฺฉ อามุมฺหิ โอภาเสติ ติฏฺฐาหิ ให้บริกรรม 3-4-5 หน ตามแต่สมควร ต่อไปให้เอาเฉลว ปิดปากหม้อ ให้ตั้งนโม 3 จบ เสร็จแล้วว่าคาถา ดังนี้ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ โดยให้ว่าตั้งต้นจากเฉลงตาแรก และเรียงลำดับไปจนถึงตาที่ 7 ก็เป็นตัวสุดท้ายพอดี นอกจากยาต้มกระดูก หลวงพ่อยังมียาที่มีชื่อเสียง และแก้โรคชะงัดอีกขนานหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เรียกกันว่า “ยาเขียงคอด” ทั้งนี้เพราะยาขนานนี้ มีผู้มาขอต้มบ่อย จนเขียงที่ใช้สับยาถูกสับจนคอดกิ่ว เลยได้รับการขนานนามว่า “ยางเขียงคอด”สรรพคุณ เป็นยาสำหรับสตรี แก้ผอมแห้งแรงน้อย ตัวยามี ดังนี้ โกฐสอ 1 โกฐเขมา 1 โกฐเชียง 1 โกฐหัวบัว 1 โกฐจุฬาลัมพา 1 เทียนดำ 1 เทียนแดง 1 เทียนขาว 1 เทียนข้าวเปลือก 1 เทียนตาตั๊กแตน 1 ดินประสิว 1 ขิงแห้ง 1 ยาดำ 1 คำฝอย 4 ครั่ง 1 สารส้ม 1 ดีเกลือ 2 ใบส้มเสี้ยว 1 ใบมะขาม 1 หญ้าตะกาด 1 รากหญ้าคา 1 แก่นขี้เหล็ก 1 เลือดแรด 1 สมอทั้งสาม 1 มะขามป้อม 1 ดีปรี 1 แก่นแสมทะเล 1 แก่นแสมสาร 1 เถาวัลย์เปรียง 1 ฝาง 1 ยาแก้กษัยต่าง ๆ มีชื่อว่า “ยาเบญจเหล็ก” เป็นยาที่แพร่หลายอีกขนานหนึ่ง มีตัวยาดังนี้ ขี้เหล็กทั้งห้า สิ่งละ 1 สมอทั้งสาม สิ่งละ 1 มะขามป้อม 1 รากตองแตก 1 วันย์เปรียง 1 หัวแห้วหมู 1 เทียนทั้งห้า สิ่งละ 2 โกฐน้ำเต้า 2 ยาดำ 2 บอระเพ็ด 1 ขมิ้นอ้อย 1 ใบมะกา 1 กำมือ ฝักการะพริก 3-4 ฝัก ดีเกลือตามแต่ธาตุหนักเบา แม้จะมิได้มีเรื่องเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่มุ่งหน้าไปหาหลวงพ่อ เพื่อขอเครื่องรางของขลังไว้คุ้มครองป้องกันตัว เพราะหลวงพ่อเป็นพระที่มีอำนาจ ทางกฤตยาคมกล้าแข็งมาก สมัยก่อนสงครามเอเซียบูรพา พ.ศ.2481 นั้น หลวงพ่อโสก เคยได้รับอาราธนาให้ไปปลุกเสกแหวนนพเก้าและเหรียญรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ที่วัดราชบพิตร พระนคร ร่วมกับพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาแล้ว ท่านจึงเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดังมากในสมัยนั้น บรรดาเครื่องรางของขลัง ที่ท่านทำขึ้นเพื่อแจกจ่าย ผู้ที่เคารพนับถือในหลวงพ่อนั้น มีหลายอย่างเฉพาะที่มีผู้นิยมและมีชื่อเสียงแพร่หลายได้แก่ พระเครื่อง เหรีญ รูป ผ้ายันต์ ตะกรุด พระขรรค์ ปลัดขิก (ของขลัง) พระเครื่องนั้นทำไว้เพียงเล็กน้อย เป็นเนื้อเกสรและเนื้อชิน โดยเฉพาะเนื้อชิน ท่านนำโลหะมาจากลพบุรี ส่วนเหรียญต่าง ๆ ทำไว้หลายรุ่น เหรียญรุ่นแรก ออกในงานทำบุญวันเกิด และฉลองตราตั้งอุปัชฌาย์ พ.ศ.2465 เหรียญรุ่นนี้มีผู้เข้าใจกันว่าเป็นเหรียญหลวงพ่อฉุย ทำนองหลวงพ่อโศกจะทำขึ้นถวายหลวงพ่อฉุย ลักษณะของเหรียญ เป็นเนื้อโลหะทองเหลืองและเนื้อชิน เรียกกันในหมู่ลูกศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือว่า พระจันทร์ครึ่งซีก เพราะกึ่งกลางเหรียญทำเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว เหนือพระจันทร์เป็นอุณาโลม ข้างล่างพระจันทร์เขียนคำว่า อุ ทั้งหมดนี้มีผู้อธิบายดังนี้ อุณาโลม หมายถึง พระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว สายรัดตัณหาของท่านไม่กำเริบ ไม่วอกแวกเหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป รูปพระจันทร์นั้น หมายถึง ผู้ที่ให้แสงสว่าง คือปัญญา ส่วน อุ ใต้พระจันทร์ หมายถึง อุปัชฌาย์ เป็นผู้ชี้ช่องทางอัฏฐังคิกมรรค คือ มรรคอันมีองค์ 8 เพื่อดำเนินชีวิตไปตามมัชฌิมาปฏิปทา เหรียญรุ่นนี้ชาวอิสลามต่างก็มีใช้กัน นับถือยกย่องในความศักดิ์สิทธิ์ และยังพากันกล่าวสรรเสริญว่า หลวงพ่อโศก เป็นผู้เฉลียวฉลาด รู้จักนำเอาสัญลักษณ์ในศาสนาอิสลาม มาบรรจุไว้ในรูปเหรียญ เหรียญรุ่นที่สอง เป็นรูปเสมา มีทั้งชนิดเงินและทองแดงชุบเงิน ออกเมื่อ พ.ศ.2468 เนื่องในงานสร้างอุโบสถ เหรียญรุ่นที่สาม เป็นเหรียญรูปขนมเปียกปูน มีทั้งเงินและทองแดง ออกมื่อ พ.ศ.2476 เนื่องในงานฝังลูกนิมิตอุโบสถ เหรียญรุ่นที่สี่ เป็นเหรียญรูปไข่ มีทั้งที่เป็นเงินและทองแดงชุบเงิน ออกเมื่อ พ.ศ.2478 ในงานยกช่อฟ้าอุโบสถ นับเป็นเหรียญรุ่นสุดท้าย นอกจากเหรียญต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว หลวงพ่อได้ทำผ้ายันต์และตะกรุดต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น ผ้ายันต์ราชสีห์ ยันต์บัวคว่ำบัวหงาย ตะกรุดจันทร์เพ็ญ ตะกรุดจันตรี ตะกรุดสามเพ็ง (เพ็ญ) ตะกรุดโทน ตะกรุดมหาอุด เป็นต้น ผ้ายันต์และตะกรุด ช่วยให้เกิดคุณวิเศษทางเมตตา มหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง ของป้องกันตัว ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อ ก็คือ พระขรรค์,ปลัดขิก ทั้งพระขรรค์และปลัดขิก ต่างเป็นที่ปรารถนาของศิษย์ และผู้สนใจทั่วกันโดยเฉพาะปลัดขิก มีผู้เชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์มาก ดังมีคำพูดเป็นข้อความคล้องจากกันว่า “คุณพ่อโศกช่วยเอาเข้า คุณพ่อวัดเขาช่วยเอาออก” ปลัดขิก ของหลวงพ่อ ทำด้วยเขาควายและไม้คูนตายพราย ลงอาคมด้วยหัวใจโจร ปลุกเสกเฉพาะในวันเสาร์ มีอานุภาพทางเสน่ห์ ขับล่าภูตผี ซื้อง่ายขายดี ทำให้คลอดลูกง่าย สุนัขกัดไม่เข้า ถอนพิษปลายอกแมลงขบกัด โดยเอาฝนกับน้ำมะนาว และป้องกันสรรพอันตรายร้อยแปด แม้แต่ผู้หญิงที่เป็นสุภาพสตรีหลายต่อหลายท่าน ก็แสวงหาของชิ้นนี้ไว้ใช้ด้วยเหมือนกัน ผู้ที่นำเอาของเหล่านี้ของท่านไปใช้และบังเกิดผลดีนั้น มีตัวอย่างพอจะอ้างได้อยู่มากราย แต่จะขอเว้น เพราะไม่สามารถนำมากล่าวได้หมดในที่นี้ นอกจากงานในด้านช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนแล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติงานทางด้านบริหารคณะสงฆ์ มีการศึกษาการเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการปกครองควบคู่กันไป กิจการคณะสงฆ์ในความบังคับบัญชาของท่าน ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กล่าวคือ ในด้านการศึกษาเล่าเรียนในวัดปากคลองนั้น หลวงพ่อโสกท่านมีความสนใจ เอาเป็นธุระมิได้ทอดทิ้ง ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ก่อนอื่นท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างเสนาสนะของวัด ให้แข็งแรงเป็นระเบียบ และพอเพียงแก่การอยู่อาศัย ในตอนหลังก็ยังได้สร้างอุโบสถและหอสวดมนต์ (สองชั้น) ขึ้นอีก เมื่อมีอาคาร พอที่จะเปิดเป็น สำนักเรียนได้แล้ว ท่านก็ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมขึ้น สมัยนั้นเป็นระยะเริ่มแรกที่มีโรงเรียนสอนปริยัติธรรม เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพิ่งทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2456 การเรียนจึงยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก ทั้งครูที่จะสอนก็หายาก หลวงพ่อโสกเปิดสำนักเรียนขึ้นแล้ว ท่านก็ได้กำเนินการสอนเอง ครั้นเมื่อทางราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2464 ท่านก็ได้ร่วมมือกับทางราชการเป็นอย่างดี มอบศาลาบำเพ็ญกุศลของวัด เปิดเป็นโรงเรียนประชาบาลวัดปากคลองขึ้น มีนายซื้อ เป็นครูใหญ่ คนแรก ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ท่านพระครูฯ ก็ได้ร่วมมือกับ นายสุด ศุทธยาลัย คหบดี สร้างอาคารเรียน สองชั้นอีกหลังหนึ่ง และยังได้ใช้เรียนอยู่จนทุกวันนี้ หลวงพ่อโศก เป็นผู้มีใจบุญกุศล ได้ทำบุญบริจาคทานอยู่เสมอ เช่น ในเทศกาลทอดกฐินก็ได้ทอดกฐินเป็นประจำเท่าที่ทราบก็มี วัดท่าขวิด วัดในกลาง วัดลักษณาราม วัดต้นสน วัดศีรษะคาม วัดปากลัด เป็นต้น หลวงพ่อท่านเป็นผู้ไม่ชอบอยู่เฉย ท่านจึงเป็นผู้มีความสามารถหลายด้าน เช่น ในด้านโหราศาสตร์ก็เล่าเรียนมาและมีชื่อเสียงเหมือนกัน ด้านงานจิตรกรรมก็ทำได้เป็นอย่างดี ได้วาดภาพชาดก ภาพปฐมสมโภช ภาพไตรภูมิ และภาพอธิบายสุภาษิตต่าง ๆ ไว้มาก ขณะนี้ยังมีผลงานบางชิ้นเหลืออยู่บ้าง เช่น ที่ศาลาการเปรียญวัดปากคลอง หลวงพ่อเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมากองค์หนึ่ง เพราะมีสำนวนโวหาร และปฏิภาณเป็นที่ชื่นชอบของสาธุชนทั่วไป พระยาสุรพันธุ์ ท่านก็ชอบฟังเทศนาของหลวงพ่อด้วยผู้หนึ่งเหมือนกัน ครั้งหนึ่ง ท่านได้จัดให้มีเทศน์ปฐมสังคายนาขึ้น ประกอบด้วยพระอันดับ 500 รูป โดยท่านเป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนาเอง ท้ายแห่งพระธรรมเทศนาครั้งนี้ ท่านได้ขอบิณฑบาตปัจจัยแด่พระอันดับทั้งนั้น เพื่อทำบุญสร้างสะพานราษฎร์รังสรรค์ร่วมกับญาติโยมทั้งหลาย ด้วยวิธีการอันแนบเนียนของท่าน ทำให้ได้กองทุนเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก หน้าที่ทางคณะสงฆ์ของท่านพระครูอโศกธรรมสาร (โสก) พอประมวลเป็นลำดับมา ได้ดังนี้ 1. เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2447 2. เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลอง ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2448 3. เป็นเจ้าคณะหมวด ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2456 4. เป็นพระอุปัชฌายะ พ.ศ.2465 5. เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูอโศกธรรมสาร เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ.2478 6. เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม พ.ศ.2478 7. พระครูอโศกธรรมสาร (โศก) เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนไว้มาก ตลอดเวลาท่านได้ปฏิบัติตนเพื่อเกื้อกูลผู้ดื่นตลอดมา เป็นพระที่มีสมณวัตรดีงาม บิณฑบาตเป็นนิจ ทำวัตรเช้าเย็นสม่ำเสมอ ฟังปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือนมิได้ขาด เป็นผู้มักน้อย ฉันอาหารมื้อละประมาณ 3 ฟายมือ กลางคืนเสร็จกิจแล้วก็ทำสมาธิอีกเป็นปรกติวิสัย ไม่มัวเมาในโลกะรรมใด ๆ เป็นผู้ได้เล่าเรียนและฝึกฝนตนเองมาดี เป็นผู้เฉลียวฉลาด เป็นพหูสูต มีปฏิภารโวหาร มีหลักในการอบรมสั่งสอนผู้อื่น สามารถบริหารกิจพระศาสนา และอำนวยคุณประโยชน์เป็นอเนกประการ 8. เป็นผู้ทรงวิทยาคุณ มีจิตตานุภาพและกฤตยาคมกล้าแข็ง ได้สั่งสอนและอุปสมบทกุลบุตร ไว้มากจึงเป็นที่เคารพนับถือแก่มหาชนแพร่หลายไพศาล ด้วยเกียติคุณดังกล่าวมานี้ ท่านจึงได้ดำรงฐานานุศักดิ์สูงขึ้น ตำแหน่งสุดท้ายของท่าน คือได้เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม เมื่อปี พ.ศ.2478 นับว่าท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอองค์แรกของอำเภอนี้ ดำรงตำแหน่งอยู่ในเขตของตน เพราะแต่ก่อนมานั้น เจ้าคณะจะอยู่ใจเขตอำเภออื่น เช่น พระครูญาณวิมล (แดะ) วัดใหญ่สุวรรณาราม พระครูสุชาตเมธาจารย์ (กุน) วัดพระพุทะไสยาสน์ พระครูญาณพิลาศ (ชิต) วัดมหาธาตุ ท่านพระครูอโศกธรรมสาร (โศก) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลมอยู่เพียง 4 ปี ก็มาด่วนมรณภาพเสียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 เวลา 11.55 น. ด้วยโรคลมปัจจุบัน สิริรวมอายุได้ 67 ปี พรรษา 47 ครองวัดปากคลองอยู่ 34 พรรษา นับว่าเป็นการสูญเสียพระสังฆาธิการที่ดี และหาได้ยากยิ่งรูปหนึ่งของเมืองเพชร แม้รูปกายของท่านจะแตกดับ แต่นาม ชื่อเสียงคุณธรรมความดี ยังคงปรากฏอยู่ และเป็นที่สรรเสริญสืบไป วัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นเหรียญพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พระขรรค์ ปลัดขิก ผ้ายันต์ และวัตถุที่เป็นมงคลอื่น ๆ ลูกศิษย์ลูกหาผู้ใกล้ชิด และประชาชนทั่วไป ได้นำไปบูชาพกพาอาราธนาติดตัว มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์เยอะมากมาย วัตถุมงคลของท่านโดดเด่นในเรื่องคงกระพันชาตรี สยบภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไร แคล้วคลาดปลอดภัย จากภัยพิบัติ ไม่ว่าจะมาจากน้ำมือของเทวดา มนุษย์ และผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ก็มลายหายสิ้นอย่างสิ้นเชิง ส่วนเรื่องราคานั้นบางอย่างแพงมาก ๆ การที่ท่านจะเช่าหาบูชาไว้เป็นสมบัติ ของตัวเอง โปรดหาผู้รู้ ผู้ชำนาญ และข้อสำคัญท่านต้องมีความพร้อมใช้สติพิจารณาให้รอบคอบ และท่านจะไม่พบกับความผิดหวัง ในเรื่องของวัตถุมงคลของหลวงพ่อโศก แห่งวัดปากคลองบางครก

ราคา :
 โทรถาม
โทรศัพท์ :
 0835158490, 0835158490
วันที่ :
 4/01/21 15:10:11
 
 
พระขรรค์อันดับ1เมืองไทย เก่าจัดตัวจริง พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.