ใช้ผงเดียวกับปิดตาโคตรผงของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ทุกประการโดยความร่วมมือและขออนุญาติจากคุณชินพรก่อน ข้อมูลจากลูกผู้สร้างแจ้งว่าต้องการสร้างพระให้เหมือนกับปิดตาหลวงปู่ทิม(เพราะใช้พิมพ์เดียวกัน) แต่เกศานั้นบรรจุเฉพาะของท่านหลวงปู่แหวนเท่านั้น(เพื่อระลึกถึงอาจารย์ของผู้ๆนั้น) สร้างไม่ถึงสิบองค์
ตามหลักฐานคือว่า สร้างระหว่างการเททองกริ่งอรหังของหลวงปู่แหวน (กริ่งอรหังเททองเมื่อ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๑๗) และ กริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม (กริ่งชินบัญชรหลวงปู่ทิมเททองเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๑๗
หากอ้างอิงคำพูดของอาจารย์ชินพร ในเวปอิทธิญาโณ คงได้ดังนี้
พระปิดตาจัมโบ้ ขนาดใหญ่ นี้ ถ้าจะพูดว่า สร้างก่อนพระกริ่ง ชินบัญชร ก็น่าจะได้ และก็คงไม่ผิด ก่อนที่ผมจะได้พบและรู้จักกับหลวงปู่ทิมปลายปี ๒๔๑๖ ต่อต้นปี ๒๕๑๗ ผมเป็น บรรณาธิการหนังสือ อภินิหารและ พระเครื่อง ได้ลงเรื่องและลงข่าวการ สร้างพระเครื่องของหลวงปู่แหวนพระอริยสงฆ์แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งมีคณะของคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์, นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์, คุณเดชา ศิริรัตน์ อดีตผู้อำนวยการเขต หนองจอกและพระอาจารย์ทองเจือแห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งได้รวมกัน สร้างพระกริ่งอรหังและพระเครื่องต่างๆ ของหลวงปู่แหวน ในยุคต้นๆผมได้ขึ้นไปวัดดอยแม่ปังกับคณะของนายแพทย์สุพจน์ หลายครั้ง หลายหนจึงคิดที่จะทำพระปิดตาไว้ใช้กัน สักพิมพ์หนึ่ง เอาให้มีขนาดใหญ่และ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่เหมือนใคร และอยากให้มีขนาดใหญ่ คล้ายๆ กับ พระปิดตาของหลวงปู่รอด หรือ พระ ภาวนาโกศล เถระ (รอดวัดหนัง) หรือขนาดพอๆ กับพระปิดตาไม้แกะของ สมเด็จพระสังฆราชอยู่ ญาโณทัย วัดสะเกศ
ครับ ต่อไปนี้เป็นคำพูดของผม คาดว่าในขณะนั้นกลุ่มผู้สร้างบางท่านคงติดต่อกันและให้ความเคารพกันและหาของที่ดีสำหรับครูบาอาจารย์ของแต่ละท่านกัน ณ เวลานั้นจึงมีการสร้างวัตถุมงคลเป็นการภายในตามมาอีก ไม่ว่าปิดตาไม้แกะของหลวงปู่แหวนอันทำตามคติของปิดตาไม้แกะของสมเด็จพระสังฆราชฯ ไว้ใช้กันเอง
ส่วนผงต่างๆที่นำมาสร้างปิดตาโครตผงจะมีต่างๆดังนี้ (อ้างอิงเวปอิทธิญาโณ)
ผงที่จะนำมาสร้างเป็นองค์ พระก็ได้รวบรวมและแสวงหากัน มากมายมีผงหักและเศษผงพระที่เหลือ จากการแกะเศษพระสมเด็จวัดระฆังวัดใหม่ ซึ่งได้มาจากนายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้นำชิ้น และ เศษพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่ วัดเกศไชโย หักๆ มาให้แกะเป็นพระ สมเด็จองค์เล็กๆ เศษผงที่เหลือพวกผมก็ขอมาและเก็บรวบรวมไว้และหามาจากที่ต่างๆ อีกส่วนแม่พิมพ์พระปิดตานั้นผม ได้ขอให้คุณปราโมทย์ มาเจริญ ใน ขณะนั้นทำงานเป็นช่างศิลป์อยู่กับผมที่ กรมชลประทาน เป็นผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์คุณปราโมทย์ได้เอาดินน้ำมัน มาปั้นเป็นรูปพระปิดตาขึ้น และเอามา ให้ผมดูผมเห็นว่าสวยและชัดเจนดี และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่ได้ ลอกเลียนแบบของใครคุณปราโมทย์ ก็เลยเอาปูนปลาสเตอร์มาถอดพิมพ์ ให้เป็นแม่แบบไว้แล้วเอาผงพุทธคุณ ต่างๆ ที่เก็บรวบรวมไว้ผสมกับผงพระ หักๆ และชำรุดสร้างพระปิดตาได้ ๙ องค์ แล้วผมได้นำไปให้หลวงปู่แหวน ปลุกเสก เมื่อครั้งที่คณะของ คุณเดชา, หมอสุพจน์ ศิริรัตน์ ขึ้นไปเททองหล่อ พระกริ่งอรหังบนดอยแม่ปั๋งเสร็จแล้ว แบ่งกัน ไว้ใช้ระหว่างเพื่อนฝูงคนละองค์ สององค์ แล้วก็ไม่ได้สร้างพระปิดตา พิมพ์นี้อีกเพราะการจะสร้าง หรือกด พิมพ์ให้เป็นองค์พระแต่ละองค์ลำบากมาก จะทำได้ทีละองค์ต้องเสียเวลามาก จึงทำครั้งแรกเพียง ๙ องค์เท่านั้น
ครับ ต่อไปเป็นคำพูดของผมต่อ คงแสดงได้ว่าพระชุดนี้สร้างและปลุกเสกโดยคณาจารย์สองฝ่ายหรือแต่ละฝ่ายข้าพเจ้าไม่อาจยืนยันได้ แต่ ๆ ละฝ่าย ๆ คงดำเนินรอยตามครูบาอาจารย์ที่ดำเนินมา กระผมไม่อาจทราบได้จนกว่าจะมีข้อมูลเข้ามาใหม่
จบบันทึกเมื่อ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ ก่อน ครบรอบเททองยี่สิบหกปีของการเททองสร้างกริ่งอรหังและกริ่งชินบัญชร
พระองค์นี้จึงสรุปไม่ได้ว่า อยู่ในชุดเก้าองค์ที่กดก่อนพิธ๊เททองกริ่งชินบัญชร หรือหลังจากนั้น(ในชุดอาจารย์ทองเจือสร้างเพิ่มอีก ๒๐๐ องค์) แต่น่าอนุโลมได้ว่าน่าจะเป็นชุดเก้าองค์เนื่องจากยังไม่ได้เซาะแม่พิมพ์ให้ชัดและลึกกว่าเดิมแต่เม็ดที่ฝังไว้ด้านหลังนั้นก้อทำให้น่าคิด |