พระอุปคุต ปางจกบาตร ศิลปะมอญพม่า ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 2 นิ้ว x สูง 4 นิ้ว พระอุปคุตปางจกบาตร หยุดตะวัน เป็นปางที่พระอุปคุตแหงนหน้าหยุดพระอาทิตย์เพื่อฉันข้าว แสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์มีกินมีกินมีใช้ แม้แต่พระอาทิตย์ ก็ต้องหยุดด้วยอานุภาพของท่าน นิยมสร้างพระอุปคุตปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับท่านผู้ทำจิตให้นอบน้อมบูชาสักการะองค์พระอุปคุตมหาเถระปราบมาร ทำสิ่งใดไม่ว่าจะมีปัญหา มากแค่ไหน ก็สำเร็จทุกประการ
ชาวล้านนามีประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน (บูชาพระอุปคุต) หรือที่เรียกกันว่า “ประเพณีเป็งปุ๊ด ” คำว่า “เป็ง” เป็นคำพื้นเมือง มีความหมายว่า คืนวันเพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง) กล่าวคือ พระภิกษุสามเณรในเมืองจะออกบิณฑบาตในช่วงเที่ยงคืน ในทุกปีที่มีวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในเดือนใด การใส่บาตรเที่ยงคืนของคนไทยทางภาคเหนือนี้ ต่างเชื่อกันว่าพระอุปคุตพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มากจะออกจากการจำพรรษาเหาะขึ้นมาจากมหาสมุทร (หรือสะดือทะเล) โดยจะแปลงกายเป็นสามเณรน้อย ออกมาโปรดสัตว์ เชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้ว บุคคลผู้นั้นจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี บังเกิดแต่สิ่งดีที่เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
* ขอขอบคุณ : คุณณัฐพล โอจรัสพร (เต้ สยามโบราณ)
|