ตะกรุดที่สร้างขึ้นเพื่อแจกให้ลูกศิษย์นำไปใช้เพื่อป้องกันเขี้ยวกันงาเดินทางไปไหนป้องกันฝีสางนางไม้กันแมลงและสัตว์มีพิษต่างๆ ได้อย่างครอบจักรวาล ในการสร้างตะกรุดปรอทยุคต้นครูบาชุ่มท่านจะนำแผ่นทองแดงที่ได้จากการทุบ หรือ จากการรีดด้วยเครื่อง นำมาลงอักขระตามที่ท่านได้ร่ำเรียนจากตำราที่ถูกสืบทอดมาจากครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ เมื่อลงอักขระเลขยันต์บนตะกรุดเรียบร้อยแล้ว ท่านจะม้วนตะกรุดทองแดงไว้ด้านในแล้วนำปรอทที่ได้จากการหุงมาหุ้มตัวตะกรุดทองแดงอีกครั้ง แล้วจะนำมาร้อยด้วยเชือกจะทำเป็นสร้อยห้อยคอ หรือ คาดเอวก็สุดแล้วแต่ผู้บูชาจะต้องการแบบไหน ครูบาชุ่มท่านจะนำปรอทที่ท่านดักได้จากธรรมชาติ นำมาหุงตามกรรมวิธีของท่าน การทำตะกรุดปรอท ครูบาชุ่ม ยุคต้นสีผิวตะกรุดจะด้านๆไม่เงามีรูปทรงและขนาดแตกต่างกันหลายแบบ แต่มักจะมีเอกลักษณ์ประจำตัวคือจะมักจะมีผิวขรุขระด้านในมักจะเห็นตะกรุดทองแดงโผล่ออกมาให้เห็นได้ชัด บางดอกทำพิเศษมีหนังควายตายในท้องนำมารวมด้วยซึ่งมักจะพบเห็นได้น้อยมากครับ ผิวปรอทยุคต้นมักจะไม่ค่อยมีความมันวาวนักส่วนตะกรุดปรอทยุคกลางและยุคปลายที่มักจะมีความมันวาวมากกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ยังคงมีผิวขรุขระเหมือนกับยุคต้น ส่วนฝ้ายที่ใช้ก็จะใช้ฝ้ายเป็นสีขาวและสีเหลืองในยุคต้นไม่มีข้อยุติซึ่งส่วนมากจะฟั่นด้วยผ้าจีวรเก่าหรือผ้าสังฆาฏิที่เหลือนั่นเอง ส่วนยุคกลางและยุคปลายก็จะใช้ฝ้ายโรงงานมีสีแดง หลักการพิจารณาในการแยกยุคของตะกรุดมักจะมีวิธีในการดูหลายสิ่งนำมาประกอบกัน อย่าดูที่อย่างใดอย่างหนึ่งนะครับขอให้ดูทุกรายละเอียดนำมาพิจารณารวมกัน ต้องการดูความเก่าใหม่ให้เป็นนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นหัวใจพื้นฐานของการดู ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรางหรือการดูพระเครื่องก็ต้องอาศัยหลักการพิจารณาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะจะบอกถึงอายุและความเก่าได้อย่างชัดเจน จะแยกว่าเป็นยุคใดก็ต้องดูของกันจริงเยอะๆครับแล้วจะแยกแยะได้เองด้วยความชำนาญ ส่วนตะกรุดปรอทที่มีความคล้ายคลึงกับตะกรุดปรอทครูบาชุ่มคือตะกรุดปรอทของทางภาคกลางครับมีลักษณะเหมือนกันข้างๆมียันต์เป็นตัวขอมและด้านในมักจะไม่มีตะกรุดทองแดง บางท่านอาจจะสับสนนึกว่าเป็นของครูบาชุ่มก็ได้ครับ ในการดูเครื่องรางของขลังไม่ยากอย่างที่คิดครับถ้าเราเห็นของจริงบ่อยๆถามผู้รู้และศึกษาข้อมูลมากๆครับ
|