“พระวัดคู้สลอด” เนื้อผงน้ำมัน องค์นี้เป็นพิมพ์หนุมาน พระสวยเดิมๆ แท้ดูง่ายไร้อุดซ่อม น่าบูชามากๆครับ
สามารถบูชาแทนพระเนื้อดินหลวงพ่อปานที่ราคาหลายๆหมื่นจนไปถึงล้านได้เลย เป็นพระอีกรุ่นที่หลวงพ่อปานปลุกเสก ประวัติชัดเจน และอนาคตไกล ปัจจุบันพระที่หลวงพ่อปานเสกราคาพุงสูงเกือบทุกอย่าง อาทิ กรุวัดดงตาลที่คาดว่าหลวงปานเสกปัจจุบันราคาไปไกลริบหลายๆพันถึงหมื่นไปแล้ว ดังนั้นพระกรุคู้สลอดจึงน่าบูชาและน่าสะสมเป็นอย่างมากครับ
ประวัติ
พระอาจารย์พงษ์ เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อมา หลวงพ่อปาน ได้ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดคู้สลอด ที่ว่างลงพระอาจารย์พงษ์ เห็นว่า เสนาสนะต่างๆ ภายในวัด ชำรุดทรุดโทรมมาก จำเป็นต้องบูรณะซ่อมแซมให้แข็งแรงมั่นคง เพื่อให้พระสงฆ์ และชาวบ้านได้ใช้ประกอบพิธีต่างๆ อย่างสะดวก จึงได้สร้างพระเครื่องขึ้นมารุ่นหนึ่ง เพื่อหาทุนทรัพย์ในการบูรณะวัดพระเครื่องที่สร้างได้ใช้ผงวิเศษที่ พระอาจารย์พงษ์ ได้รวบรวมไว้ รวมกับผงวิเศษที่ หลวงพ่อปาน ใช้อุดพระเครื่องพิมพ์ทรงรูปสัตว์ 6 ชนิด ที่ท่านสร้างขึ้น และยังได้ผสมน้ำมันเพื่อให้เนื้อพระหนึกนุ่ม (ที่เรียกว่า “พระผงน้ำมัน”)พระวัดคู้สลอด สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2465 (พระหลวงพ่อปาน สร้างประมาณ พ.ศ.2460) พิมพ์ทรงคล้ายกับพระหลวงพ่อปาน 6 พิมพ์ คือ พิมพ์ทรงไก่, พิมพ์ทรงหนุมาน, พิมพ์ทรงครุฑ, พิมพ์ทรงเม่น, พิมพ์ทรงปลา และพิมพ์ทรงนก โดยเพิ่มขึ้นใหม่อีก 2 พิมพ์ คือ พิมพ์จันทร์ลอย และพิมพ์สมเด็จ
เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้ว พระอาจารย์พงษ์ ได้นิมนต์ หลวงพ่อปาน ปลุกเสกพระชุดนี้ที่วัดคู้สลอด จากนั้นได้ให้ชาวบ้านทำบุญบูชา จนได้เงินจำนวนหนึ่งใช้จ่ายในการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดคู้สลอด จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
พระอาจารย์พงษ์ เห็นว่า ยังมีพระเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง จึงได้นำลงบรรจุกรุในเจดีย์ใหญ่ทั้งหมด พระอาจารย์พงษ์เป็นเจ้าอาวาสต่อมาอีกระยะหนึ่งก็ลาสิกขา ออกไปใช้ชีวิตแบบฆราวาส มีครอบครัว จนถึงแก่กรรม
พระวัดคู้สลอด เป็นพระเนื้อผงน้ำมัน มีอานุภาพทางเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นหลัก สมัยก่อนความนิยมยังไม่แพร่หลาย ราคาไม่แพง ต่อมาเมื่อ พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงสัตว์ 6 ชนิด มีราคาสูงขึ้น ทำให้นักสะสมพระเครื่องหันมาเช่าหา พระวัดคู้ลอด มากขึ้น ส่งผลให้ราคาก็สูงขึ้นด้วย เหตุที่มีผู้สนใจสะสมบูชา พระวัดคู้สลอด กันมากขึ้น ก็เพราะเห็นว่าเป็นพระที่ หลวงพ่อปาน ได้ปลุกเสก อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์จึงย่อมเหมือนกับ พระหลวงพ่อปาน 6 พิมพ์ทรงรูปสัตว์ นั่นเอง
|