พระอสุรินทะราหูพระบรมโพธิสัตว์ (คู่เล็ก)
แบบคู่ฝาสุริยะประภา-จันทระประภา ปี2560
สร้างโดยพระอาจารย์ อภิวัฒน์ อินฺทวณฺโณ
วัดทุ่งโป่ง(พระเจ้าระแข่ง) เมืองปาย จ.แม่ฮ่องสอน
ชิ้นนี้เป็นคู่เล็กออกให้บูชาเพียง 39คู่ครับ
แกะจากกะลาตาเดียวลงรักปิดทองแท้สวยงาม
ขนาดสูง4.2cm. กว้าง3.5cm.
เลี่ยมเงินหนาๆฝังพลอย พร้อมใช้ครับ
-----------------------------------------------
.....กะลาราหูคู่นี้สร้างตามตำราเดิมของครูบานันทะ(ละ)คณาจารย์ผู่เฒ่าแห่งเมืองปาย ตำรากล่าวไว้ว่าสมัยก่อนพุทธกาลได้มีมหาฤษี2องค์อาศัยอยู่บนภูเขา ชื่อว่าคันธวัณณ์บรรพต ได้เล็งเห็นความทุกข์ยากอดอยากของคนทั้งหลายแล้วมีจิตคิดเมตตาอยากช่วยเหลือคนทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์ไร้เข็ญใจทั้งปวงจึงได้ผูกพระมหายันต์ทั้ง2ลูกนี้มอบแก่คนทั้งหลายนำไปสักการบูชา เมื่อพระมหายันต์ทั้ง2ลูกนี้ ไปประดิษฐานอยู่ที่ไหนก็มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยทรัพย์สมบัติเงินทองทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายก็มาปกปักรักษาอำนวยพรแก่ผู้สักการะบูชาให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป คาถาสวดบูชาพระอสุรินทะราหูบรมโพธิสัตว์ว่าดังนี้
“เนนธะมันเต อัสสะกัจจะมัสสะลี ชิรัสสานังมะขะทัง กะซะลินี สัวรัสสะติ มะจิมะขะ คัพภีนิรัมปะทัตวา ถะสาติ”
หากท่านมีความประสงค์ทางค้าขายให้สักการบูชาด้วยดอกไม้ของหอมแล้วสวดพระคาถาดังกล่าว แล้วไปค้าขายดีแล หากจักไปรบศึกสู่ที่ประจัญบานให้นำกะลาสุริยะปัพภาแช่น้ำมันงา เสกด้วยพระคาถาดังกล่าว ทาตัวแล้วไปชนะข้าศึกศัตรูแล แช่น้ำมันจันท์ทาหน้าไปหาผู้ใหญ่แม้นท่านโกรธก็หายแล ผู้หญิงเกิดลูกยากแช่น้ำกินแลลูบหัวก็เกิดง่ายแล วัวควายบ่กินหญ้าแช่น้ำให้กินก็ดีมาแล เจ็บหัวตามัวตาฟางแช่น้ำกินแช่น้ำนมคนหยอดตาก็แจ้งมาแล ไฟไหม้น้ำร้อนลวกแช่น้ำปูนใสทาก็หาย แช่น้ำผะผายพรมประตูบ้านเรือนโจรผู้ร้ายภูติผีปีศาจสัตว์ร้ายบ่เข้าได้แล ผิว่าเขาจักกระทำร้ายแก่เราให้เขียนชื่อเขาแล้วเอากะลานี้ทับไว้ก็บ่กระทำร้ายแก่เราได้แล จักแรกไร่นาทำสวนแช่น้ำผะผายไปทั่วข้าวกล้าพืชพันธุ์ก็งอกงามแล อยากให้พ่อแม่ครูอาจารย์เจ้านายผู้ใหญ่รักเราสวดบูชาวันอาทิตย์ อยากให้ผู้หญิงรักสวดบูชาวันจันทร์ อยากมียศศักดิ์วาสนาชนะข้าศึกศัตรูผู้คิดร้ายสวดบูชาวันอังคาร อยากร่ำรวยมีเงินทองให้สวดบูชาวันศุกร์ อยากให้เป็นที่รักแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายสวดบูชาวันเสาร์ พระมหายันต์ทั้งสองลูกนี้ตั้งไว้ ณ ที่ใดก็ประดุจดั่งแก้วมณีโชติ(แก้วสารพัดนึก)แห่งพระยาจักกะวัตติราช(พระมหาจักพรรดิ)นั้นแล ทั้งหมดนี้แปลจากตำราเดิมของพระครูบานันทะ(ละ)ท่านได้จดจารไว้ดังนี้แล
|