เหรียญหล่อชินราชหลวงพ่อโม วัดสามจีน เนื้อชินตะกั่ว พระสวยสมบูรณ์มาก
เหรียญที่ “นักเลงเก้ายอด” VS “นักเลงย่านวัดสามจีน” ชนกันในอดีต
กล่าวขานกันว่าคือ "ชินราชใบเสมาแห่งเมืองหลวงเลยทีเดียว" องค์นี้ได้ความสวยงามในการหล่อ หน้าตาและพระวรกายองค์พระติดคมชัด รวมถึงเส้นสายรายละเอียดรวมถึงฐานบัวมีความคมลึก แลดูเข้มขลังยิ่งนัก
เหรียญหล่อชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว ด้านหลังมีร่องรอยและริ้วลาย ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาของพระรุ่นนี้
พระเครื่องที่ในอดีตกาลกล่าวขวัญสนั่นในความเข้มขลัง อัดแน่นด้วยพลังเวทย์ มหิทฤทธิเดช เสกเป่าด้วยมนต์ขลัง จากหลวงพ่อโมคณาจารย์ลือนาม อีกทั้งอายุอานามพระชินราชวัดสามจีน ก็ยังไปร่วมสมัยกับพระทรงสี่เหลี่ยมประภามณฑลของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า อีกด้วย ดังนั้นถ้าจะนำไปใช้แขวนบูชาแทนพระปู่ศุข ก็ไม่แปลกอะไร อีกทั้งสนนราคายังแตกต่างกันอย่างมากอีกด้วย
องค์นี้จัดว่าเป็นองค์ที่มีสภาพสวยและหายาก เป็นบล็อคที่สร้างในยุคแรกหรือรุ่นแรกเลยก็ไม่ผิด ครั้นต่อมามีออกมาอีกในยุคหลัง ซึ่งจะเป็นพิมพ์หน้าเล็ก
พระพุทธชินราชหลวงพ่อโม วัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรในปัจจุบัน ที่คนรุ่นเก่ารู้จักดี โดยเฉพาะผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น “นักเลง” ที่ชอบก่อเหตุยกพวกตีกัน นั้นนิยมกันพระรุ่นนี้กันมาก เพราะในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้นกรุงเทพฯ มีนักเลงหลายก๊กหลายพวกอย่างเช่น “นักเลงเก้ายอด” หรือพวก “ลั่กก๊ก” นักเลงพวกนี้นอกจากใจถึง และไม่กลัวใครแล้ว ว่ากันว่าแต่ละคนยังหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า รวมทั้ง “นักเลงย่านวัดสามจีน” ก็เป็นอีกพวกที่ไม่มีใครอยากข้องแวะ เพราะร่ำลือกันว่ามี “หนังเหนียว” ทั้งนี้ก็เพราะในคอนักเลงพวกนี้แขวน “พระพุทธชินราช” ของ “หลวงพ่อโม วัดสามจีน” กันทุกคน ดังนั้น “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเป็นที่รู้จักด้วยเหตุนี้
ประกอบกับวัดนี้มี “พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปที่ถูกโบกปูนปิดทับเอาไว้โดยสันนิษฐานกันว่าเพื่อไม่ให้ผู้ใดทราบว่าภายในเป็น “พระทองคำ” กระทั่งปูนที่โบกทับไว้กะเทาะออกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นี่เองจึงได้ทราบว่ามี “พระทองคำ” ขนาดใหญ่อยู่ภายใน
“หลวงพ่อโม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งที่ "บรรลุธรรมขั้นสูง" และเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐานมากอีกรูปในยุคนั้น ชนิดผู้คนร่ำลือกันว่าท่านสามารถล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้าได้ ดังนั้นเมื่อท่านเป็นผู้ให้กำเนิด “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโม วัดสามจีน” จึงเชื่อมั่นได้ว่าพุทธคุณต้องครบเครื่องทุกด้านแม้จะสร้างเป็นแบบ “องค์แบนครึ่งซีก” ด้วยเนื้อตะกั่วก็ตาม
ส่วนมูลเหตุที่ “หลวงพ่อโม” สร้างพระในรูปแบบของ “พระพุทธชินราช” นั้นก็เนื่องจากเมื่อครั้งที่ “พระปรมากรมุณี” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านไปรับตำแหน่งเป็น “เจ้าคณะ” แห่งเมืองพิษณุโลก “หลวงพ่อโม” ผู้เป็นศิษย์จึงเดินทางไปปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ในกาลครั้งนั้นด้วย จึงได้มีโอกาสไปสัมผัสและกราบนมัสการ “พระพุทธชินราชองค์ใหญ่” ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อย่างสม่ำเสมอ “หลวงพ่อโม” จึงมีความศรัทธา “พระพุทธชินราช” เป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นเมื่อเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ “วัดสามจีน” เมื่อปี " พ.ศ. 2 4 6 0 " จึงได้สร้างพระเครื่องเป็นพิมพ์ “พระพุทธชินราช” ด้วยเนื้อตะกั่วแล้วทำการลงอักขระด้วยเหล็กจารไว้ด้านหลัง แจกไปในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาที่สนิทชิดเชื้อ
ปัจจุบันยังถือว่าสนนราคาไม่แพง เมื่อเปรียบเทียบกับอายุอานามที่ใกล้เคียงกับพระเนื้อชินตะกั่วของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า ส่วนพุทธานุภาพอันล้นเหลือ และประสบการณ์จากการใช้บูชาอันหลากหลาย เป็นเครื่องการันตรีในความคุ้มค่าคุ้มราคาเป็นที่สุด
|