ตะกรุดกระดูกห่านหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน
|
|
ชื่อพระ :
ตะกรุดกระดูกห่านหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน
รายละเอียด :
ตะกรุดกระดูกห่าน หลวงพ่อหรุ่น ดอกนี้ถักเชือกลงรัก อายุร่สมร้อยปีตัวจริงครับ ทั้งเนื้อกระดูกและรักมันส์มาก ตัวจริงพบเจอน้อย ยิ่งถักเชือกลงรักไว้ยิ่งง่ายต่อการพิจารณาในความเก่าได้ง่าย ของสนามเร่งสภาพให้เก่าฉ่ำอย่างไรก็ไม่เหมือน ทุกวันนี้มีสารพัดวิธี แต่อย่างไรก็ไม่ธรรมชาติครับ สนใจติดต่อ 0909979955 เกล้านครพิงค์ (*)รับประกันตลอดชีพครับ ตะกรุดกระดูกห่าน หลวงพ่อหรุ่น เจ้าตำหรับยันต์เก้ายอด แม้ว่าอัตโนประวัติของพระเกจิอาจารย์นาม "หลวงพ่อหรุ่น" ความน่าสนใจของหลวงพ่อหรุ่น คือฉายานาม "เก้ายอด" ที่ได้รับมาจากชื่อเสียงในด้านการสักยันต์ พลิกแฟ้มข้อมูลของหลวงพ่อหรุ่น มีระบุเพียงว่า เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2390 ที่บ้านตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายน้อย ใจอาภา และ นางคำ ใจอาภา อุปสมบท ณ วัดลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปีที่ท่านอุปสมบทนั้น เป็นปี พ.ศ.2431 มีพระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่ "พระธรรมราชานุวัตร" เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์นั้น เป็นที่ถกเถียงกัน บ้างก็ว่าเป็นพระวัดลำลูกกานั้นเอง บ้างก็ว่าเป็นวัดกลางนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้างก็ว่าเป็นพระวัดสามไห แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดลำลูกกามากกว่า ภายหลังจากอุปสมบทได้หลายพรรษาแล้ว ท่านจึงเริ่มเดินธุดงค์ ก่อนหน้านั้นนอกจากจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว ยังได้ร่ำเรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานด้วย ภายหลังได้ธุดงค์มาปักกลดในบริเวณข้างวัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านได้เห็นถึงวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีคาถาอาคมแก่กล้าจึงได้นิมนต์ท่านมาพำนักที่วัดอัมพวันตั้งแต่บัดนั้น กล่าวสำหรับวัดอัมพวัน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ราว พ.ศ.2385 โดยพระยาราชชนะสงคราม (วัน) เป็นผู้สร้างเพื่ออุทิศแก่มารดาของท่านชื่อ "อ่ำ""จึงได้รับการขนานนามวัดว่า "วัดอ่ำวัน" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอัมพวัน" เพื่อให้มีความหมายดีขึ้น วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2395 หลวงพ่อหรุ่น ในช่วงที่จำพรรษายังวัดอัมพวันแล้วนั้น ชื่อเสียงของท่านโด่งดังในด้านการ "สักยันต์" ยิ่งนัก โดยเฉพาะนักเลง "ก๊กเก้ายอด" ที่ท่านสักยันต์ให้จนได้รับฉายาว่า "หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด" ในอดีดนั้นย้อนไปซักประมาณปี 2400 ต้นฯ เมืองกรุงเทพหรือจังหวัดพระนครในสมัยนั้น มีก๊กนักเลงอยู่หลายก๊กด้วยกัน ที่ขึ้นชื่อก้อมี ลูกศิษย์หลวงพ่อโม วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) มีถิ่นอยู่แถวเยาวราช - วงเวียน 22กรกฎา แถววรจักร ก้อมีศิษย์หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร บางขุนพรม มีอาวุธประจำกายคือ ไม้ตะพดของหลวงปู่ภู หรือที่เรียกว่านิ้วเพชรพระอิศวร ว่ากันว่าหากใครโดนหัวไม้ตะพดตีนั้น อาจถึงแก่ชีวิต หลวงปู่ภูท่านจึงบอกศิษย์อยู่เสมอว่าอย่าใช้หัวไม้ตีใคร มันจะบาปตัวท่านเองด้วย ที่จะพูดถึงคือ แก๊งเก้ายอด ลูกศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น ใจภารา วัดอัมพวัน ราชวัตร กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อหรุ่นท่านนี้แต่เดิมเป็นเสือเก่า ออกปล้นแถบ ปทุมธานี - อยุธยา จนมีชื่อเสียงเป็นที่เกรงกลัวไปทั่ว ฉายาของท่านคือ เสือหรุ่นแห่งเชียงราก ภายหลังนั้นท่านใด้เบื่อกับการปล้นจึงขอมอบตัวกับทางการ จึงใด้รับตำแหน่งกำนันจากนายอำเภอสมัยนั้น เป็นขุนวิกลใจภารา ชาวบ้านรักใคร่นับถือท่านทุกคน ต่อมาเมื่อท่านอายุใด้ 40 กว่าปีใด้เกิดความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชและจำพรรษาอยุ่ที่วัดอัมพวัน ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ ใด้สร้างเครื่องรางคือตะกรุดกระดูกห่านและเหรียญซึ่งหายากมากจริงฯ หลวงพ่อหรุ่นท่านสักยันต์เก้ายอดให้แก่ศิษย์ ต่อมาภายหลังจึงใด้มอบวิชานี้ให้กับอาจารย์ภู่ ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์เอกที่ใด้รับวิชาสักนี้ไป หลวงพ่อหรุ่นท่านมีบุตรชายคนโตชื่อ นายเสงี่ยม ใจภารา มีตำแหน่งเป็นทหารม้ารักษาพระองค์ภายหลังใด้เป็นมหาดเล็กใน เสด็จเตี่ย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) สมัยก่อนแก๊งเก้ายอดนี้มีถิ่นอยู่แถวนางเลิ้ง,ไปจนถึงดุสิต ว่ากันว่า ตะกรุดกระดูกห่าน หลวงพ่อหรุ่นเก้ายอด วัดอัมพวัน ท่านจารทะลุกระดูกเข้าไปอยู่ในข้อกระดูกด้านใน มีรอยจารด้านในก็น่าอัศจรรย์ดีที่เขาเรียกจารด้วยพลังจิต |
โทรศัพท์ :
0909979955, 0909979955
วันที่ :
21/06/19 12:40:54
|
|
|
|
|
|