พระพุทธรูปบุเงินยุคคาบเกี่ยวยุคสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ศิลปช่างหลวง
พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร( สกุลช่าง กำแพงเพชร) มีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนในหมวดใหญ่ คือพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกงุ้ม ตามแบบลักษณะมหาบุรุษจากอินเดีย พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชาวจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ แต่มีลักษณะของวงพระพักตร์ตอนบนจะกว้างกว่าตอนล่างมากอย่างสังเกตเห็นได้ชัด พระหนุ(คาง)จะแหลม จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามอีกหมวดหนึ่ง
พระบุเงินหรือบุทอง
มักพบตามพระเจดีย์เก่าๆไม่ว่าจะเป็นกรุวันราชบูรณะ วัดลิงขบ วัดอินทรวิหาร ฯลฯ
ทางภาคอีสานก็พบที่พระธาตุพนม
และตามเจดีย์พระธาตุต่างๆเป็นศิลปะแบบลานช้างหรือลาว ตามเจดีย์หรือกรุเก่าๆ ทางลานช้างก็พบมากเช่นกัน และมีศิลปะงดงามมากที่สุด บางองค์พระพักตร์เป็นศิลปะเชียงแสนอย่างพระแก้วเมืองฮอด
การทำพระบุเงินรวมถึงพระบุทอง ต้องนำเนื้อเงินมาตีแผ่ให้เป็นแผ่นบางๆ ตัดให้ได้ขนาด แล้วนำไปบุหุ้มกับหุ่นซึ่งทำด้วยดิน ขี้เลื่อย ว่านและดอกไม้แห้ง โดยกดให้เนื้องานติดแนบกับหุ่นสนิทจากนั้นจึงใช้ค้อนตอกตัวตุ๊ดตู่ลงไป ทำเป็นรอยรายละเอียดต่างๆ
พระบุเงินบุทองไม่ใช่พระแก้บน และการทำพระบุเงินหรือทองของคนโบราณนั้น ไม่ใช่เพราะต้องการประหยัดเนื้อโลหะ เพราะสมัยก่อนนั้นโลหะยังมีมากและหาได้ง่าย หากแต่เป็นเพราะ “ศรัทธา” ใครมีศรัทธามากก็จะลงทุนลงแรงมาก ต้องหาวัสดุและต้องจ้างช่างมาค่อยๆทำ กระบวนการกินเวลากว่าการสร้างพระพิมพ์มาก การทำพระบุเงินหรือบุทอง คงจะนิยมทำกันในหมู่ชุมชนชั้นผู้มั่งคั่งในสมัยก่อน เมื่อแล้วเสร็จก็จะบรรจุลงกรุ
อีกประการหนึ่งนั้น ว่านในหุ่นแกนกลางของพระบุ เป็นมงคลวัสดุศักดิ์สิทธิ์ คนโบราณให้ความนับถือมาก บางชนิดใช้เป็นยา บางชนิดใช้เป็นเครื่องหอม บางชนิดใช้เป็นเครื่องรางของขลัง บางชนิดก่อให้เกิดลาภผล การปลูกว่านของคนโบราณมีพิธีรีตอง เวลาจะรดน้ำต้องเสกคาถากำกับตามชนิดของว่าน การขุดก็ต้องทำในวันเดือนต่างๆ กัน เช่น ข้างขึ้น ข้างแรม หรือ มีวันงดเว้นการขุดก็ต้องปฏิบัติตาม เวลาขุดก็มีพิธีเรียกขวัญว่านก่อนจึงค่อยๆขุดนำหัวว่านขึ้นมา
ว่านที่เป็นมงคลตามชื่อเรียกในสมัยปัจจุบัน ซึ่งโบราณอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง
|