ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ อายุได้ ๑๘ ปี “คุณป้า” ได้นำ “เด็กชายสง่า” ไปบรรพชาที่ “วัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี” เพื่อเรียนปริยัติธรรมซึ่งต่อมาสามารถ สอบได้ทั้ง “นักธรรมตรี” และ “นักธรรมโท”
ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ อายุครบ ๒๐ ปี “สามเณรสง่า” จึงอุปสมบทเป็น “พระภิกษุ” โดยมีท่าน “เจ้าคุณอมรโมลี” เป็นอุปัชฌาย์ได้ฉายาว่า “สุมโน” กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๙ อันเป็นพรรษาที่ ๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” ได้กราบลา “พระอุปัชฌาย์” เพื่อเดินทางไปศึกษา “ภาษาบาลี” กับท่าน “เจ้าคุณรัชมงคลมุณี” วัดหนองบัว จังหวัดระยอง ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๔๙๐ ด้วยจิตที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรม แสวงหาธรรม จึงออกเดินธุดงค์ไป “จังหวัดเชียงใหม่” ตามเส้นทาง “อำเภอดอยสะเก็ด” สู่ “ถ้ำเชียงดาว” อำเภอเชียงดาวได้ธุดงค์พลัดเข้ามาสู่เขตพื้นที่ของ “อำเภอพร้าว” ในปี ๒๔๙๐ ถึง ๒๔๙๔ จึงพำนักและปฏิบัติธรรมใน “ป่าช้า” ของตำบลเวียง อำเภอพร้าว หรือ “วัดป่าเลไลย์” เป็นเวลาถึง ๔ ปี
ปี พ.ศ.๒๔๙๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” เดินทางมาพำนักที่ “วัดเจดีย์หลวง” จัง หวัดเชียงใหม่ โดยปฏิบัติธรรมกับ “เจ้าคุณวินัยโกศล” (จันทร์ กุสโล) หรือ “พระพุทธพจนวราภรณ์” แล้วจึงออกจาก “วัดเจดีย์หลวง” ธุดงค์ไปตามเส้นทางสู่ “อำเภอดอยสะเก็ด” อีกครั้งพร้อมลัดเลาะไปตามป่าเขาถึง “ดอยพระเจ้าหล่าย” วันนั้นเป็น วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่เวลา ๑๗.๐๐ น. “พระภิกษุสง่า สุมโน” จึงตั้งสัจจะอธิษฐาน ณ ดอยพระเจ้าหล่าย ขอสละเพศบรรพชิตขอลาสิกขาบทจากการเป็น “พระภิกษุสงฆ์” โดยหันมาถือการครองเพศเป็น “ดาบส” ที่มีเพียง ผ้าอังสะและผ้าสบง เพียงสองผืนหุ้มห่อร่างกายไว ้จากนั้นจึงครองเพศเป็น “ดาบส” และปฏิบัติธรรมอยู่บน “ดอยพระเจ้าหล่าย” โดยมิได้ฉันทั้งอาหาร และน้ำถึง “3 วัน 3 คืน” จากนั้นจึงเดินทางลงจากดอยเพื่อธุดงค์ไปจังหวัด ต่างๆ ทั้ง แพร่ ลำปาง น่าน ยะลา ชุมพร และท้ายสุดปฏิบัติธรรมที่ “อาศรมไผ่มรกต” ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จนมรณภาพ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 สิริอายุได้ 76 ปี
“หลวงพ่อดาบส สุมโน” นับเป็น “ผู้บำเพ็ญเพียร” ด้วยศีลาจารวัตร บริสุทธิ์ผุดผ่องจนได้พบแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้า และธรรม ที่ท่านแสดงให้บรรดาศิษย์ได้ยังความสุข ความสงบ ความร่มเย็น ให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เคยฟังธรรมจากท่านจึงนับได้ว่าท่านเป็น “ประทีปธรรม” แห่งภาคเหนือที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ และในจิตใจ ของประชาชนตลอดไป