พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ วัดมหาธาตุ **** เป็นพระพิมพ์เก่าแก่ที่มีความเหมือนกับ "พระสมเด็จ" อันลือชื่อที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อมวลสารหรือพิมพ์ทรง แม้กระทั่งอายุการสร้างก็คงจะไม่ด้อยไปกว่ากันมากนัก อาจเนื่องด้วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิก ชนทั่วประเทศ และยังมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือในด้านพุทธาคมเป็นเลิศในสมัย และยังเป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้จัดสร้างพระเครื่อง ในอดีตเรียกว่าเป็นที่นิยมสูงไม่รองๆ พระสมเด็จองค์ไหนทีเดียวครับผม เนื่องด้วยความหายากไม่มีพระหมุนเวียนเปลี่ยนมือจริงทำให้คนต่างลืมเลือนกันไป พระสมเด็จอรหัง ซึ่งเชื่อกันว่าสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวโร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสร้างไว้ สมเด็จพระสังฆราช สุก เดิมท่านอยู่ที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ครั้งสุดท้ายท่านได้รับพระราชทานสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วย้ายมาประทับที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และที่วัดนี้เองซึ่งท่านได้แจกพระสมเด็จอรหังและบรรจุกรุไว้ส่วนหนึ่ง สันนิษฐานว่าพระสมเด็จอรหังท่านได้สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ ประมาณปี พ.ศ.2360-2363 พระสมเด็จอรหัง เป็นพระสมเด็จเนื้อผง รูปทรงแบบสี่แหลี่ยมชิ้นฟัก มีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์เกศอุ พิมพ์เล็กมีประภามณฑล และพิมพ์เล็กไม่มีประภามณฑล ที่ด้านหลังของพระมักมีการจารอักขระเป็นตัวหนังสือขอม คำว่า "อรหัง" และอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ตราปั้มเป็นคำว่า "อรหัง" ก็มี มักเรียกหลังแบบนี้ว่า หลังตั้งโต๊ะกัง เนื่องจากลักษณะการปั้มด้านหลังคล้ายกับตราประทับเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และพระสมเด็จอรหังนี้ เนื่องจากพระส่วนใหญ่ด้านหลังมีคำว่า "อรหัง" จึงนิยมเรียกกันจนติดปากว่า "สมเด็จ อรหัง" พระสมเด็จอรหัง เนื้อส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผงปูนขาว เนื้อพระจะแตกต่างกันบ้าง เช่น เป็นแบบเนื้อขาวออกหยาบมีเม็ดทราย แบบขาวละเอียดมีเม็ดทราย แบบเนื้อขาวละเอียด และมีแบบเนื้ออกสีแดงเรื่อๆ เนื้อนี้มักเป็นแบบเนื้อหยาบมีทราย พระสมเด็จอรหัง ส่วนใหญ่แจกที่วัดมหาธาตุฯ และพบบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ พระที่พบที่วัดมหาธาตุเป็นพระเนื้อสีขาวที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังจาร ต่อมามีผู้พบพระแบบเดียวกันที่วัดสร้อยทองอีก ซึ่งพบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่พระที่พบมักเป็นพระแบบเนื้อสีแดง และที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังโต๊ะกังเป็นส่วนใหญ่ มีพบเป็นแบบเนื้อขาวบ้างแต่น้อยมาก และพระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นมักเป็นพระเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ
|