พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

อุติ่ง เครื่องรางล้านนา


อุติ่ง เครื่องรางล้านนา


อุติ่ง เครื่องรางล้านนา


อุติ่ง เครื่องรางล้านนา

ขายแล้ว กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 อุติ่ง เครื่องรางล้านนา
รายละเอียด :
 

อู่ติ่ง เรื่องอู่ติ่งหรือเทพอู่ติ่งนี้ ผู้เขียน(หมายถึง ผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง)ได้ข้อมูลจากคุณรุ่งชัย ชัยวงศ์ พ่อครูส่างคำ จางยอด (เก็บข้อมูลเพิ่มเติม มกราคม ๒๕๕๓) สรุปความได้ว่า วรรณกรรมทั้งมุขปาฐะและลายลักษณ์เรื่องอูติ่ง แพร่หลายในเขตรัฐฉานและพม่า กล่าวถึงพระโพธิสัตว์นามอู่ติ่งมีเหตุให้ต้องพลัดพรากจากพระบิดาพระมารดาไปอาศัยอยู่กับพระฤาษี พระฤาษีได้ถ่ายถอดสรรพวิชาให้ จนมีความสามารถบังคับโขลงช้างได้ ต่อมาได้กลับมาปกครองบ้านเมือง ออกรบครั้งใดก็ชนะข้าศึก จึงมีผู้ถวายเจ้าหญิงให้เป็นพระสนมหลายองค์ ผู้คนศรัทธาเรื่องความหาญกล้า ปวงประชาราษฎรก็อยู่เย็นเป็นสุขมีฐานะดี

หมอครู (อาจารย์ผู้มีคุณแห่งรัฐฉาน) จึงจำหมายเอาความดีงามทั้งมวล แกะเป็นรูปเทพอูติ่งทรงช้าง ทรงดนตรี แต่ที่นิยมคือมักเสด็จกลับเข้าเมืองมาพร้อมกับนารีบนหลังช้าง ตำนานเมืองเมาส่วนหนึ่ง

(ดู เรณู วิชาศิลป์, ๒๕๕๐) เล่าถึงอู่ติ่ง ไว้ดังนี้ วันหนึ่งอัครมเหสีเกสนีผู้มีครรภ์แก่ รู้สึกไม่สบายเป็นไข้หนาวจึงออกมาผิงแดดที่กลางชานหอคำนางห่มผ้ากำมะหยี่สีแดงนอนอยู่บนตั่งที่ชานนั้น ยามนั้น มีนกหัสดีลิงค์ตังหนึ่งบินว่ายฟ้ามาเห็นนาง เข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อจึงโฉบลงมาคาบพาบินข้ามฟ้าไปถึงป่าหิมวันต์อันห่างร้างผู้คน ณ ที่นั้นมีต้นงิ้วใหญ่ต้นหนึ่ง แตกกิ่งเป็นสามสาขา ยามนั้นนางจึงร้องเสียงดังขึ้น พญานกรู้ว่าภักษาหารของตนยังมีชีวิตอยู่ไม่อาจกินได้ จึงบินผละไป ทิ้งนางไว้บนสาขาไม้งิ้วนั่นเอง ครั้นเมื่อครบสิบเดือน นางคลอดเจ้าชายสองแม่ลูกก็อาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ต่อมาไม่ไกลจากต้นงิ้วนัก มีฤาษีตนหนึ่งชื่อว่า อาลากัปปฤษี ถือศีลอยู่ในป่า วันหนึ่งเจ้าฤาษีออกจากที่อยู่แห่งตนเดินไปถึงบริเวณต้นไม้งิ้ว ได้ยินเหมือนเสียงคน ครั้งแหงนขึ้นก็เป็นสองแม่ลูกอยู่บนนั้น เจ้าฤาษีจึงร้องถามเรื่องราวความเป็นมา นางก็เล่าความทั้งหมดให้ฟัง และว่าเหตุที่ต้องอาศัยอยู่บนคาคบไม้เพราะจะลงก็ลงไม่ได้ ขอท่านโปรดเอ็นดูเราสองแม่ลูกเอาไม้ก่ายเป็นบันไดให้ข้าด้วยเถิด เจ้าฤาษีจึงไปฟันไม้มาทำบันไดพาดขึ้นไปนำสองแม่ลูกลงมายังพื้นดินดังใจปอง เหตุด้วยได้เอาไม้พาดเป็นบันไดขึ้นไปเอาสองแม่ลูกลงมา จึงตั้งชื่อลูกชายน้อยว่า ขุนแสงอูติ่ง เจ้าฤาษีและนางอัครมเหสีนางพญาหลวงเมืองโกสัมพีได้อยู่เป็นคู่สามีภรรยา ในถิ่นฟ้าหิมวันต์ หาหัวเผือกหัวมันผลหมากรากไม้เลี้ยงชีวิต ฝ่ายเจ้าขุนแสงอูติ่งเติบใหญ่มาตามวันเวลา จนอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ก็นำพิณวิเศษมามอบให้ หากดีดพิณเมื่อใด บรรดาช้างทั้งหลายจะพากันมาหา และชุมนุมอยู่เป็นเพื่อนกับขุนแสง อูติ่ง วันหนึ่งขุนแสงอูติ่งก็ขอร้องให้ช้างออกมาจากป่าแล้วพากันเดินทางไปเมืองโกสัมพี ขณะนั้นเจ้าเมืองโกสัมพีสิ้นไปแล้ว ขุนแสงอูติ่งจึงสืบเป็นเจ้านั่งเมืองแทนพ่อต่อไป

อูติ่งนัยแห่งเครื่องรางนี้ นิยมแกะจากไม้มงคล แกะจากงาช้างสวยงาม และเล่ากันว่า อูติ่งงามักเป็นของเจ้านายขุนนางหรือคหบดี เมื่อแกะอูติ่งได้จำนวนหนึ่ง หมอครูจะหาฤกษ์ยามดีประกอบพิธีปลุกเสก โดยกำหยดจัดขึ้นที่กลางป่าเป็นพิธีใหญ่มาก มีขั้นตอนซับซ้อน เจ้าภาพต้องเป็นผู้มีฐานะ จึงจะเป็นประธานสร้างอูติ่งได้ บริเวณที่ประกอบพิธีมีราชวัติขัดล้อมตั้งเครื่องพลีกรรม การปลุกเสกอูติ่งจะทำหลายวัน เล่ากันว่า ต้องปลุกเสกจนได้ยินเสียงช้างร้อง เมื่อเสร็จพิธีแล้วจึงมอบอูติ่งให้แก่เจ้าภาพเพื่อใช้ประกอบภารกิจตามความต้องการต่อไป

ในอดีต อูติ่งเป็นเครื่องรางของเหล่าขุนนาง จะพกพาอูติ่งเพื่อเข้ารับราชการงานหลวง ส่วนพ่อค้าวาณิชย์จะพกพาอูติ่งออกค้าขายต่างบ้านต่างเมือง โดยถือมติจากรูปแกะอูติ่ง เช่น อูติ่งดีดพิณอย่างมีความสุขเมื่อกลับเรือน (ใช้แล้วอยู่เย็นเป็นสุขทุกเรื่อง) เทพอูติ่งทรงช้างมีนารีนั่งอยู่ด้านหลัง หรือตอนเสร็จกลับมีชายากลับมาด้วย ทำนองว่า “ไปหนึ่งกลับสอง” คือได้กำไรทบต้น (ใช้แล้วดีเรื่องการค้าขาย เมตตามหานิยม) เทพอูติ่งทรงสังวาสกับนรีบนหลังช้าง (นิยมใช้เพี่อเป็นเสน่หา ทำนองเดียวกับอิ่น) ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ผู้นับถือเทพอูติ่ง จะมีการเลี้ยงถวายฯ หรือทำพิธีบูชาปีละครั้ง อนึ่ง ผู้เขียนได้เห็นอูติ่งครั้งแรกนานแล้ว เป็นไม้แกะเก่า แกะรูปคนบนหลังช้าง บางชิ้นเป็นคนคู่ นั่งขี่ช้างคู่กันมาที่น่าสังเกตคือ ส่วนมากจะเป็นรูปชายหญิงสังวาสกับบนหลังช้าง ก็เข้าใจว่าเป็นอิ่นอย่างที่พบเห็นทั่วไป

สอบถามความเป็นมาจากชาวไทใหญ่ที่คุ้นเคยกันอย่างคุณป๋อ คุณเสือหาญ (คนงานช่วยสร้างเรือนของผู้เขียน) เล่าพ้องกันว่า เป็นของมงคลมอบเป็นของขวัญแก่คู่บ่าวสาวเพื่อให้รักกันมั่นยืนยาวและร่ำรวยริมาค้าขึ้น ในปัจจุบันอูติ่งงาโบราณมีราคาแพงมาก ที่แกะใหม่ฝีมือดีชิ้นงามๆ ก็หลักพันกลาง ที่ตั้งใจให้ช่างฝีมือแกะเป็นของเลียนแบบก็มี

ข้อมูลจากหนังสือ “คง เข้ม ข่าม ขลัง เครื่องรางล้านนา” โดย ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง

ขนาด กว้าง 1.3 ซม.  สูง 2.5 ซม

ราคา :
 
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0867329527
วันที่ :
 14/08/18 10:30:22
 
 
อุติ่ง เครื่องรางล้านนา พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.