พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

เบี้ยแก้ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่


เบี้ยแก้ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่


เบี้ยแก้ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่

ใหม่ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 เบี้ยแก้ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่
รายละเอียด :
 

เบี้ยแก้หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่....หนึ่งในสุดยอดตำนานเบี้ยแก้ ของจังหวัด อ่างทอง ที่พบเห็น และนับตัวจริงได้ยากแสนยาก เหตุเพราะท่านได้สร้างเบี้ยแก้ขึ้นมาน้อยนั่นเอง จากปากคำที่ผม_วัต ท่าพระจันทร์® เคยได้พูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ พื้นที่จังหวัดอ่างทอง ได้ความว่า เบี้ยคื้อตัวหอย ที่จะนำมาทำเบี้ยแก้ ทุกๆวัด ในจังหวัดอ่างทอง จะไปซื้อตัวเบี้ย(หอย) จากร้านขายเครื่องยาจีนในจังหวัดอ่างทอง และผู้เฒ่าผู้แก่ ได้เล่าให้ผมฟังว่า จากที่ท่านได้เคยสอบถามจากร้านขายเครื่องยาจีนในอดีต ที่ท่านจำได้ จะมีวัดในจังหวัดอ่างทอง มาซื้อหอยเบี้ยในสมัยนั้น หลักๆอยู่แค่ ๔วัดเท่านั้น คือ
๑.วัดตลาดใหม่ ๒.วัดโบสถ์ ๓.วัดนางใน ๔.วัดโพธิ์ปล้ำ
และวัดที่ซื้อตัวหอยเบี้ยไปน้อยที่สุด ก็คือวัดตลาดใหม่ นั่นเอง 

•••••ต่อไปนี้เป็นความรู้ หลวงพ่อซำ ท่านมีพรรษาที่มากที่สุดอาวุโสสูงสุดในบรรดาพระเถราจารย์ทั้ง ๔วัด ที่ได้เอยมา แต่คนส่วนใหญ่นึกว่า หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์มีพรรษาแก่ที่สุด มากที่สุด อาจเป็นเพราะ หลวงพ่อซำ ท่านมีอายุยืนยาวถึง ๙๔ปี ๗๑พรรษา ในขณะที่หลวงพ่อภักตร์ ท่านมีสิริอายุรวม ๖๐ปี ๔๐พรรษา 
•••“หลวงพ่อซำ เกิด ๒๔๑๓ บวช ๒๔๓๘ สิ้น ๒๕๐๙” 
•••“หลวงพ่อภักตร์ เกิด ๒๔๒๕ บวช ๒๔๔๕ สิ้น ๒๔๘๕” 
เรื่องแปลกเกี่ยวกับวันที่ คือหลวงพ่อซำท่าน เกิด บวช สิ้น ในวันที่เดียวกันคือ วันที่ ๑๕ ซึ่งอาจเป็นเรื่องแปลกที่เหล่าบรรดาลูกศิษย์ควรรู้ และจดจำเอาไว้...หลวงพ่อซำ เกิด ๑๕ ส.ค. ๒๔๑๓ บวช ๑๕ ก.ค. ๒๔๓๘ สิ้น ๑๕ ม.ค. ๒๕๐๙

•••••วัตถุมงคลของหลวงพ่อซำ ท่านได้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เรื่อยมา เป็นวัตถุมงคลที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์มากมาย ทั้งเบี้ยแก้ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี ๒๕๐๖ แต่ที่เรื่องลือขึ้นชือลือชาก็คงจะไม่พ้น ”เบี้ยแก้” ของท่าน ( ตำราบางเล่ม สายบางสาย บอกว่า หลวงพ่อซำท่านเป็นอาจารย์ และถ่ายทอดวิชาทำเบี้ยแก้ให้กับ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นผมผู้เขียน วัต ท่าพระจันทร์® นำข้อมูลในวงเล็บนี้มาบอกกล่าวกันเพื่อเสริม และเป็นความรู้ในการวิเคราะห์ แต่ไม่ขอยืนยันข้อความในวงเล็บนี้ในข้อเท็จจริง ) 

•••••เบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำ ท่านจะสร้างแต่แค่เฉพาะใน...วันอาทิตย์ วันอังคาร และวันเสาร์ ถ้าหากวันใดตรงกับวันพระท่านจะหยุดไม่สร้างเบี้ยในวันนั้น และท่านยังกำหนดไว้ด้วยว่าจะต้องทำตามกำลังวันนั้นๆ ดังเช่น วันอาทิตย์มีกำลังเท่ากับ ๖ ท่านก็จะสร้างขึ้นเพียง ๖ ตัวเบี้ยเท่านั้น วันอังคารมีกำลังเท่ากับ ๘ ท่านก็จะสร้างแค่ ๘ และวันเสาร์มีกำลังเท่ากับ ๑๐ ท่านก็จะสร้างเพียงแค่ ๑๐ ตัวเบี้ยเท่านั้นไม่ทำเกิน และท่านจะต้องตั้งศาสเพียงตาบูชาบรมครูบาอาจารย์ก่อนที่จะลงมือทำเบี้ยแก้ทุกครั้ง โดยหลวงพ่อซำท่านจะนำเอาตัวหอยเบี้ยตามจำนวนกำลังวัน ที่สร้างมาใส่ในพานพร้อมกับปรอท และชันโรง ตั้งในพิธีบวงสรวงอัญเชิญบรมครูให้มาสถิตประสิทธิ์ประสาทวิชา และเพื่อขออนุญาต ในการประกอบพิธ๊กรรมการสร้างเบี้ยให้เกิดพลังอันศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชันโรงหลวงพ่อซำจะใช้ชันโรงที่ไม่เหมือนใคร คือท่านจะใช้แต่ชันโรงที่ตัวชันโรงมาทำรังอยู่ในต้นคูนเท่านั้น นอกจากจะ นำโชค ป้องกันภัย ป้องกันเสนียดจัญไร และคุณไสยต่างๆนานาได้วิเศษแล้ว เบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำท่าน ยังเน้นผลทางโภคทรัพย์อีกด้วย

•••••เมื่อประกอบพิธีไหว้ครูแล้ว ท่านจะหยิบหอยเบี้ยขึ้นมา แล้วเทปรอทลงในอุ่งมือ จากนั้นหลวงพ่อซำจะบริกรรมคาถาเรียกแร่แปลธาตุสักพัก ท่านก็จะเทปรอทลงในตัวเบี้ย “จะใช้ปรอทไม่ถึงหนึ่งบาท ซึ่งต่างจากสายวัดนายโรง และวัดกลางบางแก้ว” จากนั้นจะนำชันโรงที่เตรียมไว้มาอุดปิกปากเบี้ยโดยรอบฐานตัวเบี้ยเพื่อป้องกันปรอทไหลออกจากตัวเบี้ย และเพื่อจะได้ปิดแผ่นฟอยล์อลูมิเนียมมาปิดทับชันโรงอีกชั้นหนึ่งเพื่อเป็นการรักษาสภาพใต้ท้องเบี้ย และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เพื่อง่ายต่อการจดจำว่าเป็นของ ของท่าน และเบี้ยแก้ที่มีลักษณะแบบนี คือเบี้ยแก้ที่สร้างขึ้นมาในยุคต้นๆเท่านั้นคือตอนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ถึง ๒๔๘๕ เท่านั้น

•••••คาถาที่หลวงพ่อซำใช้บริกรรมในการอุดชันโรง และปิดแผ่นฟอยล์นั้น ท่านจะใช้บทพระคาถามงคลนิมิตร โดยบริกรรมว่า
“อะวิชา ปัจจะยะ ปิดจะยา ปัจจะยา
อะวิชา ปิดจะยา ปัจจะยา ปิดจะยา
อะวิชา ปัจจะยา อุอะมะตัง พุทธังอัดธะอุด”
เป็นความรู้ที่ควรค่าต่อการศึกษาและจดจำ

เครดิต คุณ วัต ท่าพระจันทร์®

ราคา :
 โทรถาม
โทรศัพท์ :
 0918533168, 0918533168
วันที่ :
 7/07/18 10:55:54
 
 
เบี้ยแก้ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.