ประวัติ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ)
เกิด ๑๑ มีนาคม ๒๔๔๖ ที่บ้านหนองไผ่เหลือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรนายคง นางแพ มีพี่น้อง ๕ คนท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่ออายุ ๑๑ ได้เข้าไปเรียนหนังสือที่วัดอยู่กับอาจารย์นิ่ม วัดหนองหว้า เพชรบุรี จนอายุ ๑๓ ออกจากวัดไปอยู่กับโยมพ่อ โยมแม่ ช่วยท่านทำนาหาเลี้ยงชีพที่บ้านเกิด
จนอายุครบ ๒๐ ปีจึงถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร กรมทหารราบที่เพชรบุรี ปลดแล้วสมัครเป็นตำรวจภูธรได้ยศสิบตำรวจตรี ประจำอยู่เพชรบุรี ๒ ปีได้ยศ สิบตำรวจโทก็ถูกย้ายไปนราธิวาส,สตูล,อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จ.ชัยภูมิ,จ.สุรินทร์
จนครั้งหลังสุดย้ายกลับมาอยู่ที่ จ.เพชรบุรี บ้านเกิด อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็เกิดเบื่อหน่ายทางโลก จึงลาออกจากอาชีพตำรวจ บวชเมือปี ๒๔๗๐ ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ จำพรรษาที่วัดหนองหว้า เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูงได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน จ.นนทบุรี จำพรรษาอยู่วัดนี้ ๓ พรรษา จึงพากันย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส และอาจารย์เพ็งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จน ๒๔๗๕ สอบนักธรรมได้ ๒๔๗๖ ได้นักธรรมโท พอดีวัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม"หลวงปู่กลิ่น"จึงมอบหมายหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร
หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถาสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น•การลงตะกรุด•การทำผง•พระปิดตา•ทำน้ำมนต์•จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น จนเมื่อปี ๒๔๘๒ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปี ๒๔๙๗ หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ๒๔๙๑ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความเห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๘ จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย
จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ บั่นปลายของชีวิตท่านต้องรับภาระอย่างหนัก ทั้งประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านภาระกิจของคณะสงฆ์ และกิจการงานต่างๆของวัดสะพานสูง จน ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๕ ท่านอาพาธด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ลูกศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลเพชรเวช จน ๗ เมษายน ๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.ท่านได้มรณะภาพลงด้วยอาการอันสงบ ศิริอายุได้ ๗๙ ปี ๑๙ วัน
|