พระกรุวัดสุวรรณ อ่างทอง
พระกรุวัดสุวรรณฯ จ.อ่างทอง แตกกรุครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยการถูกลักลอบขุดเจดีย์ ได้ทรัพย์สินมีค่าไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ...
...วัดสุวรรณฯเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง แต่ได้ชำรุดทรุดโทรม และปรักหักพังจากการทำลายของข้าศึกไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ดังนั้นถาวรวัตถุต่างๆจึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ภายหลัง กล่าวว่าผู้บูรณะวัดสุวรรณฯขึ้นมาใหม่คือเศรษฐีทองคำ คหบดีผู้มีถิ่นฐานอยู่ทางทิศเหนือของวัด เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์จนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ยังได้สร้างพระเจดีย์ทรงลังกาขึ้นมาอีกหนึ่งองค์ ฐานล่างขององค์เจดีย์ใช้ซุงสองต้นวางกากบาท ภายในแบ่งเป็นห้อง 4 ห้อง มีภาพวาดพุทธประวัติ หลังจากสร้างเสร็จได้รวบรวมเอาพระพุทธรูป พระพิมพ์ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่บ้างตามวัดเก่าในละแวกนั้นเข้าบรรจุอยู่ภายในองค์เจดีย์และได้สร้างพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ด้วยเนื้อชินตะกั่วนำเข้าบรรจุกรุรวมอยู่ด้วย ซึ่งพระพิมพ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นล้วนแต่เป็นพระพิมพ์ที่ล้อพระกรุพระเก่าทั้งสิ้น เช่นพิมพ์พระรอด พิมพ์พระลำพูน พระปิดตา พระลีลา พิมพ์กลีบบัว พระนาคปรก พระสมเด็จ พิมพ์สมาธิฐานบัว เหล่านี้เป็นต้น...
...ตามประวัติว่า ได้นิมนต์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณฯ มาร่วมเป็นเจ้าพิธีสร้างในครั้งนั้นด้วย....และ วงการก็นิยมว่าพระกรุวัดสุวรรณฯ เป็นพระของหลวงพ่อเนียม อีกด้วยครับ
องค์นี้เป็นพระพิมพ์พระคงสภาพสวย ติอรางวัลที่ 2 งานประกวดพระเครื่องที่จังหวัดลำปาง(งานสมาคม) 16-17ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา สนใจสอบถามได้ครับ |